churaipatara
|
 |
« ตอบ #16100 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 12:11:26 » |
|
"ไม่ทราบว่าสิ่งที่คุณกำลังพูดถึงอยู่นี้จะช่วยในการทำให้เราสามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อแก้ไขปัญหา
ได้อย่างไรบ้าง"
การใช้ : สำหรับใช้ในกรณีที่สิ่งที่คู่ความกำลังกล่าวถึงอยู่นั้น ขาดความชัดเจนว่าจะสามารถช่วยใน-
การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้อย่างไร หรืออาจใช้ในการทำให้คู่ความที่กำลังพูดออกนอก
ประเด็นการหารือ กลับเข้าสู่ประเด็นเกี่ยวกับวิธีการที่อาจใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง : "ที่คุณพูดมาฟังดูก้อน่าสนใจอยู่นะคะ แต่ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจนักว่าสิ่งที่คุณสมศักดิ์กำลังพูด
ถึงอยู่นี้จะช่วยเราในการหาข้อตกลงได้อย่างไรบ้าง ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยได้มั้ยคะ"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16101 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 12:13:47 » |
|
 ค่ายจามจุรีศรีสะเกษครั้งที่๗
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16102 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 12:10:09 » |
|
สวัสดีค่ะ
เมื่อวานศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ จัดทำโครงการปฏิบัติธรรมนำสู่ความสงบสุข
ครั้งที่สี่ มีผู้ปกครองและเยาวชนเข้าร่วมโครงการจำนวนสี่สิบคน
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16103 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 12:14:14 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16104 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 12:21:03 » |
|
"หากลองให้คุณอยู่ในสถานะของคุณ..คุณคิดว่าตอนนี้พวกเขาจะรู้สึกอย่างไรบ้างกับเรื่องที่เกิดขึ้น"
การใช้ : สำหรับการช่วยให้คู่ความลองคิดถึงความรู้สึกหรือความคิดของอีกฝ่ายหนึ่งมากขึ้น แทนที่
จะมุ่งแต่จะเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นกับฝ่ายตนเพียงด้านเดียว
ตัวอย่าง : "จากเรื่องที่ฟังมาทั้งหมด ดิฉันคิดว่าพอจะเข้าใจความรู้สึกของคุณสมศรีพอสมควรอยู่นะ
คะ แต่ถ้าสมมติว่าคุณสมศรีอยู่ในสถานะของคุณสมศักดิ์ในขณะนี้ คุณสมศรีคิดว่าคุณสมศักดิ์จะรู้สึก
อย่างไรบ้างคะกับเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16105 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 12:24:08 » |
|
 พี่วุฒิดูแลพวกเราดีมากค่ะ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16106 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 12:38:52 » |
|
"คุณคิดอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่อง..."
การใช้ : สำหรับใช้ในการสอบถามความคิดของคู่ความต่อประเด็นหรือเรื่องบางเรื่องที่เกิดขึ้น เพื่อ
ตรวจสอบว่าความคิดของคู่ความตรงกับที่ผู้ประนีประนอมเข้าใจหรือไม่ หรืออาจใช้เพื่อให้คู่ความ
ได้ฉุกคิดถึงประเด็นหรือเรื่องบางเรื่องที่อาจจะไม่ค่อยให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญนัก
ตัวอย่าง : "ไม่ทราบว่าคุณสมศรีคิดอย่างไรบ้างคะเกี่ยวกับการที่คุณสมศักดิ์ได้เคยให้สัมภาษณ์ -
ผ่านทางหนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งเกี่ยวกับคุณสมศรีที่หนังสือพิมพ์เคยเอาไปลงก่อนหน้านี้"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16107 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 12:43:20 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16108 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 12:51:19 » |
|
"หากอีกฝ่ายเขาเกิดตกลงทำ..ในส่วนของคุณ คุณพอจะทำอะไรให้อีกฝ่ายได้บ้าง เพื่อทำให้ปัญหา
ที่เกิดขึ้นมันได้รับการแก้ไข"
การใช้ : สำหรับใช้เพื่อสอบถามหาข้อเสนอแลกเปลี่ยนจากคู่ความฝ่ายหนึ่ง หลังจากที่อีกฝ่ายหนึ่ง
ได้เสนออย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว
ตัวอย่าง : "เมื่อสักครู่ที่ดิฉันได้คุยกับทางฝ่ายคุณสมศักดิ์ คุณสมศักดิ์ก็มีท่าทีที่ดีขึ้นมากเลยนะคะ
ตอนนี้ทางฝ่ายคุณสมศักดิ์ได้เสนอที่จะเพิ่มยอดเงินที่จะต้องชำระต่องวดขึ้นเป็นเดือนละ 7000 บาท
แล้วในส่วนของคุณสมศรีละคะ ไม่ทราบว่าพอจะมีอะไรที่จะช่วยได้บ้างเพื่อที่เราจะได้หาข้อตกลงกัน
ได้"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16109 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 12:52:41 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16110 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 13:00:32 » |
|
"ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่าว่าคุณอาจจะยินดีที่จะทำ.."
การใช้ : สำหรับใช้ในกรณีที่สิ่งที่คู่ความฝ่ายหนึ่งได้พูดถึงเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหา แต่ขาดความ
แน่นอนและชัดเจนถึงสิ่งที่คู่ความฝ่ายนั้นยินดีที่จะทำให้
ตัวอย่าง : "เมื่อสักครู่ที่คุณสมศักดิ์พูดถึงเกี่ยวกับเรื่องทำสินค้าให้ใช้งานได้โดยปลอดภัย ไม่ทราบ
ว่าดิฉันเข้าใจถูกหรือเปล่าคะว่าคุณสมศักดิ์ยินดีที่จะรับสินค้าจากคุณสมศรี ไปซ่อมให้โดยไม่คิดค่า-
ใช้จ่าย"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16111 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2558, 13:02:01 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16112 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2558, 13:04:51 » |
|
"คุณทั้งสองฝ่ายดูเหมือนจะตกลงกันได้ว่า..."
การใช้ : สำหรับใช้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า เงื่อนไขที่คู่ความตกลงกันนั้น มีสาระสำคัญว่าอย่างไรเพื่อ
ป้องกันความเข้าใจผิดในระหว่างคู่ความ
ตัวอย่าง : "ดิฉันขอทวนเกี่ยวกับเงื่อนไขที่เราพูดคุยกันเสียหน่อยนะคะ เท่าที่ฟังมาถึงตรงนี้ คุณทั้ง
สองฝ่ายดูเหมือนจะตกลงกันได้ว่าทางคุณสมศักดิ์ตกลงจะผ่อนชำระให้เดือนละ7000บาท โดยทาง
คุณสมศรีตกลงจะลดดอกเบี้ยให้จากเดิมร้อยละ15ต่อปีลงเหลือร้อยละ12ต่อปี ในปีที่สองหากไม่มี -
การผิดนัด คุณสมศรีจะลดดอกเบี้ยให้อีกเป็นร้อยละ10ต่อปี และตั้งแต่ปีที่สามจนกว่าจะชำระเสร็จจะ
คิดดอกเบี้ยร้อยละ8ต่อปี"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16113 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2558, 13:06:06 » |
|
|
|
|
|
wira.dan
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #16114 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2558, 17:03:41 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16115 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 09:50:51 » |
|
สวัสดีค่ะท่านทู
เป็นคนแรกเลยที่สวัสดีปีใหม่เอ๋ ขอให้ท่านทูและครอบครัวมีความสุขสุขภาพแข็งแรงทุกคนนะคะ
ระยะนี้รับผิดชอบโครงการและงานอื่นๆ จึงพึ่งได้เข้าเวบ..
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16116 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 09:57:33 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16117 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 10:07:35 » |
|
๑๘ธค.ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยโสธร มาดูงานศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ
๒๒ธค.รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างสุขภาวะจิตศึกษาสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว วิทยากร -
ได้แก่ พ.สมทบ นางบุญเจือ นวลแสง และนักจิตวิทยาประจำศาลฯ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16118 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 10:09:05 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16119 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 10:21:13 » |
|
๒๒ธค.สนับสนุนโครงการที่นิติกรประจำศาลออกไปเผยแพร่ความรู้ ร่วมกับหน่วยบริการจังหวัดเคลื่อน-
ที่จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี๒๕๕๙ ณ.วัดโพธิ์ศรีโคกจาน หมู่๓ ต.โคกจาน อ.อุทุมพิสัย จ.ศรีสะเกษ
สนับสนุนโครงการในนามนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นรหัส2524และคณะผู้พิพากษา
สมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16120 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 10:23:09 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16121 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 10:37:02 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
"คุณรู้สึกอย่างไรหากปัญหานี้จะแก้ไขด้วยการ..."
การใช้ : สำหรับใช้ตรวจสอบความคิดของคู่ความว่าเป็นอย่างไร เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาอย่าง-
ใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่าง : "คุณสมศักดิ์รู้สึกอย่างไรคะหากเราจะแก้ไขปัญหานี้ด้วยการขอให้ทางคุณสมศักดิ์รับ
สินค้าที่มีปัญหาไปซ่อมและส่งกลับไปให้คุณสมศรีภายใน30วัน โดยที่ทางคุณสมศักดิ์จะไม่คิดค่า
ใช้จ่ายใดๆจากคุณสมศรี"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16122 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 10:38:22 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16123 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 10:43:57 » |
|
การไกล่เกลี่ยสไตล์ฮาวายและการเปปเปอร์ไดน์นี้เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีความน่าสนใจในตัวเอง
ในการนำมาใช้เราอาจประยุกต์ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนไทยได้ ซึ่งจะทำให้แนวทางการ -
ไกล่เกลี่ยมีความหลากหลายและมีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น..
เป็นอันจบสาระน่ารู้จากโครงการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หลักสูตรจิตวิทยา
และทักษะการสื่อสารในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค๓โดยท่านวรณัฏฐ์
สังข์ใหม่ค่ะ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16124 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2558, 10:45:03 » |
|
|
|
|
|
|