29 เมษายน 2567, 11:12:29
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: นำความรู้เรื่อง อุปกรณ์เพื่อเตรียมอาหารสำหรับชีวิตที่เร่งรีบมาให้พวกเรารู้-ไมโครเวฟ  (อ่าน 3060 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2553, 08:23:28 »


                      คลื่น'ไมโครเวฟ'กับสารตกค้าง บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ต้องไม่มองข้าม
        ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤศจิกายน 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=104681

        การบริโภคอาหาร สำเร็จรูปที่ซื้อหาได้สะดวกกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคสมัยนี้ โดยเฉพาะคนเมืองที่มีเวลาเป็นตัวกดดัน การฝากท้องไว้กับอาหารกล่องแช่แข็งจึงเป็นทางเลือกที่เลี่ยงไม่ได้…ทำให้

        ไมโครเวฟกลายเป็นแม่ครัวประจำบ้านที่พร้อมเสิร์ฟเมนูจานร้อนโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที

                            
    
        การอุ่นอาหารแช่แข็งให้ร้อนจากการทำงานของไมโครเวฟ มีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด

                            

        ผศ.ดร.จิรารัตน์ ทัตติยกุล ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า ไมโครเวฟเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ภายในเตาไมโครเวฟจะมีส่วน ประกอบสำคัญ คือ

        แมกนิตรอนที่เป็นตัวกำเนิดคลื่นไมโครเวฟ โดย ไมโครเวฟที่ใช้กันจะมีอยู่ 2 ช่วงความถี่คลื่น คือ 2,450 เมกะเฮิรตซ์   กับความถี่คลื่น 950 เมกะ    เฮิรตซ์ สำหรับความถี่คลื่น   950 เมกะเฮิรตซ์ จะใช้ใน  ระดับอุตสาหกรรม ส่วน  ช่วงความถี่ 2,450 เมกะ เฮิรตซ์ จะเป็นเตาไมโครเวฟ  ที่ใช้ในครัวเรือน
    
        “คลื่นไมโครเวฟดังกล่าวจะพุ่งเข้าสู่อาหารทุกทิศทุกทางโดยรอบของ เตาไมโครเวฟ เมื่อคลื่นไปกระทบอาหารทำให้โมเลกุล หรืออนุภาคที่มีประจุ เช่น น้ำที่มีทั้งประจุบวกและประจุลบในโมเลกุล หรืออิออนของเกลือที่มีประจุบวกหรือประจุลบเกิดการสั่นหรือเคลื่อนที่กลับไปกลับมาในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยความถี่ 2,450 เมกะเฮิรตซ์   หรือ เท่ากับ 2,450 ล้านครั้งต่อวินาที ทำให้เกิดการเสียดสีกันของโมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบในอาหาร จึงเกิดความร้อนและทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เวลาที่ใช้ประกอบอาหารจึงสั้นกว่าการใช้เตาแบบธรรมดา ทำให้ผู้คนหันมาใช้ไมโครเวฟในการอุ่นอาหารกันเพราะประหยัดเวลาไปได้มาก”
    
        ความร้อนของเตาอบไมโครเวฟจะเพิ่มขึ้นเร็วหรือช้าลงนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น ปริมาณเกลือ รูปร่าง จำนวน และ มวลของอาหารที่ใส่เข้าไป โดยปกติการให้ความร้อนโดยไมโครเวฟ จะทำให้ทุกจุดในอาหารมีความร้อนเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอกัน แต่สำหรับอาหารที่มีรูปทรงเหลี่ยม หรือ มีขอบ อาจจะสุกที่บริเวณ  ขอบ และ เหลี่ยมก่อนได้ เนื่องจากได้รับคลื่นไมโครเวฟ 2   หรือ 3 ด้านพร้อมกัน
    
        “การทำงานของไมโครเวฟ คือ การชักนำให้โมเลกุลและอนุภาคที่มีประจุเคลื่อนที่เสียดสีกันจนเกิดความร้อนขึ้นมา เมื่อปิดสวิตช์ของเตาไมโครเวฟลงจะไม่มีคลื่นไมโครเวฟหลงเหลืออยู่ในอาหาร จะเหลือแต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่คลื่นไมโครเวฟทำงาน ซึ่งก็คือ ความร้อนในอาหารเท่า  นั้น อาหารจึงไม่มีสารตกค้างอย่างที่หลาย ๆ คนเป็นกังวลกัน เพราะ

        ไมโครเวฟ   ไม่ได้ก่อให้เกิดสารปนเปื้อน ไม่ได้ชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือ
                        การแตกตัวของโมเลกุล จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย”

    
        รวมทั้ง การจ้องมองในขณะที่ไมโครเวฟทำงานอยู่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายแต่อย่างใด เพราะจริง ๆ แล้วการทำงานของไมโครเวฟไม่ได้มีแสงเกิดขึ้น แต่แสงที่เห็นกันภายในเตาไมโครเวฟนั้นเป็นแสงที่มาจากหลอดไฟที่ผู้ผลิตติดตั้งไว้เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นวัตถุ  ภายในไมโครเวฟ แต่ก็ไม่  ควรจ้องมองเป็นเวลานานจน  เกินไป
    
        ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญไปกว่าการทำงานของไมโครเวฟ คือ
           ภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารใส่เข้าไปในไมโครเวฟ

    
        ผศ.ดร.จิรารัตน์ กล่าวว่า ภาชนะที่ใช้กับไมโครเวฟควรจะเป็นภาชนะที่ทำจากวัสดุมีจุดหลอมเหลวสูง คือ มีการหลอมละลายช้า และทนต่อความร้อนจำพวก แก้ว เซรามิก รวมทั้งพลาสติกบางชนิดสามารถใช้ได้กับไมโครเวฟ เพราะถ้าหากใช้พลาสติกที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อไมโครเวฟทำงานเกิดความร้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้พลาสติกหลอมละลายได้ หรืออาจทำให้สารอื่น ๆ ที่อยู่ในภาชนะนั้นปนเปื้อนมาในอาหารซึ่งเป็นอันตรายกับผู้บริโภค    
    
        โดย พลาสติกที่สามารถนำมาใช้กับไมโครเวฟได้ จะเป็นพลาสติกที่อยู่ในกลุ่มของ พอลิโพรพิลีน (Poly-propylene: PP) หรือที่เรียกกันว่า “เพท” (PET) ซึ่งจะมีสัญลักษณ์อยู่ใต้บรรจุภัณฑ์ รวมทั้งต้องมีคำบ่งชี้ว่า ไมโครเวฟ เซฟ (Micro-wave Save) หรือ ไมโคร   เวฟ เอเบิล (Microwave able) ระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์ด้วย ถึงจะนำมาใช้กับเตาอบไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัย
    
        “ในส่วนของภาชนะ    ที่มีสีและลวดลายนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการนำมาใช้กับเตาไมโครเวฟ เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าสีที่นำมาใช้วาดลวดลายเหล่านั้นมีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรหลีกเลี่ยงภาชนะที่มีการเคลือบลวดลายไว้ด้านในที่มีโอกาสสัมผัสอาหาร ทำให้อาจมีสารปนเปื้อนแพร่ลงสู่อาหารได้”    
    
        สำหรับผู้ที่นิยมบริโภคอาหารแช่แข็ง ตรงนี้ให้สังเกตที่ใต้บรรจุภัณฑ์อาหารนั้น ๆ ถ้ามีคำว่า ไมโครเวฟ เอเบิล หรือ โมโครเวฟ เซฟ ส่วนใหญ่จะปลอดภัย ซึ่ง ถ้ามีพลาสติกที่เคลือบติดอยู่ด้านบนเมื่อเปิดฝาออกมาแล้วให้เอาพลาสติกที่เคลือบนั้นออกให้หมด ก่อนที่จะนำเข้าไมโครเวฟ
    
        หากเป็นบรรจุภัณฑ์  ชนิดที่ต้องมีการเจาะรูที่  พลาสติกก่อนนำเข้าเตา  ไมโครเวฟเพื่อไม่ให้กล่อง  ระเบิดนั้น ถ้าไม่มั่นใจว่า พลาสติกที่ใช้บรรจุอาหาร  ปลอดภัย ให้นำอาหารออก  มาใส่ภาชนะที่เป็นแก้วหรือ เซรามิกก่อนแล้วค่อยนำไป  อุ่นในเตาไมโครเวฟ  
    
        “ห้ามใช้ภาชนะที่เป็นโลหะทุกชนิดกับเตาอบไมโครเวฟหรือภาชนะที่มีขอบเป็นส่วนผสมของโลหะ เพราะโลหะจะสะท้อนคลื่นทำให้คลื่นไม่สามารถพุ่งผ่านไปได้ และถ้ามีโลหะ 2 ชิ้น อยู่ใกล้กันอาจทำให้เกิด ประกายไฟในเตาอบไมโครเวฟขึ้นได้อีกด้วย”
    
        นอกจากนี้ ไม่ควรใช้วัสดุจำพวกเมลามีน หรือฟิล์มพลาสติกถนอมอาหารที่เรียกกันติดปากว่า แร็ป ในการห่ออาหารหรือหุ้มภาชนะก่อนจะเอาเข้าไมโครเวฟ เนื่องจาก เมลามีนดูดซับพลังงานจากไมโครเวฟได้ดีและอาจร้อนเร็วกว่าอาหาร ทำให้เกิดการหลอมละลายได้ง่าย ส่วนแร็ปเป็นพลาสติกชนิดที่หลอมเหลวได้ง่ายเช่นกัน จึงควรหลีกเลี่ยงเปลี่ยนเป็นใช้ฝาปิดที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้กับไมโครเวฟโดยเฉพาะดีกว่า มีความปลอดภัยมากกว่า
    
        อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร แนะนำทิ้งท้ายว่า “ภาชนะที่ใส่อาหารแช่แข็งเมื่อนำไปอุ่นกับไมโครเวฟแล้ว ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำบ่อย ๆ มีงานวิจัยพบว่า กล่องพลาสติำกที่ถูกนำกลับมาใช้กับไมโครเวฟในจำนวนมากครั้ง จะมีความแข็งแรง ความคงทนต่อความร้อน และความปลอดภัยน้อยลง แต่การแพร่ของสารที่จะออกมาสู่อาหารได้จะมีมากขึ้น จึงควรนำกลับมาใช้เพียง 1-2 ครั้ง เท่านั้น แต่สามารถนำไปใส่อาหารหรือเก็บอาหารแทนได้”.

                          รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><