Leam
|
|
« ตอบ #1250 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 11:28:45 » |
|
ไฟล์ภาพ .gif ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์บนเว็บบอร์ดของเราครับ....พี่ตู่
WM ครับ.......ได้โปรด.
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1251 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 11:33:13 » |
|
จุ๊งเป็นคนโพสท์ภาพหนังสือสองเล่มนั้น...... คงต้องให้จุ๊งเป็นคนตอบครับ พี่ตู่
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1252 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 11:50:33 » |
|
ผมก็หาจากในเน็ตแหละครับ โดยใช้คีย์"การ์ตูน ตุ๊กตา" เห็นเกศริน ปัทมวรรณ ผมยังนึกว่าจารุณี สุขสวัสดิ์ซะอีก ไม่บอกผมก็ยังเข้าใจว่าจารุณีอยู่ดี
|
|
|
|
too_ploenpit
|
|
« ตอบ #1253 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 11:58:08 » |
|
...ขอบคุณค่ะที่นำประวัติของ...สิทธา เชตวัน...มาลงค่ะ... ...พี่ตู่คุ้นหูมากๆ...แต่ไม่เคยอ่านนวนิยายของท่านเลยค่ะ... ...แต่พี่เป็นแฟนประจำของนิตยสาร...โลกทิพย์, โลกลี้ลับ, พ้นโลก, ขวัญเรือน... ...เฉพาะโลกทิพย์ติดตามเกือบทุกฉบับค่ะ...ส่วนอีก 3 ชนิดนั่น...ซื้อบ้างไม่ซื้อบ้างค่ะ... ...อ่านแล้วก็ดีค่ะ...เวลาอ่านเสร็จแล้วก็จะเอาไปให้คุณพ่ออ่านต่อ... ...เวลาท่านป่วยหนัก...ก็ให้ท่านใช้หนังสือพวกนี้ช่วยคลายทุกข์ค่ะ... ...พร้อมทั้งให้ท่านหัดทำสมาธิตามหนังสือค่ะ...
|
i love pink, you are pink = i love you
|
|
|
too_ploenpit
|
|
« ตอบ #1254 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 12:03:44 » |
|
|
i love pink, you are pink = i love you
|
|
|
too_ploenpit
|
|
« ตอบ #1255 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 12:06:40 » |
|
...น้องแหลม...จารุณีหน้าเค้าไม่เป็นลูกครึ่งเลยนะคะ... ...ถ้าพี่ตู่ไม่รู้ประวัติเค้ามาก่อน...พี่ตู่ก็จะยังคิดว่าเค้าเป็นคนไทยแท้ๆค่ะ... ...เอ๊ย...น้องจุ๊งค่ะ...ชักสับสน...อิอิ...
|
i love pink, you are pink = i love you
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1256 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 12:16:32 » |
|
เคยอ่านงานเขียนของ สิทธา เชตวัน หลายเรื่องเหมือนกันครับ..... ส่วนแนวบู๊ ชอบอ่านงานของ "อรชร" และ "พันธุ์ บางกอก" ที่ติดต้องตามอ่านตอนนั้นคือ ร้อยป่า และ ม้าเหล็ก (ถ้าจำไม่ผิดน่าจะลงในทานตะวันรายสัปดาห์) ยังจำ เสือ กลิ่นสัก ได้อยู่ครับ.
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1257 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 12:21:25 » |
|
ผมว่า......
สันจมูกของจารุณีไปทางเทือกเขาแอลป์ มากกว่ามาทางเทือกเขาตะนาวศรีนะครับ....... พี่ตู่.
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1258 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 13:00:21 » |
|
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1259 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 13:13:05 » |
|
เดี๋ยวเย็นๆค่ำๆจะกลับมาอ่านนะครับ........ท่านจุ๊ง
ขอตัวไปปฎิบัติภารกิจก่อน......
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1260 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 15:07:13 » |
|
ไปค้นหาเรื่อง"ร้อยป่า"มาให้อ่านกัน
ร้อยป่า......เสือ กลิ่นสัก ลูกผู้ชายตัวจริง บทประพันธ์ : อรชร และ พันธุ์ บางกอก
จากเด็กกำพร้าจากบ้านป่าทางภาคเหนือ กลายมาเป็นเด็กวัดในเมืองหลวง แล้วกลับสู่ป่าในฐานะพนักงานป่าไม้ ผู้รักษาป่าไม้ของชาติ ต้องต่อสู้กับความอยุติธรรม การดูถูกเหยียดหยาม การแบ่งชั้นวรรณะทางสังคม โดยที่เสือได้รับการสอนสั่งจากหลวงตาให้ยึดมั่นในความดี และความรักระหว่างเพื่อนต่อเพื่อน ที่เรียกได้ว่าเพื่อนแท้ นำพาให้เขาต่อสู้กับอุปสรรคนานา ไม่ว่าจะเป็นการงานหรือความรัก
*******************************
ร้อยป่า เขียนโดย อรชร และพันธุ์ บางกอก สองนักเขียนที่เขียนประจำในเครือนิตยสารบางกอก โดยข้อมูลของเรื่องเกี่ยวกับนักเรียนแม่โจ้ หรือ นักศึกษาวิชาวนศาสตร์ น่าจะมาจากพันธุ์ บางกอก ซึ่งเป็นลูกแม่โจ้ตัวจริง ตอนนี้ลูกแม่โจ้คนนี้คงจะมีอายุ 80 กว่าปีแล้ว
นิยายเรื่องนี้ดำเนินเรื่องมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงยุค 2500 สำหรับเราช่วงนี้เราถือว่าเป็นยุคคลาสสิกเลย เป็นยุคเดียวกับ “ปริศนา” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ถึงจะข้าวยากหมากแพงเพราะสงครามโลกไปบ้าง แต่เป็นช่วงที่วัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่เพิ่งเริ่มเข้ามา แต่คนไทยก็ยังมีน้ำจิตน้ำใจต่อกันเสมอ
พูดง่าย ๆ ช่วงนั้นยังเป็นช่วงเวลาที่สวยงาม ทั้งผู้คนและบ้านเมืองในยามนั้น (เกิดไม่ทันแต่รู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ นะ) นิยายที่จัดว่าคลาสสิกของไทยหลายเรื่อง ก็มียุคสมัยอยู่ในช่วงนั้น ไม่ว่าจะเป็น 3 เรื่องเอกของ ว. ณ ประมวญมารค (ปริศนา เจ้าสาวของอานนท์ รัตนาวดี) หรือ คู่กรรม ของ ทมยันตี
สำหรับ “ร้อยป่า” อาจจะไม่ค่อยเหมือนกับเรื่องอื่นที่มีช่วงเวลาในยุคเดียวกันนัก เพราะเรื่องอื่นจะเป็นเรื่องที่นักเขียนหญิงเขียน และเขียนค่อนข้างเป็นสังคมชั้นสูง ขนาด คู่กรรม นางเอกเป็นชาวสวน ก็ยังดูเป็นชาวสวนไฮโซยังไงก็ไม่รู้ (ฮา) ส่วนร้อยป่าเขียนโดยนักเขียนชาย แล้วมุมมองก็ออกจะเป็นมุมมองแบบชาวบ้านมากกว่า เพราะพระเอกเรื่องนี้เป็นเด็กวัด นิยายเรื่องนี้เลยให้ภาพชีวิตที่ดูชาวบ๊านชาวบ้าน ขนาดผู้ดีนี้ในเรื่องยังเดินตลาดไปวัดข้างบ้านกันเลย
นอกจากภาพชีวิตที่ดูชาวบ้านแล้ว ยังมีสภาพสังคมเมืองหลวงแบบที่นักเขียนหญิงไม่ได้เขียนหรืออาจจะเขียนไม่ได้ด้วย เช่น บาร์ ไนต์คลับ หรืออาบอบนวดสมัยนั้น (แน่สิ ผู้หญิงดี ๆ สมัยนั้นเขาจะไปเที่ยวที่อย่างนั้นได้ยังไง) นับว่าเป็นการสนองความอยากรู้อยากเห็นของเราได้ดีมาก
ไม่ใช่ว่าเรื่องนี้จะมีแต่สังคมเมืองหลวง สังคมต่างจังหวัด บ้านนอกบ้านป่า ก็มีให้เห็นแทบทั้งเรื่อง เพราะพระเอกเป็นข้าราชการป่าไม้ ต้องย้ายไปตามที่ต่าง ๆ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ แถมยังมีไปเมืองนอกอีกด้วย ที่เราชอบอีกอย่างก็คือ ลักษณะของสังคมภาคเหนือในเรื่อง ซึ่งผู้เขียนได้เขียนบรรยายถึงผู้คน นิสัยใจคอ ที่งดงามในแบบของล้านนา ซึ่งในแต่ละจังหวัดนิสัยของคนก็จะต่างกันออกไป
พี่เสือเป็นลูกผู้ชายที่ผู้ชายหลายคนอยากเป็นได้แบบนั้น ยกเว้นหน้าตา เพราะพี่เสือเป็นพระเอกที่ไม่หล่อเลย จัดว่าเป็นคนขี้ริ้วเลยด้วยซ้ำ ซึ่งเราก็ยังงง ๆ อยู่ว่าตอนที่ผู้เขียนบรรยายหน้าตาพี่เสือนั้น บอกว่าพี่เสือคิ้วเข้ม ตาคม เอ่อ บรรยายมาแบบนี้ เดี้ยนว่าพี่เขาหล่อแล้วนะฮ้า แล้วบอกว่าเป็นคนขี้ริ้วไปได้ แต่รับรองได้อย่างว่า ลูกผู้ชายแบบเสือ กลิ่นสัก นั้น หายากมากกกกกกก คิดว่า คงไม่มีเลยในโลกนี้ ฮา
เรื่องนี้มาในแนวนิยายสมัยเก่าโดยแท้ คือ มีพระเอก มีผู้ร้าย (โคตรหล่อ) มีนางเอก 2 คน ให้พระเอกหวั่นไหว ซึ่งนางเอกก็สุดแสนจะดีทั้งคู่
เขียนมาจนคนอื่นอาจจะคิดว่า นิยายเรื่องนี้ ดีมาก เพราะเจ้าของบล็อก ซึ่งปกติจะหาข้อตำหนินิยายได้แทบทุกเรื่อง ยังไม่ติอะไรเลย 5555+
เรื่องนี้เหรอ ข้อติ มีเพียบเหมือนกัน ทั้งเรื่องลักษณะนิสัยของตัวละครหลายตัวที่ดูขึ้น ๆ ลง ๆ โดยเฉพาะพระเอกนี่แหละตัวดี เพราะภาคแรกกับภาคสมบูรณ์ (ภาค 2) ยังกับคนละคนกันไปเลย ทำให้เราชอบภาคแรก แต่เกลียดภาค 2 ชนิดที่ว่าซื้อมาไว้ อ่านรอบเดียวแล้วไม่ยอมอ่านอีกเลย การหลงลืมของผู้เขียนเหมือนกัน ทั้งเรื่องชื่อของตัวละคร ตัวอย่างเช่น มีบทหนึ่งเรียกชื่อแฟนของเพื่อนพระเอกชื่อหนึ่ง ผ่านมาอีกบทเรียกเป็นอีกชื่อหน้าตาเฉย ทั้งที่เพื่อนพระเอกยังไม่ได้เปลี่ยนแฟนสักหน่อย หลงลืมตัวละครด้วย กว่าตัวละครตัวนั้นจะโผล่กลับมาอีกที (ตอนคนเขียนนึกขึ้นได้) คนอ่านก็แทบลืมไปแล้วเหมือนกัน แล้วก็อย่าได้บวกลบปี พ.ศ. จริง ๆ กับอายุของตัวละครในเรื่องนะ เพราะอาจจะทำให้ท่านมึนได้
เรื่องพวกนี้เป็นสิ่งที่นักเขียนสมัยก่อนเป็นกันมาก อาจเป็นเพราะความเร่งรีบของต้นฉบับที่จะต้องส่งให้กับนิตยสาร เลยไม่มีการทบทวน ทำให้ “หลุด” คนอ่านนิตยสารก็คิดไม่ค่อยทันว่าแต่ละตอนมีอะไรที่หลุดไปบ้าง เพราะจะไม่ค่อยได้ย้อนกลับไปอ่านตอนเก่าเท่าไรนัก แต่ถ้ามาอ่านรวมเล่มนี่จะจับได้เพียบเลย
อย่างที่บอกไว้ในบล็อกก่อนว่า นิยายเรื่องนี้เป็น นิยายเรื่องแรก ๆ ที่เจ้าของบล็อกได้อ่าน ตอนสมัย ป. 4 มันเป็นนิยายที่เปิดโลกทัศน์ (แบบแปลก ๆ ) ให้เจ้าของบล็อกเป็นอย่างมาก ชนิดที่ว่าถ้าเป็นผู้ชายคงไปเรียน วนศาสตร์ไปแล้ว เป็นหนึ่งในเรื่องโปรดของเจ้าของบล็อก เป็นเรื่องที่น่าจะอ่านมากกว่า 10 รอบแล้ว แต่ตอนรีวิวครั้งนี้ไม่ได้กลับไปหยิบมาอ่านใหม่ เพราะหาเวลาว่างยากมาก ตั้งเกือบ 20 เล่ม อ่านไม่จบแน่ ใช้ความจำเอาล้วน ๆ
เรื่องนี้เป็นเรื่องฮิตมาก ทางเจ้าของเรื่องก็หวงสุด ๆ ไม่ยอมให้พิมพ์เป็นเล่มสักที แต่ลงในนิตยสารบางกอก/ทานตะวัน ไปหลายรอบมาก ยกเว้นตอนพิมพ์เป็นเล่มเล็ก ๆ ขนาดพ็อกเก็ตบุคส์แถมกับหนังสือทานตะวัน จนปี 2541 จึงยอมให้พิมพ์เฉพาะภาคแรกก่อน ส่วนภาคสมบูรณ์นั้นเพิ่งได้พิมพ์เมื่อปี 2546 หลังจากภาคแรกถึง 5 ปี
นิยายเรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครอยู่หลายต่อหลายครั้ง เท่าที่เคยได้ดู ก็เป็นตอนที่บิณฑ์แสดงเป็นเสือ กลิ่นสัก คู่กับ 2 นางเอก คือ ใหม่ สิริวิมล (เจริญปุระ) และ พัชราพรรณ โสภิตา และตอนที่เป็นละครที่สร้างโดยกันตนา (จำไม่ได้แล้วว่ามีใครแสดงบ้าง) อีกครั้งที่ค้นใบปิดเจอ เป็นการสร้างตั้งแต่สมัยเจ้าของบล็อกยังไม่เกิด คือ ปี 2507 นำแสดงโดยคู่ขวัญยอดนิยมในสมัยนั้น คือ มิตรและเพชรา
ร้อยป่าจัดเป็นนิยายบู๊ สู้ชีวิต ของลูกผู้ชาย เป็นนิยายที่ลงในบางกอกด้วย ซึ่งเป็นนิตยสารที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่อ่าน แต่เจ้าของบล็อกก็พบว่ามีผู้หญิงหลายคนเหมือนกันที่ได้อ่านเรื่องนี้ บางคนชอบมากจนเอาชื่อนางเอกของเรื่องไปตั้งเป็นชื่อลูกสาว
ผมก็อ่านจบเฉพาะภาคแรก ภาคสองอ่านไปได้หน่อยรู้สึกมันยังไงไม่รู้ ไม่สนุก เหมือนกันเรื่อง"เพชรพระอุมา" ภาคสองรู้สึกพระเอกจะกระเดียดไปทางพ่อมดหมอผี แถมอีโก้สูงเกิน เหมือนกับภาคแรกเป็นการแนะนำตัวเลยถล่มตัวหน่อย พอภาคสองคิดว่าตัวเองแน่แล้ว เลยยกหางตัวเองซะดื้อๆงั้นแหละ อ้อ มีเนื้อเพลงร้อยป่า มาฝากด้วย หาโหลดในยูทูปไม่มี ร้อยป่า สุเทพ วงศ์กำแหง ขับร้อง
ร้อยนารีในหล้า นำมาจะเลือกเธอนั้น... ซื่อตรงเหมือนจันทร์อันสกาว ดาวเฝ้ารักราตรี...(ดนตรี) ปลาซื่อต่อวารี ใจเสือที่มี รักสุดชีวีต่อไพรพนา
คิดถึงมิ่งมิตรขนิษฐา จะอยู่แห่งไหนแม้ในร้อยป่า ส่งใจรักหาชั่วนิจนิรันดร์
กลิ่นสักหอมรวยริน รักไอดินกลิ่นหญ้า รักพนาหมู่แมกไม้ ป่าดอยร้อยไพรร้อยใจผูกพัน ป่าคือสวรรค์วิมานเวียงวังแห่งตน
รักเธอเฝ้าเพ้อบ่น เจียมจนจากดอกฟ้า มอบกายไปร้อยป่า มอบใจรักมาให้เธอคนเดียว
เพลงร้อยป่า เป็นเพลงเอกของภาพยนตร์เรื่องร้อยป่า ประพันธ์โดยสองนักประพันธ์ อรชร และ พันธุ์ บางกอก เป็นนวนิยายเรื่องดังจากนิตยสารบางกอก ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ออกฉายครั้งแรกเมื่อ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๗ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา,เพชรา เชาวราษฎร์,ประจวบ ฤกษ์งามดี,รุจน์ รณภพ,อดุลย์ ดุลยรัตน์,วิไลวรรณ วัฒนพานิช,อนุชา รัตนมาลย์
เพลงนี้มีทั้งชื่อพระเอกและนางเอกครบเลยเชียวนะนี่ย
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1261 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 16:58:28 » |
|
มีแต่ตัวหนังสือ เดี๋ยวจะเครียดไป หนังผีเก่าๆส่วนมากจะประกอบเพลงของมัณฑนา โมรากุล อาจจะเนื่องจากเสียงเจ๊ท่านเยือกเย็น เหมาะกับบรรยากาศ ว่าจะหาเพลง"เด่นดวงดาว"ที่ใช้ประกอบเรื่อง"ภาพปั้นเป็นเหตุ" ก็หาไม่เจอ เลยเอาเพลงอืนมาแทน โดยเฉพาะเพลง"ดอกไม้ใกล้มือ"ความหมายดีมาก เจ๊ท่านร้องเพลงไปคิดไป จะอยู่รอให้เฉาเหมือนดอกไม้ไปทำไม ว่าแล้วก็ลาออกจากวงสุนทราภรณ์ไปแต่งงานคุณมัณฑนา โมรากุล เคยให้สัมภาษณ์ว่าท่านชอบเพลง “ดอกไม้ใกล้มือ”มาก และเป็นเพลงที่ทำให้ท่านตัดสินใจแต่งงาน โดยเฉพาะเนื้อร้องท่อนหนึ่งที่ว่า
“..........ทิ้งไว้หมองไหม้เสียเปล่า ขนปล่อยเจ้าผึ้งไม่เคล้าก็เฉาด้วยลม ทิ้งไยให้ตรมเหยื่อผึ้งเหยื่อลม ให้คนเขาชมดีกว่า”
คุณมัณฑนาบอกว่าโดนใจจริงๆ
เพลงนี้บันทึกแผ่นเสียงเมื่อ พ.ศ. 2493และขอแสดงความยินดีที่คุณมัณฑนา โมรากุล ได้รับการยกย่องให้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ” คนล่าสุดประจำ พ.ศ. 2552
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1262 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 17:11:54 » |
|
จัดให้อีก2เพลง เพลง"ผู้แพ้รัก"นี่เพลงโปรดผม ส่วนเพลง"อาลัยลา"เป็นเพลงระลึกถึงบรรยากาศสมัยตะลอนๆไปตามสำนัก"โพธิ์"ต่างๆ
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1263 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 23:28:22 » |
|
ขอบคุณท่านจุ๊ง ที่เอาเรื่องราวของนายเสือ กลิ่นสัก มาเล่าให้ฟัง
บางเรื่องก็จำไม่ได้แล้ว.....
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1264 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554, 23:31:58 » |
|
♫♫♫ ดึกแล้วคุณขา หมดเวลา ขอลาไปก่อน ♫ ♫ ♫ ......... เฮ้อ อดีต.
|
|
|
|
too_ploenpit
|
|
« ตอบ #1265 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 08:42:01 » |
|
...สวัสดีค่ะ...น้องแหลม, น้องจุ๊ง และน้องๆ... ...เพิ่งจะรู้เนี่ยแหล่ะค่ะว่า...อินทรีย์แดง...ก็มีหลายตอนด้วย... ...ตอน...มิตร ชัยบัญชา...เสียชีวิต...พี่ตู่ก็เศร้าไปหลายวันค่ะ...สงสาร... ...เป็นการตายที่ไม่น่าตายค่ะ... ...เรื่อง...ร้อยป่า...เป็นหนังสมัยพี่ตู่เรียน ม.ศ.ต้นค่ะ... ...ตอนนั้นอยู่ที่โคราช...คุณพ่อทำงานอยู่กองบินน้อยที่ 3... ...ที่หอประชุมก็จะเอาหนังมาฉายอาทิตย์ละครั้งค่ะ...ค่าดูไม่เกิน 3 บาทค่ะ... ...พี่ตู่จำไม่ได้...มันมี 2 ราคาค่ะ...ชั้นล่างกับชั้นบน...ชั้นล่างแพงกว่าชั้นบน... ...ก๋วยเตี๋ยวชามละ 1 บาทค่ะ... ...พี่ตู่ชวนเพื่อนข้างบ้านไปดูค่ะ...แต่ผู้ปกครองเค้าไม่ให้ไป... ...บอกว่าป่าหน้าบ้านน่ะเยอะแยะ...ดูเข้าไปสิ...อิอิ... ...และแถวหน้าบ้านพี่ตู่ก็เป็นป่าจริงๆค่ะ...แต่มันอยู่ในเขตทหารไม่น่ากลัว... ...เป็นป่าโปร่งๆยังเคยไปเดินเล่นเลย...แต่ก็เสียวงูกัดเหมือนกัน... ...ตกลงหนังเรื่องร้อยป่าก็ไม่ได้ดูค่ะ...
|
i love pink, you are pink = i love you
|
|
|
too_ploenpit
|
|
« ตอบ #1266 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 08:43:55 » |
|
...ฟังเพลงแล้วนะคะ...เพราะค่ะ... ...เป็นเพลงสมัยที่พี่ตู่เป็นเด็กๆโดยแท้ค่ะ...
|
i love pink, you are pink = i love you
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1267 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 09:22:41 » |
|
สวัสดีวันอาทิตย์ครับพี่ๆน้องๆทุกท่าน ผมเจอแล้ว คลิปหนัเรื่อง"จอมโจรแฟนโทมัส" และ "หลุยส์ เดอฟูเน่"ไม่ทรายใครประทับใจเรื่องนี้บ้าง
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1268 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 10:23:56 » |
|
สวัสดีครับพี่ตู่ ผมดีใจครับที่พี่ตู่ชอบเพลงที่ผมจัดให้ เลยขอจัดเพลงที่ผมชอบให้อีก เพลงนี้ชื่อ"วังบัวบาน" มีคนเขาเล่าในเว็บคนรักสุนทราภรณ์ว่าเพลงนี้แต่งมาจากเรื่องจริงวังบัวบาน
คำร้อง สนิท ศ. ทำนอง อรุณ หงสวีณะ ร้อนลมหน้าแล้ง ใบไม้แห้งร่วงลอย หล่นทะยอยเกลื่อนตา ไหลตามกระแสน้ำพา ลอยมาทั้งกลีบดอกไม้
จากหุบผาไหลมาสู่ในวังน้ำ สุสานเทวีผู้มีความช้ำเหนือใคร ดอกไม้ใบไม้ไหลมา คล้ายพวงหรีดร้อยมาลา ไหลมาบูชาบัวบาน
น้ำวังนี่หนอเป็นที่ก่อเหตุการณ์ ที่บัวบานฝังกาย ยึดเอาเป็นหอเรือนตาย รองกายไว้ด้วยแผ่นน้ำ
จากหุบเขาแนวไพรสู่ในเวียงฟ้า ฝากไว้เพียงชื่อเลื่องลือเนิ่นช้าฝังจำ ฝากคำสัตย์นำนึกตรอง หลงทางสุดหวังคืนครอง หลงตัวจำต้องลาระทม
เอาวังน้ำไหลเย็น นี่หรือมาเป็นเมรุทอง เอาน้ำตกก้องเป็นกลองประโคม เอาเสียงจักจั่นลั่นร้องระงม เป็นเสียงประโคมร้องต่างแตรสังข์
เพดานนั้นเอาเมฆฟ้า ภูผานั้นต่างม่านบัง ประทีปแสงจันทร์ใสสว่าง อยู่เดียวท่ามกลางดงดอน เพลงจากภาพยนตร์เรื่อง ร่มฟ้าเวียงพิงค์ บันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2494 โดย มัณฑนา โมรากุล เพลงนี้เมือคุณพี่รวงทองนำมาร้องอัดแผ่นสำหรับภาพยนต์เรื่อง สันกำแพง คุณครูสนิท ศ.ได้แต่งเนื้อร้องเพิ่มขึ้นอีกท่อนหนึ่งซึ่งไม่ปรากฎอยู่ในที่นี้ เพลง วังบัวบาน นี้ ที่จริงแล้ว ผู้บันทึกเสียงต้องเป็น คุณทัศนัย ชอุ่มงาม เพราะเธอร้องเพลงนี้เป็นคนแรก และได้ร้องเพลงนี้เรื่อยมา แต่ในวันอัดแผ่นเสียง คุณทัศนัย ต้องเดินทางไปเชียงใหม่ เพลงวังบัวบาน จึงต้องให้คุณมัณฑนาเป็นผู้ขับร้อง ครับ และเพลงนี้ก็สร้างชื่อเสียงให้คุณมัณฑนามากมาย ในอดีตเพลงนี้ร้องกันเนื้อเต็มครับ แต่ด้วยข้อจำกัดของการอัดแผ่นเสียงทำให้ไม่สามารถบรรจุเนื้อลงไปได้หมด จึงเหลือเพียงที่เราฟังกันทุกวันนี้แหละครับ ปัจจุบันเพลงนี้ยังร้องบรรเลงเนื้อเต็มอยู่ครับ หาฟังได้ที่วงต้นตำรับของเพลงนี้ คือ จารุกนกครับ "วังบัวบาน" เป็นชื่อวังน้ำที่อยู่เบื้องล่างชะง่อนผาสูงบริเวณเหนือน้ำตกห้วยแก้ว ซึ่งอยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วังน้ำนี้เดิมเรียกว่า "วังคูลวา" หรือ "วังกุลา" ด้วยมีเรื่องเล่ามาก่อนว่ามี "คูลวา-กุลา" ซึ่งหมายถึงแขกคนหนึ่งพลัดตกลงไปตายในวังน้ำแห่งนี้ คำว่า "คูลวา-กุลา" ในภาษาล้านนา หมายถึง แขกหรือฝรั่งชาวต่างชาติ ซึ่งถือว่าไม่เป็นที่พึงต้อนรับ วังน้ำที่เกิดเหตุจึงได้ชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ นักเขียนสารคดีเชิงบันทึกเหตุการณ์กล่าวไว้ว่ามีการเปลี่ยนชื่อเป็น "วังบัวบาน" เมื่อ พ.ศ. 2487 โดยเหตุที่มีหญิงชื่อ "บัวบาน" ตกลงไปตายในน้ำวังอีก วังน้ำอาถรรพณ์จึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อว่า "วังบัวบาน"
เรื่องราวการตายของบัวบานมีการโจษจันกันอยู่สองกระแส บ้างเชื่อว่าเป็นการฆ่าตัวตาย บ้างว่าเป็นเพราะหญิงคนงามดังกล่าว พลัดตกโดยอุบัติเหตุ แต่ก็มีสาเหตุมาจากเรื่องชู้สาว
จากการให้สัมภาษณ์ของนายศิริพงษ์ ศรีโกศัย (นักจัดรายการวิทยุ ที่ใช้นามแฝงว่า "ย่าบุญ") เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2540 เล่าว่าที่ตั้งบ้านของบัวบาน ปัจจุบันอยู่ฟากถนนตรงกันข้ามกับอาคารอำนวยการหลังเก่าของโรงเรียนปรินส์รอยแยลล์วิทยาลัย เชียงใหม่ มีอาชีพเป็นครูสอนในโรงเรียนดาราวิทยาลัย โรงเรียนซินเซิง โรงเรียนฮั่วเคี้ยว และโรงเรียนฮั่วเอง ครูบัวบานมีคนรักเป็นนายทหารรักษาพระองค์ ต่อมาถูกนายทหารดังกล่าวสลัดรัก บัวบานจึงเสียใจมาก และได้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย โดยการกระโดดลงไปในวังน้ำแห่งนั้น
ส่วนเจ้าบุญศรี ณ เชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์เมื่อ 13 ตุลาคม 2541 ว่า ครูบัวบานมีสถานที่อยู่ตรงกันกับที่กล่าวมาแล้ว แต่ให้ข้อมูลเพิ่มว่า ครูบัวบานเป็นคนสวยจนเป็นที่เล่าลือกันทั่วไป ในช่วงที่เกิดเหตุนั้นอยู่ในช่วงระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 - 2488) ครูบัวบานคนสวยเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนั้นได้มีทหารหน่วยราบจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาตั้งอยู่ที่วัดฟ้าฮ่ามด้วย นายร้อยตรีหนุ่มรูปงามในกองทหารนั้น ได้พบกับครูบัวบานคนสวยบ่อยครั้งเข้า ก็สนิทสนมแล้วกลายเป็นคู่รักและได้เสียกันขึ้น ต่อมานายร้อยผู้นั้นกลับลงไปกรุงเทพฯ ตามคำสั่ง พร้อมกับคำสัญญาว่าจะขึ้นมาแต่งงานกับครูบัวบานคนงาม แต่คำสัญญานั้นลงท้ายก็กลายเป็นคำลวง เพราะนายร้อยตรีนั้นมีภรรยาอยู่แล้ว ครูบัวบานรออยู่นานจนผิดสังเกต และเห็นว่าครรภ์โตมากขึ้น เมื่อแน่ใจว่าตนถูกหลอกแน่แล้ว จึงตัดสินใจไปกระโดดน้ำตาย
ในบทความ ชื่อ "วังบัวบาน" ของสมาน ไชยวัณณ์ ตีพิมพ์ในวารสาร "คนเมือง ฉบับหัวดำ" ต้อนรับสงกรานต์ 2511 กล่าวว่า ครูบัวบานตายเพราะอุบัติเหตุ โดยอ้างเอาคำสารภาพก่อนตายของอดีตครูประชาบาลคนหนึ่งซึ่งเป็นคนรักของครูบัวบาน ผู้เขียนบทความกล่าวว่าตนรู้จักกับครูบัวบานเป็นอย่างดี และตนมีอายุอ่อนกว่าครูบัวบาน 8-9 ปี ครู่บัวบานเป็นสมาชิกของตระกูลและครอบครัวของผู้มีชื่อเสียงดี ฐานะดี จบการศึกษาจากโรงเรียนฝรั่งที่มีชื่อในเชียงใหม่ แล้วได้เป็นครูสอนที่โรงเรียนนั้น และครูบัวบานมีความสัมพันธ์ฉันคนรักกับครูประชาบาลคนหนึ่ง ผู้เขียนบทความเล่าว่า ในขณะที่อดีตครูประชาบาลคนรักเก่าของครูบัวบานป่วยหนักอยู่ในบางกลางเมืองเชียงใหม่ วันหนึ่งได้ออกปากเล่าแก่ภรรยา บุตร และญาติสนิทว่า ตนเคยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับครูบัวบาน ทั้ง ๆ ที่ตนก็มีภรรยาอยู่แล้ว เมื่อครูบัวบานตั้งท้องแล้วก็ได้นัดครูประชาบาลคนรักไปตกลงกันในที่ปลอดคนแห่งหนึ่งบนห้วยแก้ว ครูบัวบานขอให้จัดแต่งงานเสีย เพื่อมิให้เป็นที่ละอายแก่ชาวบ้านและเพื่อเห็นแก่ทารกในครรภ์ หลังจากที่ต่างก็ให้เหตุผลกันเป็นเวลานาน ครูประชาบาลก็สรุปว่าตนยังไม่อาจด่วนทำอะไรลงไปได้ เพราะมีลูกเมียอยู่แล้ว ครูบัวบานไม่อาจทนฟังต่อไปได้ จึงผละจากแล้ววิ่งหนีไปโดยไม่ใส่ใจระมัดระวังในเส้นทาง และได้พลาดตกจากหน้าผาสู่ "วังคูลวา-กุลา" และเสียชีวิตโดยไม่อาจช่วยได้ทัน ครูประชาบาลคนนั้นเสียใจเป็นที่สุด ด้วยความตกใจและกลัวโทษ ก็ได้แต่แอบซ่อนตัวกลับลงมาจากห้วยแก้วและไม่ยอมปริปากให้ผู้ใดได้ล่วงรู้ เมื่อมีคนไปพบศพครูบัวบานแล้ว เรื่องหญิงงามที่ตายในวังน้ำก็ได้กลายเป็นหัวข้อที่กล่าวขานกันทั่วเมือง ผู้เขียนบทความกล่าวว่า ด้วยผลกรรมที่ทำให้ครูบัวบานต้องตายนั้น ครั้งหนึ่งได้เกิดพายุใหญ่ในเมืองเชียงใหม่ แรงพายุได้โหมกระหน่ำทำให้มะพร้าวต้นหนึ่งล้มฟาดลงมาทับหลังของครูประชาบาลผู้นั้นจนหลังหักและกลายเป็นอัมพาต เขาจึงลาออกจากราชการมาอยู่กับครอบครัว และยังชีพอยู่ได้ด้วยเงินบำนาญ จนเมื่อล้มป่วยหนักจึงได้ปริปากบอกเรื่องของตนกับครูบัวบาน พร้อมกับย้ำว่าครูบัวบานตายเพราะอุบัติเหตุ มิได้ตั้งใจจะฆ่าตัวตาย
จากการศึกษาของ สุธาทิพย์ สว่างผล ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาภาษาและวรรณกรรมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2531 กล่าวว่า ในหนังสือ นิทานพื้นบ้านไทย ของวสันต์ ปัณฑวงศ์ พ.ศ. 2522 กล่าวถึงเรื่องของครูบัวบานในแง่ที่ผิดแผกออกไป โดยกล่าวว่า มีปลัดอำเภอหนุ่มรักกับลูกสาวคหบดีชื่อบัวบาน และได้หมั้นหมายกันไว้โดยที่ไม่มีผู้ใดขัดข้อง แต่อุปสรรคที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะปลัดอำเภอเป็นทาสการพนันทุกชนิด ทำให้เกิดหนี้สินจนต้องยักยอกเงินของทางราชการไปใช้หนี้และเล่นการพนันด้วย ต่อมาได้ขอเงินจากบัวบานว่าจะไปใช้หนี้ราชการ แต่กลับนำไปเล่นการพนันอีกจนหมด จากนั้น ปลัดอำเภอหนุ่มได้นัดบัวบานไปสารภาพผิดที่หน้าผา แต่ทั้งคู่กับทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนบัวบานทนไม่ได้จึงกระโดดหน้าผาตาย ส่วนปลัดอำเภอหนุ่มทาสการพนันนั้น ไม่มีการกล่าวถึงอีกว่า ได้โดดหน้าผาตามหรือไม่ และเรื่องของครูบัวบานนี้ สุธาทิพย์ สว่างผล ได้ไปสัมภาษณ์คนที่สนิทกับครอบครัวของครูบัวบานผู้หนึ่งชื่อ นางอรุณ หมู่ละสุคนธ์ 130 ถนนแก้วนวรัฐ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2531 ซึ่งได้ความว่าบัวบานและหนุ่มชาวภาคกลางได้รักกันโดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง และบัวบานได้ตายเพียงผู้เดียว เมื่อบัวบานตายแล้วชายหนุ่มก็หายหน้าไป ญาติของบัวบานต่างคิดว่าเป็นการฆาตกรรม แต่ผู้เล่าเห็นว่าน่าจะเป็นอุบัติเหตุ หรือบัวบานอาจกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายก็ได้ จากความตายอย่างน่าสะเทือนใจของครูสาวคนงามทำให้มีผู้โจษจันกันอย่างกว้างขวาง ในครั้งนั้น กล่าวกันว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอยู่ที่วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ อำเภอสารถี จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเรื่องนี้มาแต่งเป็นคำกลอนตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ภิกษุรูปนั้นว่ากันว่าใช้นามปากกาว่า "เลิศ ลานนา" ซึ่งก็ว่าเป็นนามปากกาของนักเขียนสารคดีคนสำคัญของเชียงใหม่ชื่อ บุญเลิศ พิงค์พราวดี (บ้างก็ว่าภิกษุที่แต่งกลอนนั้นเป็นพระอยู่ที่วัดดอยสุเทพ) และว่าต่อกันมา "สนิท ส." (สนิท สิริวิสูตร) ผู้เป็นนักแต่งเพลง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่เชียงใหม่ก็ได้นำบทกลอนดังกล่าวนั้นมาปรับปรุงขึ้นอีก แล้วแต่งเป็นเพลงชื่อ "วังบัวบาน" โดยมี อรุณ หงสวีณะ เป็นผู้แต่งทำทำนอง และมัณฑนา โมรากุล เป็นผู้ขับร้องบันทึกแผ่นเสียง
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1269 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 11:06:40 » |
|
วันนี้วันอาทิตย์ เลยขอจัดเพลงนำเที่ยวทั่วไทยของวงสุนทราภรณ์
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1270 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 11:54:12 » |
|
เพลง"ลาแล้วจามจุรี" เป็นเพลงที่ผมชอบมาก สมัยเรียนยามว่าง(หลังจากเพื่อนๆจบกันแล้ว เหลือแต่รุ่นน้องตาดำๆ)ไม่รู้จะทำอะไร ก็เป่าขลุ่ยด้วยเพลงนี้ และเป็นเพลงที่ทำให้ผมชอบเสียงของมัณฑนา โมรากุล เลยเอามาฝาก แถมด้วยเกร็ดจากเว็บสุนทราภรณ์ เพลงจุฬาฯนี่ผมหาฉบับสุนทราภรณ์ของแท้และดั้งเดิมมานานแล้ว เพราะเป็นเพลงที่ประทับใจและได้ยินจนติดหูสมัยเรียน แต่หาได้กระปริดกระปรอยมาก ท่าจะต้องไปซื้อซีดีของแท้มาฟังแล้วล่ะมั้งเกร็ดเพลง © ในช่วงปี พ.ศ. 2483 ครูเอื้อนำวงดนตรีมาบรรเลงเป็นประจำทุกปีในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ของมหา วิทยาลัย และในช่วงนั้น เองเป็นช่วง ที่นิสิต ที่ครูเอื้อ และครูแก้วสนิทสนมด้วยถูกรีไทร์จากคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จึงได้ร่วมกัน แต่งเพลงนี้ ขึ้นแสดงในรายการ ณ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย โดยวงสุนทราภรณ์ เพื่อเป็นการอำลาอาลัยจากสถาบัน ที่รักแห่งนี้
© ฟังแล้วน้ำตาซึมทุกครั้ง โดยเฉพาะจากต้นฉบับที่คุณมัณฑนาร้อง
© ชาวจุฬาสมัยก่อน รุ่น 40 กว่าปีที่แล้ว จะไม่มีใครกล้าร้องเพลงนี้ จนกว่าจะได้รับปริญญาแน่นอน สมัยนั้น วงสุนทราภรณ์ จะบรรเลงเพลงนี้ ตอน 2 ยามพอดี ของวันงานฉลองปริญญา ทุกๆคน จะช่วยกันร้องเต็มเสียง ทั้งน้ำตา นึกถึงแล้ว น้ำตาจะไหลออกมาให้ได้ © ทุกคำทุกประโยคแต่งไว้อย่างประณีต "--เสียดายที่จากไป"นี่เมื่อได้อ่านประวัติเพลงนี้ถึงรู้ความหมาย และทุกคำต่อมาล้วนกินใจจนสุดท้าย"ถึงตัวจะจากไป สัมพันธ์ทางจิตใจจะไกลหรือใกล้ใจอยู่ด้วยเอย"----
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1271 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 12:16:59 » |
|
สวัสดียามเที่ยงครับ...... พี่ตู่..ท่านจุ๊ง และพี่น้องทุกท่าน
เพลง "ลาแล้วจามจุรี" ....... สุดยอด.
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #1272 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 12:31:16 » |
|
คุณพ่อพี่ตู่เป็นทหารอากาศหรือครับ?
พี่ตู่พูดถึงก๋วยเตี๋ยวชามละ 1 บาท....... ผมคิดถึงก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 สตางค์ สมัยเรียนป.4 เลยครับ...... ประมาณ 40 ปีที่แล้ว.
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1273 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 12:56:41 » |
|
พูดถึงก๋วยเตี๋ยวชามล่ะ 50 สตางค์ แถวบ้านผมตอนนั้นหาไม่ได้แล้วล่ะ มีก็แต่อาหารสำเร็จรูปตอนเช้า ขายใส่ห่อกลับไปบ้านกินพอหาได้บ้าง ก๋วยเตี๋ยวชามล่ะบาทพอหากินได้ แต่ต้องเป็นขนาดลดออพชั่นเป็นพิเศษ แต่ผัดไทยขายชามละบาท ใส่ไข่สองบาท เอาไข่ไปด้วย เติมลงไปผัดฟรี เฮ่อ นึกถึงข้าวเหนียวสังขยา หน้ากุ้ง หน้าแกง แต่ที่สำคัญหมี่แกงเนี่ยชอบมาก ข้าวยำก็ไม่ได้กินมานานแล้ว นึกถึงไปตลาดสมัยก่อน คนขายกินหมากเพียบ เดี๋ยวนี้คนไทยคงบอกศาลากันหมากกันไปหมดแล้วมั้ง อืม ตอนเข้าจุฬาใหม่ๆ ข้าวร้านป้าโชยจานละ3บาท อยู่มาได้ประมาณครึ่งปี ขึ้นราคาเป็น4บาทหรือ5บาทนี่แหละ ตอนนั้นบ่นกันอุบ พี่หนุนไม่รู้มีเอี่ยวกับร้านป้าโชยหรือเปล่า ช่วยงานร้านป้าโชยตัวเป็นเกลียว
|
|
|
|
too_ploenpit
|
|
« ตอบ #1274 เมื่อ: 27 มีนาคม 2554, 17:27:15 » |
|
...ใช่ค่ะ...คุณพ่อพี่เป็นทหารอากาศ...ตอนเล็กๆพี่ตู่อยู่ดอนเมืองค่ะ...เรียน ป.1-6 ที่...ฤทธิยะวรรณาลัย...ดอนเมือง... ...ย้ายโรงเรียนบ่อยค่ะ...ป.7 เรียนที่...ทหารอากาศบำรุง...อยู่ในโรงเรียนการบิน...นครราชสีมาค่ะ... ...ม.ศ.1-3 เรียนที่สุรนารีวิทยา...นครราชสีมา...พอ ม.ศ.4-5 ย้ายมาเรียนที่พระปฐมวิทยาลัย...นครปฐม...ค่ะ... ...ตอนที่อยู่หอ...ข้าวราดแกงยังจานละ 2 บาทอยู่เลยค่ะ... ...ค่ารถเมล์ 50 ตังค์ค่ะ...ถ้าแต่งนิสิตสลึงนึง...ขึ้นเวลาสายค่ะเดี๋ยวเข้าเล็คเชอร์ไม่ทัน... ...ขากลับก็นั่งเบอร์21แล้วมาลงหน้าหอค่ะ... ...เพลงลาแล้วจามจุรี...พี่ตู่ก็ยังเอามาร้องเวลามีงานที่นี่ค่ะ... ...คืนก่อนช่องหอยม่วงก็มีรายการของสุนทราภรณ์ค่ะ...แต่ไม่รู้วันไหน...จะมาประมาณเกือบตี 2 ค่ะ... ...มีนักร้องสุนทราภรณ์เก่าๆ...มัณฑณา โมรากุล...ก็มาค่ะ...ถ้ามีเพลงชอบๆ...ตี2พี่ตู่ก็ฟังค่ะ...
|
i love pink, you are pink = i love you
|
|
|
|