churaipatara
|
 |
« ตอบ #16075 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 11:34:27 » |
|
 เพื่อน24อบอุ่นเสมอ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16076 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 12:44:17 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
"ไม่ทราบว่าคุณพอจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง..ให้มากขึ้นหน่อยได้ไหมครับ/ค่ะ"
การใช้ : สำหรับกระตุ้นให้คู่ความให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่พิพาท เพื่อว่าผู้ประนีประนอมจะ-
ได้มีข้อมูลที่ละเอียดและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง : "ไม่ทราบว่าคุณพอจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการจ่ายเงินปันผลของบริษัทในรอบ
หลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่คุณรับช่วงบริหารกิจการต่อมาจากคุณพ่อของคุณ ให้มากขึ้นหน่อยได้ไหม
ครับ"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16077 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 12:46:13 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16078 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 12:52:55 » |
|
"คุณรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น/คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่อง..."
การใช้ : สำหรับตรวจสอบดูว่าคู่ความมีความรู้สึกหรือทัศนคติอย่างไรต่อประเด็นบางประการที่ผู้ -
ประนีประนอมคิดว่ามีความสำคัญหรือมีผลต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง : "คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องที่ฝ่ายคุณสมศักดิ์บอกว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะทำให้ลูกชาย
คุณได้รับบาดเจ็บ เพียงแต่ตอนนั้นด้วยความที่กำลังโมโหอยู่ก็เลยผลักแรงไปหน่อย"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16079 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 12:54:50 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16080 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 13:47:14 » |
|
"ที่คุณพูดเมื่อสักครู่มีความหมายว่าอะไรครับ/ค่ะ"
การใช้ : สำหรับทำให้เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องที่คู่ความฝ่ายหนึ่งได้เล่าให้ฟังในระหว่างการ-
ไกล่เกลี่ย ทำให้ผู้ประนีประนอมสามารถทำความเข้าใจ ข้อความ ที่คู่ความต้องการสื่อสารได้ตรง
กับที่คู่ความคิดหรือรู้สึกอยู่ในใจมากขึ้น เนื่องจากหากข้อความที่พูดออกมามีความไม่ชัดเจนเกี่ยว
กับเจตนาของคู่ความ การตีความของผู้ประนีประนอมเองอาจจะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่คู่ความต้อง -
การ
ตัวอย่าง : "ที่คุณพูดมาสักครู่ว่าความจริงคุณไม่ต้องการจะเอาเรื่องกับคุณสมศรีหรอก แต่ที่ต้อง -
ฟ้องมาเป็นคดีอย่างนี้ เพราะท่าทีที่คุณสมศรีแสดงออกมามากกว่า ไม่ทราบว่าคุณหมายความว่า
อะไรหรือคะ"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16081 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 13:52:00 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16082 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 13:59:14 » |
|
"มีเรื่องอะไรอีกบ้างไหมครับที่คุณต้องการจะบอกเพิ่มเติม"
การใช้ : สำหรับถามให้แน่ใจว่าเรื่องราวที่คู่ความเล่ามาครบถ้วนครอบคลุมเรื่องสำคัญที่ผู้ประนีประ-
นอมควรรู้แล้วหรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการไกล่เกลี่ยไปสู่ขั้นตอนต่อไปหรือก่อนที่จะเปลี่ยนไปพูดคุย
ในประเด็นอื่นต่อไป
ตัวอย่าง : "ไม่ทราบว่าในประเด็นเรื่องความเดือดร้อนที่คุณได้รับจนถึงทุกวันนี้ มีอะไรอีกบ้างมั้ยครับ
ที่คุณต้องการจะบอกเพิ่มเติม" "ก่อนที่ผมจะขอประชุมฝ่ายเดียวกับทางฝ่ายคุณสุรศักดิ์บ้าง ไม่ทราบ
ว่าทางฝ่ายคุณพลมีอะไรอีกบ้างมั้ยครับที่คิดว่าผมควรจะต้องทราบไว้"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16083 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 14:02:45 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16084 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 14:10:20 » |
|
"ต่อไป เราจะคุยกันในประเด็น.."
การใช้ : สำหรับกำหนดเนื้อหาในการพูดคุยกันเพื่อทำให้คู่ความทราบว่า เนื้อหาที่จะพูดคุยกันต่อไป
ควรจะอยู่ในประเด็นใด เพื่อจะทำให้การพูดคุยไม่หลงประเด็นและไม่ยืดเยื้อเกินความจำเป็นและหาก
มีการพูดออกนอกเรื่องจะได้นำคู่ความกลับมาสู่ประเด็นที่ได้กำหนดไว้ได้
ตัวอย่าง : "ตอนนี้เราคุยกันมาพอสมควรแล้วเรื่องความเสียหายที่คุณสมศักดิ์ได้รับว่ามีอย่างไรบ้างต่อ-
ไป ผมจะขอให้เราคุยกันในประเด็นเรื่องความเสียหายของทางฝั่งคุณสมศรีบ้าง เราจะได้รับทราบข้อ -
มูลของทั้งสองฝ่ายและเข้าใจปัญหาให้รอบด้าน ก่อนที่เราจะสามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ได้"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16085 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 14:12:50 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16086 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 14:20:53 » |
|
"คุณมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง..บ้าง"
การใช้ : สำหรับการขอให้คู่ความให้ข้อมูลบางเรื่องบางประเด็นที่ผู้ไกล่เกลี่ยคิดว่ายังไม่เข้าใจสภาพ
ปัญหาหรือเรื่องราวเพียงพอ เพราะในการให้ข้อมูลของคู่ความ บางครั้งคู่ความอาจจะคิดว่าสิ่งที่ตน-
เล่าน่าจะทำให้ผู้ประนีประนอมเข้าใจเรื่องราวแล้ว เนื่องจากคิดจากมุมมองของผู้ที่คุ้นเคยกับเรื่องราว
ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี
ตัวอย่าง : "คุณมีข้อมูลอะไรที่พอจะเล่าให้ดิฉันฟังเพิ่มเติมอีกสักหน่อยได้ไหมคะ เกี่ยวกับเรื่องที่ว่า -
ตอนที่คุณไปทำศัลยกรรมตกแต่งดั้งจมูกแล้วเกิดปัญหาขึ้นมา ตอนนั้นทางคลีนิกเขาบอกอะไรคุณไว้
บ้าง"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16087 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 14:22:00 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16088 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 14:33:48 » |
|
"ในบรรดาสิ่งต่างๆที่คุณได้พูดหรือเล่ามาทั้งหมดจนถึงตอนนี้ เรื่องอะไรบ้างที่คุณคิดว่าเป็นเรื่องที่-
สำคัญที่สุดสำหรับคุณในขณะนี้"
การใช้ : สำหรับช่วยให้คู่ความได้คิดทบทวนถึงสิ่งต่างๆที่ได้เล่าให้ผู้ประนีประนอมฟัง ว่ามีสิ่งใดบ้าง
ที่คู่ความนั้นให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องอื่น เพื่อจะทำให้ผู้ประนีประนอมสามารถจัดลำดับความสำ -
คัญของปัญหาที่จะต้องช่วยแแก้ไข และในขณะเดียวกันอาจจะทำให้เห็นถึงความแตกต่างของการให้
ความสำคัญกับเรื่องต่างๆในระหว่างคู่ความทั้งสองฝ่าย.....
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16089 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 14:35:13 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16090 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 15:03:13 » |
|
"...ซึ่งจะทำให้สามารถนำสิ่งที่คู่ความฝ่ายหนึ่งให้ความสำคัญน้อยไปแลกกับสิ่งที่คู่ความฝ่ายนั้นให้
ความสำคัญมากกว่า แต่มีความสำคัญน้อยในสายตาของอีกฝ่ายหนึ่ง
ตัวอย่าง : ต้องขอขอบคุณคุณสมศรีมากนะคะ ที่ช่วยให้ข้อมูลเกั่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น จนดิฉันคิด -
ว่าพอจะเข้าใจเรื่องราวและความเป็นมาได้พอสมควรแล้ว แต่ก่อนที่เราจะคุยกับอีกฝ่ายหนึ่งดิฉันขอ
ถามคุณสมศรีนิดนึงนะคะว่า ในบรรดาสิ่งต่างๆที่คุณสมศรีได้พูดหรือเล่ามาทั้งหมดจนถึงตอนนี้เรื่อง
อะไรบ้างที่คุณสมศรีคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16091 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2558, 15:05:37 » |
|
 พี่วุฒิ-นิติฯ
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16092 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 11:16:18 » |
|
สาระฯ(ต่อ)
ขั้นการเจรจา-จัดการกับเรื่องในอนาคต
"มีอะไรบ้างที่คุณคิดว่าอยู่ในวิสัยที่อีกฝ่ายสามารถทำได้เพื่อช่วยคุณแก้ไขปัญหานี้"
การใช้ : สำหรับเริ่มการระดมสมองเพื่อหาวิธีการในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากคู่ความอาจจะมีข้อมูล
เกี่ยวกับวิธีการต่างๆที่สามารถดำเนินการได้
ตัวอย่าง : "จากข้อมูลที่เราคุยกันมาจนถึงขณะนี้ คุณสมศักดิ์คิดว่ามีอะไรบ้างมั้ยคะที่ทางคุณสมศรี-
พอจะทำได้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16093 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 11:22:00 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16094 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 11:32:19 » |
|
"ในส่วนของคุณ มีอะไรบ้างที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้"
การใช้ : สำหรับใช้ในการระดมสมองเพื่อหาวิธีการในการแก้ไขปัญหา โดยนอกจากสิ่งที่คาดหวังจาก
อีกฝ่ายว่าจะต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อแก้ปัญหาแล้ว คู่ความสามารถจะทำอะไรในส่วนของตนเอง
เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ตัวอย่าง : "เมื่อสักครู่คุณได้บอกมาแล้วว่าทางคุณสมศรีพอจะทำอะไรได้บ้างในการแก้ไขปัญหา แล้ว
คราวนี้ทางฝ่ายคุณสมศักดิ์เองละคะพอจะทำอะไรได้บ้างไหม ในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้จบลงเสีย
ได้"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16095 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 11:34:35 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16096 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 11:42:59 » |
|
"คุณพอมีแนวคิดอื่นอีกบ้างหรือเปล่าที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้"
การใช้ : สำหรับใช้ในการให้คู่ความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ วิธีการในการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติม
โดยเฉพาะหากวิธีการที่เสนอมายังไม่เพียงพอหรือยังไม่มีวิธีการที่คู่ความพอจะยอมรับได้
ตัวอย่าง : "เท่าที่ทั้งสองฝ่ายเสนอมาก็มีหลายวิธีที่น่าสนใจ แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจ ลองคิดดูอีก
สักหน่อยสิคะว่ามีแนวทางอื่นอีกบ้างหรือเปล่าที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16097 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 11:45:02 » |
|
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16098 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 11:59:30 » |
|
"คุณคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หากคุณไม่สามารถเจรจาหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้"
การใช้ : สำหรับให้คู่ความคิดทบทวนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยไม่ประสบผล
สำเร็จ เพื่อให้คู่ความคิดเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสียของสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับข้อเสนอที่ได้มีการพูดคุย-
กันในการไกล่เกลี่ยว่าหนทางใดจึงจะดีที่สุด
ตัวอย่าง : "คุณสมศักดิ์เคยคิดบ้างมั้ยคะว่าเรื่องหลังจากนี้หากเราไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้
จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ไม่ว่าจะในแง่ของผลของคดีที่มีอยู่ การดำเนินธุรกิจของตัวคุณสมศักดิ์เอง"
|
|
|
|
churaipatara
|
 |
« ตอบ #16099 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558, 12:01:43 » |
|
|
|
|
|
|