27 เมษายน 2567, 01:02:39
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ผลของการออกกำลังกายต่อการสร้างเซลล์ประสาทใหม่  (อ่าน 67649 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
weerapong_rx
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 25 เมษายน 2550, 14:32:56 »

ผลของการออกกำลังกายต่อการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส
( Effect of exercise on adult neurogenesis in Hippocampus )


ในสมัยก่อนบทเรียนวิชาชีววิทยาเขียนไว้ว่าสมองจะหยุดการเจริญเติบโตเมื่อคนเราโตขึ้น เซลล์ประสาทจะไม่มีการสร้างขึ้นมาทดแทน และช่วงชีวิตตอนเด็กทารกจึงเป็นช่วงเวลาที่เราต้องบำรุงและส่งเสริมการพัฒนาสมองให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์ให้คำตอบที่แน่ชัดแล้วว่าโครงสร้างและการทำงานของสมองคนเราไม่ได้คงที่หากแต่มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาตามการเรียนรู้และพฤติกรรมที่เราสร้างขึ้นจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่เราเรียกว่า ความยืดหยุ่นของสมอง ( brain plasticity ) เซลล์ต้นกำเนิดประสาท ( neural stem cells ) ซึ่งถูกค้นพบได้ไม่นานนักมีบทบาทเป็นผู้ผลิตเซลล์ในระบบประสาท ( neural cells )  คือ เซลล์ประสาท ( neurones ) และเซลล์เกลีย ( glial cells ) เซลล์ประสาทใหม่ที่เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดจะต้องเคลื่อนตัวไปยังตำแหน่งสมองที่จำเพาะและเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์ประสาทที่สามารถทำงานเชื่อมต่อกับกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีอยู่เดิม ในที่นี้เรียกว่าการเกิดใหม่ของเซลล์ประสาท ( neurogenesis ) ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้เซลล์ประสาทหลายพันเซลล์เกิดขึ้นใหม่ในบริเวณสมองบางส่วนเป็นประจำทุกวัน มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ เช่น การออกกำลังกาย การเรียนรู้ที่อาศัยสมองส่วนฮิปโปแคมปัส การจำกัดอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าความเครียด อาการซึมเศร้า พยาธิสภาพในสมอง และอายุที่เพิ่มขึ้น มีตัวการสำคัญที่ยับยั้งการสร้างเซลล์ประสาทใหม่

ในบทความนี้จึงขอเน้นผลของการออกกำลังกายต่อการแบ่งตัวของเซลล์ต้นกำเนิดประสาทและการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งอาจเป็นแนวทางป้องกันกลุ่มโรคสมองเสื่อมจากการตายของเซลล์ประสาท และถึงแม้ว่าคนเราจะแก่เฒ่าก็จะช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาทเพื่อเพิ่มการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังเป็นผลดีต่อระบบต่างๆของร่างกายโดยรวม และที่สำคัญคือการอกกำลังกายเป็นวิธีที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

เซลล์ต้นกำเนิด ( stem cells ) เป็นเซลล์ที่ยังไม่ได้พัฒนาไปทำหน้าที่จำเพาะและมีความสามารถในการแบ่งตัวให้เกิดเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะอย่างได้ เซลล์ต้นกำเนิดพบได้ในหลายระยะของชีวิตคนเรา เซลล์ต้นกำเนิดที่เกิดตั้งแต่เรายังเป็นตัวอ่อนเรียกว่าเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน ( embryonic stem cells ) กล่าวคือ หลังจากอสุจิของพ่อผสมกับไข่ของแม่ เกิดการปฏิสนธิก็จะได้เป็นไซโกต หลักจากนั้นประมาณวันที่ 3-5 ก็จะได้ตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ ซึ่งภายในก้อนกลมที่มีลักษณะกลวงนี้ก็จะมีกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า inner cell mass กลุ่มเซลล์นี้เองที่นักวิทยาศาสตร์นำมาเพาะเลี้ยงและเหนี่ยวนำให้เกิดเซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะของเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายซึ่งเรียกคุณสมบัตินี้ว่า pluripotency

นอกจากเซลล์ต้นกำเนิดจะพบได้ตอนที่เราเป็นตัวอ่อนแล้วเมื่อเราโตขึ้นก็ยังพบได้ในหลายอวัยวะซึ่งมีบทบาทแตกต่างกันไป เช่น เซลล์ต้นกำเนิดในระบบเลือด เซลล์ต้นกำเนิดที่ผิวหนัง เซลล์ต้นกำเนิดที่ทางเดินอาหาร และเซลล์ต้นกำเนิดประสาท เป็นต้น เซลล์ต้นกำเนิดประเภทหลังได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นการค้นพบที่หักล้างความเชื่อเดิมๆ ที่กล่าวว่าโครงสร้างและการทำงานของสมองจะคงเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่ามีเซลล์ต้นกำเนิดประสาทอย่างน้อยสองกลุ่มที่มีบทบาทสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมอง ซึ่งบริเวณที่พบเซลล์ต้นกำเนิดประสาทนี้ คือ

1. บริเวณส่วนเดนเตตไจรัส ( Dentate gyrus ) ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ( Hippocampus ) ที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจดจำของสมองมนุษย์รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นๆ

2. บริเวณ subventricular zone ของโพรงสมองส่วน anterior lateral ventricles ที่ให้กำเนิดเซลล์ประสาทของออลแฟกตอรีบัลบ์ ( olfactory bulb ) ที่มีบทบาทหลัก คือ ระบบประสาทสัมผัสกลิ่น

ปัจจุบันนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโครงสร้างของสมองเปลี่ยนแปลงได้ เซลล์ประสาทก็ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและหน้าที่ให้สัมพันธ์กับการเรียนรู้ตามกฏที่เรียกว่า Hebb’s rule โดยสร้างเดนไดรติกสไปน์ ( dendritic spine ) มากขึ้นทำให้ไซแนปส์แข็งแรงยิ่งขึ้น เกิดวงจรประสาทที่ขยายกว้างและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษาผลของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อเซลล์ต้นกำเนิดประสาทจึงมีประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติตัวแบบที่ค่อนข้างปลอดภัย ( non-invasive ) เมื่อเทียบกับการที่ต้องฉีดเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปในสมอง หรือ การกินยาเพื่อกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดแบ่งตัวให้เซลล์ประสาท เป็นต้น

การเรียนรู้และการจำเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายม้าน้ำ โดยความจำที่ดังกล่าวนี้เป็นความจำประเภทที่สามารถใช้สติในการรับรู้ได้ ( declarative memory)  ซึ่งเป็นชนิดแยกย่อยอีกคือความจำที่เรียกว่า episodic memory ซึ่งได้แก่เหตุการณ์ในชีวิตที่เกิดในช่วงเวลาต่างๆ เช่น ภาพความทรงจำในงานเลี้ยง  ชีวิตสมัยเป็นนักเรียน การเดินทางจากบ้านมาทำงาน เป็นต้น  ความจำอีกประเภท คือ semantic memory เป็นความรู้ในเรื่องทั่วไป เช่น วิชาการต่างๆ การจำชื่อคน การรู้ความเป็นไปของข่าวสารโลกภายนอก เป็นต้น  ส่วนความจำที่เกี่ยวกับทักษะการเดิน การวิ่ง การเล่นกีฬา การเอื้อมมือ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่เราแทบไม่ต้องใส่ใจในแต่ละขั้นตอนของร่างกายที่เคลื่อนไหว กล่าวคือเป็นความจำที่เรียกว่า non-declarative memory นั้นเกิดจากการทำหน้าที่ของสมองส่วนอื่น เช่น striatum และ cerebellum

การกระตุ้นวิถีประสาทแบบกระตุ้น ( excitatory pathways ) ในบริเวณ CA1 ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสด้วยตัวกระตุ้นไฟฟ้าความถี่สูงๆ เกิดปรากฏการณที่เรียกว่า Long-term potentiation ( LPT)  ทำให้ไซแนปส์แข็งแรงขึ้น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้สูงขึ้น สารสื่อประสาทหลักที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในระดับโมเลกุล คือ กลูตาเมท ( glutamate ) ซึ่งในกระบวนการ LTP พบว่าตัวรับกลูตาเมท ( glutamate receptors ) ชนิด NMDA และ AMPA ที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทมีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณไปยังสารชีวภาพอื่นๆ เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างไซแนปส์ เช่น ทำให้เกิดสร้างเดนไดรติกสไปน์มากขึ้น ออกฤทธิ์ต่อ transcription factors ให้กระตุ้นการสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการสร้างไซแนปส์เพิ่มขึ้น เป็นต้น

งานวิจัยล่าสุดตีพิมพิ์เมื่อปลายเดือนมีนาคมนี้แสดงหลักฐานว่าการออกกำลังกายทำให้เกิดการสร้างเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้นและมีความสัมพันธ์กับการสร้างเส้นเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้นที่บริเวณเดนเตทไจรัส ( dentate gyrus ) ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส โดยคณะวิจัยได้ศึกษาในหนูถีบจักรและมนุษย์ สำหรับในหนูได้ทดสอบวัดปริมาตรเลือดที่เรียกว่า cerebral blood volume ( CBV ) ซึ่งไปเลี้ยงสมองบริเวณต่างๆ โดยใช้เครื่องสแกนสมองด้วยเทคนิค magnetic resonance imaging ( MRI ) คณะวิจัยพบว่าการออกกำลังกายมีผลจำเพาะในการเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงเนื้อสมองบริเวณเดนเตทไจรัสของหนูถีบจักร นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและปอด รวมทั้งการทำงานของสมองด้านปริชาน ( cognitive function )  และเมื่อทำให้หนูถีบจักรตายแล้วนำมาผ่าตัดก็พบว่ามีการสร้างเซลล์ประสาทเพิ่มมากขึ้นซึ่งสอดคล้องกับผลจากภาพถ่าย MRI เมื่อใช้เครื่องสแกนสมอง MRI ในอาสาสมัครก็พบผลเช่นเดียวกับในหนูถีบจักร
 
คณะวิจัยจึงสรุบว่าการจับภาพของ cerebral blood volume ในเนื้อสมองส่วนเดนเตทไจรัสสัมพันธ์กับการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ที่การออกกำลังกายเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้น และการออกกำลังกายมีผลเจาะจงต่อเฉพาะบริเวณเดนเตทไจรัสสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งสมองส่วนเดนเตทไจรัสนี้มีความสำคัญต่อการเรียนรู้และความจำของคนเราและที่สำคัญคือ เป็นบริเวณที่อยู่ของเซลล์ต้นกำเนิดประสาท ( neural stem cells ) ที่แบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นเซลล์ในระบบประสาทอยู่ทุกวัน โดยในภาวะปกติพบว่าในเนื้อสมองบริเวณเดนเตทไจรัสของสัตว์ทดลองมีเซลล์เกิดขึ้นใหม่ประมาณ 9,000 เซลล์ต่อวันหรือคิดเป็น 270,000 เซลล์ต่อเดือน นั่นหมายถึงว่า ถ้าสัตว์ออกกำลังกายก็จะมีปริมาณการสร้างเซลล์ประสาทสูงกว่าเดิมเป็นอย่างมาก

มีผู้ศึกษาในหนูขาว ( rat ) ที่ออกกำลังกายพบว่ามีการสร้างเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเซลล์ประสาทมีเดนไดรต์ที่ยาวขึ้น มีความซับซ้อนของโครงสร้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันเราทราบว่าบนเดนไดรต์มีโครงสร้างที่เป็นปุ่มคล้ายเห็ดบ้างคล้ายหนามบ้างที่เรียกว่าเดนไดรติกสไปน์ ( dendritic spine ) ซึ่งเป็นที่เกิดไซแนปส์ระหว่างเซลล์ประสาทสองตัว หากมีการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นก็จะเกิดเดนไดรติกสไปน์มากขึ้นเกิดจุดเชื่อมต่อวงจรประสาทมากขึ้นก็จะทำให้ไซแนปส์แข็งแรงขึ้นตามลำดับ โดยมีการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าหากหนูทดลองได้รับการเลี้ยงดูในสภาวะแวดล้อมที่สมบูรณ์เหมาะแก่การเรียนรู้ก็จะทำให้ความหนาแน่นของเดนไดรติกสไปน์เพิ่มขึ้นในบริเวณ CA1 ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส และส่วน dorsolateral stritum  แต่ในเด็กที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการดาวน์ ( Down’s syndrome )  พบว่าความหนาแน่นของเดนไดรติกสไปน์ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสและในสมองใหญ่ ( cerebral cortex ) มีปริมาณลดลงเป็นอย่างมาก

เมื่อคนเราแก่ตัวลงก็จะมีปัญหาด้านความจำ การเรียนรู้ การรู้คิด หรือมีบางท่านเรียกว่า พุทธิปัญญา (c ognitive functions ) ในสัตว์ทดลองที่อายุไม่มากพบว่าการออกกำลังกายนอกจากจะเพิ่มการสร้างเซลล์ประสาทแล้วยังเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้  นักวิทยาศาสตร์จึงทดลองนำหนูถีบจักรที่มีอายุมากมาออกกำลังกายโดยการวิ่งแล้วเปรียบเทียบกับหนูที่อายุมากกลุ่มควบคุมและเทียบกับหนูที่อายุรุ่นหนุ่มสาว พบว่าเมื่อนำหนูอายุมากที่ออกกำลังกายมาทดสอบการเรียนรู้จดจำตำแหน่งที่เรียกว่า Spatial learning โดยใช้โมเดลศึกษา คือ  Morris water maze พบว่ามีความจำที่ดีและการเรียนรู้ตำแหน่งได้เร็วกว่าหนูอายุมากที่ไม่ได้ออกกำลังกาย  และการออกกำลังกายทำให้หนูอายุมากที่ออกกำลังกายเพิ่มการสร้างเซลล์ประสาทได้เป็นครึ่งหนึ่งของหนูที่ไม่แก่กลุ่มควบคุม นอกจากนี้โครงสร้างทางสัณฐานวิทยาและคุณสมบัติของเซลล์ประสาทของหนูอายุมากที่ออกกำลังกายก็ไม่ได้แตกต่างจากหนูวัยหนุ่มสาว

มีอีกการศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจมากโดยนักวิจัยได้ทดลองให้หนูขาวที่ตั้งท้องว่ายน้ำ แล้ววัดค่าปัจจัยต่างๆ ของลูกหนูขาวซึ่งได้แก่ ความจำระยะสั้น ( short-term memory)  การสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ( hippocampal neurogenesis ) และวัดปริมาณสารที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่และการอยู่รอดของเซลล์ประสาทที่ชื่อว่า brain-derived neurotrophic factor (BDNF) ในรูปแบบของ mRNA expression  โดยหลังจากวันที่ 15 ของการตั้งท้อง แม่หนูต้องว่ายน้ำวันละ 10 นาทีจนกระทั่งถึงวันที่ตกลูก เมื่อลูกหนูมีอายุได้ 21 วันก็นำมาฝึกในโมเดล step-down avoidance test และในวันที่ 28 ก็นำมาทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของความจำระยะสั้น จากนั้นวันต่อมาเมื่อทำให้หนูตายแล้วก็ผ่าตัดนำสมองลูกหนูมาตรวจวัดการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส และวัดการสร้าง BDNF ที่เพิ่มขึ้น

คณะผู้วิจัยสรุปผลการศึกษาว่าลูกหนูที่เกิดจากแม่หนูที่ว่ายน้ำในช่วงตั้งท้องมีการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสมากกว่า ประสิทธิภาพความจำระยะสั้นดีกว่า และ ปริมาณ BDNF มากกว่าลูกหนูที่เกิดจากแม่หนูที่ไม่ได้ว่ายน้ำในช่วงตั้งท้อง ซึ่งประสิทธิภาพความจำที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการสร้างเซลล์ประสาทที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นไปได้ว่าการออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์อาจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองในลูกได้ ซึ่งคงต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกว่าในคนเราต้องการช่วงเวลาการออกกำลังกายมากน้อยเพียงใดเพื่อให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูกในครรภ์

การออกกำลังกายเป็นวิธีสร้างเสริมสุขภาพที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งซึ่งนอกจากไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยากแล้วยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มากโดยไม่จำเป็น ปัจจุบันเราคงต้องเน้นการแพทย์เชิงรุกกล่าวคือ สร้างสุขภาวะและป้องกันปัญหาไว้ก่อน โดยเฉพาะในปัจจุบันมีโรคต่างๆ มากมาย และโดยเฉพาะโรคด้านสมองที่พบได้มากในผู้สูงอายุ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น การลดปัจจัยเสี่ยงโดยการออกกำลังกายจึงน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่อาจช่วยให้สมองมีการสร้างเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้นในระดับที่เหมาะสม เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทผ่านไซแนปส์ที่แข็งแรงขึ้น และทำงานสอดประสานกันเกิดเป็นวงจรประสาทที่มีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

1. Ana C. Pereira และคณะ, An in vivo correlate of exercise-induced neurogenesis in the adult dentate gyrus, PNAS,  published online Mar 20, 2007

2. V. A. REDILA และ  B. R. CHRISTIE, EXERCISE-INDUCED CHANGES IN DENDRITIC STRUCTURE AND COMPLEXITY IN THE ADULT HIPPOCAMPAL DENTATE GYRUS, Neuroscience, 137 (2006) 1299–1307

3. Munehiro Uda และคณะ, Effects of chronic treadmill running on neurogenesis in the dentate gyrus of the hippocampus of adult rat, B R A I N R E S E A R C H,  1 1 0 4 ( 2 0 0 6 ) 6 4 – 7 2

4. Henriette van Praag และคณะ, Exercise Enhances Learning and Hippocampal Neurogenesis in Aged Mice, The Journal of Neuroscience, September 21, 2005, 25(38):8680–8685

5. Golo Kronenberg และคณะ, Physical exercise prevents age-related decline in precursor cell activity in the mouse dentate gyrus, Neurobiology of Aging, 27 (2006) 1505–1513
บันทึกการเข้า
หล้า
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,681

« ตอบ #1 เมื่อ: 25 เมษายน 2550, 19:41:40 »

อืม....เพิ่งจะเคยแวะมาห้องนี้ ถึงว่าล่ะทำไมเราไม่สวยซะที :lol:
มีเรื่องน่ารู้น่าศึกษาเยอะจัง ไว้จะแวะมาอ่านบ่อยๆนะคะ  :wink:
บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2 เมื่อ: 25 เมษายน 2550, 21:15:27 »

I'm still not finish reading it...Lahnoi,wait for me!
p.nn
บันทึกการเข้า


หล้า
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,681

« ตอบ #3 เมื่อ: 26 เมษายน 2550, 23:58:09 »

ค่อยๆอ่านดีกว่าค่ะพี่หนิง หนูเห็นศัพท์แต่ละตัวแล้วปวดหัวจี๊ด
เป็นเด็กศิลป์ไม่ค่อยสันทัดกับศัพท์วิทยาศาสตร์  Sad

ครั้งต่อไป คงต้องขอให้พี่พงษ์ฝังคลิบเสียงไว้ด้วยแล้วกระมัง  :lol:  :lol:

ไว้จะตามอ่านเรื่อยๆนะจ๊ะ :wink:
บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #4 เมื่อ: 27 เมษายน 2550, 00:51:06 »

อ้างจาก: "หล้า"
อืม....เพิ่งจะเคยแวะมาห้องนี้ ถึงว่าล่ะทำไมเราไม่สวยซะที :lol:
มีเรื่องน่ารู้น่าศึกษาเยอะจัง ไว้จะแวะมาอ่านบ่อยๆนะคะ  :wink:


ถล่มตัวเกินไป หนูปูเป้ รามาวดี สิริสุขค๊ะ
บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
หล้า
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,681

« ตอบ #5 เมื่อ: 27 เมษายน 2550, 11:47:19 »

โฮ....พี่ป๋องจะกินอะไร เดี๋ยวหนูเลี้ยง  :lol:  :lol:  :oops:
บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #6 เมื่อ: 27 เมษายน 2550, 18:11:14 »

somtum thale
pla chon haeng thord
gaeng juerd woonsen
pad pak ruammid
pad ped pla dook
chow goey
gueyjaab
...
...
p.nn
บันทึกการเข้า


suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #7 เมื่อ: 28 เมษายน 2550, 01:59:54 »

อ้างจาก: "khesorn mueller"
somtum thale
pla chon haeng thord
gaeng juerd woonsen
pad pak ruammid
pad ped pla dook
chow goey
gueyjaab
...
...
p.nn


somtum thale = ส้มตำทะเล
pla chon haeng thord = ปลาช่อนแห้งทอด
gaeng juerd woonsen = แกงจืดวุ้นเส้น
pad pak ruammid = ผัดผักรวมมิตร
pad ped pla dook = ผัดเผ็ดปลาดุก
chow goey = เฉาก๊วย
gueyjaab = ก๋วยจั๊บ (หรือ กล้วยฉาบ ไม่มั่นใจนัก)

รามาสิวะดี จัดด่วน
บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #8 เมื่อ: 28 เมษายน 2550, 02:08:15 »

Guten Appettit.
nn
บันทึกการเข้า


หล้า
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,681

« ตอบ #9 เมื่อ: 28 เมษายน 2550, 08:46:41 »

พี่หนิงมาเมืองไทยเมื่อไหร่ เดี๋ยวน้องจะเปิดครัวทำให้เองค่ะ  :lol:
บันทึกการเข้า
webmaster
Administrator
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 852

« ตอบ #10 เมื่อ: 28 เมษายน 2550, 10:05:48 »

คุ๊ณ......ค๊า
นี่มันกระทู้ออกกำลังกาย มาชวนกินซะนี่ หิวนะจะบอกให้
จากคนกำลังลดความอ้วนด่วน (โดยคำสั่งประทับคำว่า "ด่วน" จากอดีตท่านประธานพี่สิงห์ค่ะ)


ว่าแต่ว่า สรุปว่า การออกกำลังกายมันดี ใช่ไหมเล่าน้องพงษ์ พี่อ่านบ่จบ มันตาลายค่ะ อิอิ
บันทึกการเข้า

ORKS BEHIND THE SCENE
krongon2513
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,490

« ตอบ #11 เมื่อ: 28 เมษายน 2550, 14:15:34 »

น้องไผ่
ตกลงของกินที่พี่เตรียมไว้ให้  ไม่เอาใช่มะคะ

แล้วชุดกะของเล่นหนูเพนกวินจะทำไงดี
พี่เลือกขนาดเด็กห้าเดือน ของเล่นก็กำลังเหมาะกับวัย

รอให้เจอกันคราวหน้า เพนกวินอาจโตเป็นสาว ใช้ไม่ได้แล้วง่ะ

(หิวก็ดื่มน้ำเปล่า..วันละสักสองลิตร..จะยังหิวอีกก็ให้มันรู้ไป
อยากกินก็เอาพลาสเตอร์ปิดปากไว้

ลดความอ้วนแค่สองบาท(ค่าพลาสเตอร์)..ได้ผลชะงัดนาจ๊ะ)
บันทึกการเข้า
weerapong_rx
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 29 เมษายน 2550, 06:18:44 »

แอบดีใจที่มีคนตอบกระทู้ แต่พอเปิดมาดูไฉนกลายเป็นรายการอาหารรสเลิศ !!
พูดเล่นนะครับพี่ๆ แวะมาอ่านก็ดีใจแล้วครับ ผมนำเอารายงานการวิจัยล่าสุดมาสรุปเป็นบทความนี้ซึ่งอาจจะยากสำหรับบางท่านที่ไม่คุ้นกับคำศัพท์ ต่อไปจะพยายามหัดเขียนให้ดีขึ้นครับ

พี่เว็บมาสเตอร์ออกกำลังกายไม่มีข้อเสียแน่นอนครับ นอกจากที่เรารู้ว่ามันช่วยร่างกายในหลายระบบแล้ว สิ่งที่น่าสนใจมากตอนนี้ก็คือ การออกกำลังกายเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาทใหม่ ส่งผลให้หน่วยความจำในสมอง (เทียบกับบิตในคอมพิวเตอร์) เพิ่มมากขึ้น สมรรถนะการเรียนรู้ก็จะเพิ่มขึ้น และลดโอกาสการเกิดอาการความจำเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับภาวะชราภาพ

ผลวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กว้าง เช่น อาจช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม อาจเพิ่มการเรียนรู้และความจำในนักเรียนนักศึกษา และลดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าและเครียด เป็นต้น
บันทึกการเข้า
webmaster
Administrator
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 852

« ตอบ #13 เมื่อ: 29 เมษายน 2550, 15:28:49 »

พี่อ้อยที่เคารพรักขา ขอบพระคุณสำหรับของรับขวัญค่ะค่ะ
ส่วนของกินมันคงไม่สามารถมีอายุยืนยาวไปจนถึงวันที่7 ใช่ไหมคะ
กำลังคุยกะคุณพ่อของเพนกวินค่ะว่า
ในเมื่อเรามี mission ว่าจะต้องพาเพนกวินไปเที่ยว
และคารวะท่านป้าที่น่ารักของเค้าเนี่ย เราควรดำเนินการให้ได้
ก็เลยคิดว่าจะไปวันที่ 7 ค่ะ มุ่งมั่นเลยค่ะ ไม่น่ามีอะไรผิดพลาดค่ะ
แต่ไม่ทราบพี่จะอยู่บ้านไหมนะคะ
เดี๋ยวหนูโทรหาพี่อ้อยดีกว่าค่ะ เดี๋ยวกระทู้น้องพงษ์จะหัวมังกุท้ายมังกรค่ะ



ปล. อ่า  ข้อแนะนำใดๆ ของพี่อ้อยเรื่องลดความอ้วนหนูยินดีทำตามมากค่ะ ยกเว้นเอาพลาสเตอร์ปิดปากค่ะ มันท่าทางจะทรมานจิตใจมากค่ะ เลยขออนุญาตยังไม่บำเพ็ญทุกรกิริยาขนาดนั้นนะคะ แฮ่
บันทึกการเข้า

ORKS BEHIND THE SCENE
Hong82
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2550, 06:38:45 »

ขอแสดงความชื่นชมนะจ๊ะพงษ์... Cheesy  

ตอนแรกที่อ่าน...นึกว่าพงษ์ไปคัดลอกมาจากพวกวารสารทางวิทยาศาสตร์ซะอีก....อ่านไปจนจบ ดูรายการเอกสารอ้างอิง อ้าว...มีแต่เอกสารหัวนอก :shock: ....เก่งจริงๆ จ้ะ ที่เขียนได้ขนาดนี้เนี่ย....ดีใจแทนเด็กนักเรียนในอนาคตของพงษ์จริงๆ ที่จะได้เรียนกับอาจารย์ที่มีความสามารถเช่นนี้....สู้...สู้...นะเพื่อน Cheesy
บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #15 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553, 09:03:58 »


สุริยนมัสการ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายหลายจังหวะ และล้วนแต่เป็นท่าเบื้องต้นของอาสนโยคะ
ได้มาจากอีเมลล์

ควรจะฝึกทำทุกวันให้ได้วันละ 2-3 รอบ หรือขึ้นกับร่างกายของผุ้ฝึก

ประโยชน์ของสุริยนมัสการ คือ
ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้ทำงานหนักขึ้นแต่ไม่หักโหม
เมื่อทำอย่างต่อเนื่องจะช่วยทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น
และกระตุ้นต่อมต่างๆของร่างกายให้ทำงานมากขึ้น


การฝึกท่าต่างๆควรให้สอดคล้องกับลมหายใจ จามที่ได้กล้าวไว้ในแต่ละท่า
สำหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึก ไม่ควรฝืนร่างกาย ให้ทำเท่าที่ร่างกายทำได้
เมื่อฝึกต่อไปเรื่อยๆร่างกายก็จะชิน และสามารถทำท่าได้ดียิ่งขึ้น

1 ยืนตัวตรง พนมมือระหว่างอก



2 หายใจเข้าลึกๆ
เหยียดแขนทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะ
โค้งลำตัวไปด้านหลัง



3 ผ่อนลมหายใจช้าๆ
ก้มตัวลงให้ปลายนิ้วมือแตะปลายนิ้วเท้า
ศีรษะแตะหัวเข่า



4หายใจเข้า
ลดตัวลง เอามือางข้างเท้าทั้งสอง
เหยียดเท้าขวาออกไปสุดด้านหลัง เชิดหน้ามองเพดาน



5หายใจออก
พร้อมกับดึงขาซ้ายเข้ามาชิดขาขวา
แขนเหยียดตรง ยกสะโพกขึ้น ก้มหัวลงทำท่าโก้งโค้ง



6หายใจออก
หย่อนส่วนอกลงกับพื้น
จนส่วนปลายเท้า เข่า อก และหน้าผาก จรดพิ้น



7หายใจเข้า
ค่อยๆแอ่นตัวไปด้านหลังให้มากที่สุด ตามองเพดาน



8 หายใจออกพร้อมยกตัวขึ้นกลับมาทำท่าโค้ง



9 เริ่มทำสลับขาบ้าง
หายใจเข้า
เหยียดขาขวาออกไปด้านหลัง ทำเหมือนท่าที่ 4

 ปิ๊งๆ

จะเห็นได้ว่า ท่าสุริยนมัสการ หรือท่าไหว้พระอทิตย์
เป็นท่าที่รวมเอาความเคลื่อนไหวของอาสนะต่างๆของโยคะ
เข้ามาเป็นแบบแผนที่ต่อเนื่องและมาบรรจบรอบที่จุดเริ่มต้น






 รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><