24 เมษายน 2567, 06:03:17
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 65 66 [67] 68 69 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3235916 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1650 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 13:43:13 »


สรุปความประทับใจตามรอยบาทพระศาสดาคือ
1.ลุมพินีวัน สถานที่ประสูตรมีเสาจารึกของพระเจ้าอโศก
2.พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ ภายในมีพระพุทธเมตตาปางมารวิชัย ด้านหลังรัตนบัลลังใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
3.พาราณสี สถานที่ปฐมเทศนา สักการะธัมเมกขสถูป ได้เห็นพิธีล้างบาปชาวฮินดู สักการะธัมฆราชิกสถูปณ.ป่าอิสิปตน
  4ราชคฤห์ สถานทีแสดงโอวาปาฎิโกในพระเวฬุวันวิหาร สักการะที่ประทับพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฎ  ถ้ำของพระสาริบุตร
    กรุงเวสาลี สักการะ สถูปกุฎาคารที่ป่ามหาวัน ปาวาลเจดีย์ที่บรรจุบรมสารีริกธาตุ
   5สาวัตถี  สักการะวัดพระเชตุวันวิหาร
6.กุสินารา สถานที่ดับขันธปรินิพพาน  สักการมหาปรินิพพานสถูป  สักการะมกุฏพันธนเจดีย์สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า


      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1651 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 13:48:18 »


สำหรับการต่อสู้เพื่อศาสนานั้นพระครูปลัดสุวัฒโพธิคุณได้สร้างเกียรติคุณที่ยิ่งใหญ่ดังนี้
1.เป็นประธานสร้างวัดไทยในอินเดียถึง2แห่งคือที่พุทธคยาและที่สาวัตถีโดยการสร้างศรัทธาในหมู่ชาวพุทธด้วยการนำไปสักการะและเชิญชวนชาวพุทธที่ศัทธาร่วมบริจากโดยมิต้องอาศัยเงินของหน่วยงานใดๆ
2.ต่อสู้กับชาวพื้นเมืองที่มีกลวิธีสารพัดจนได้มาซึ่งสถานที่ก่อสร้างวัด
3.ต่อสู้กับคณะสงค์ที่ไม่เห็นด้วยกับการขอบริจากเพื่อนำเงินมาสร้างวัด แต่ผลที่สุดคณะกรรมการชั้นผู้ใหญ่เห็นผลงาน  จึงยอมเลื่อนสมนศักดิ์ให้เป็นพระครู
สนใจสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์081 942 7076 , 089 816 4887
      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1652 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 13:54:37 »


นี่คือภาพพระพุทธเมตตาปางมารวิชัยภายในมหาสถูปพุทธคยา มีเหรียญลอกเก็ตประดับพรอยที่คนไปอินเดียนิยมนำมาเป็นที่ระลึก
กุศลขอจบคำบรรยายลงเพียงแค่นี้ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1653 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 15:26:53 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 17 มีนาคม 2554, 13:25:46
...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...
...พวกที่ใส่ชุดขาวๆ...เค้าถือศีลแปดกันเหรอคะ...


สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
                  คนที่ถือศิลแปดตลอดการจาริกแสวงบุญครั้งนี้ มีพี่สิงห์กับสุภาพสตรีอีกหนึ่งท่านเท่านั้น และมีคุณยายอีกสองท่านถือศิลแปดเฉพาะวันมาฆะบูชาเท่านั้น นอกนั้นทั้งหมด อย่าง ดร.กุศล และผู้ที่แต่งชุดขาว ไม่ได้ถือศิลแปดอะไรทั้งสิ้น แต่งชุดขาวเพื่อให้เข้ากับสถานที่ ค่ะ
                   สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1654 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 15:52:50 »

ประวัติหลวงพ่อพระพุทธเมตตา อินเดีย



***
   หลวงพ่อพระพุทธเมตตา ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน ประดิษฐานภายในเจดีย์พุทธคยา ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๔๗ เซนติเมตร สูง ๑๖๕ เซ็นติเมตร สร้างด้วยเนื้อหินทราย สมัยปาละ มีอายุประมาณ ๑๔๐๐ ปี ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ซึ่งได้รอดพ้นจากการถูกทำลายได้
                 ในศตวรรตที่ ๑๓ มีกษัตริย์ฮินดูนามว่าพระเจ้าสาสังกา ของรัฐเบงกอล ที่ไม่ต้องการที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นมคธ ซึ่งมีพระเจ้าปุรณวรมา เป็นผู้ปกครองในสมัยนั้น ต้องการประกาศตนเป็นอิสระ จึงได้กรีฑาทัพมาทำลายจุดศูนย์กลางของแคว้นมคธ คือบริเวณดินแดนแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ทันที ด้วยหมายจะทำลายขวัญของกษัตริย์และประชาชนเสียก่อน แล้วจึงค่อยยกทัพไปตีเมืองหลวงในขั้นต่อไป เพราะบริเวณพุทธคยานี้มีต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระพุทธเมตตาเป็นหัวใจสำคัญที่ชาวพุทธให้ความเคารพนับถือกราบไหว้บูชากันมาก ทำให้การขยายตัวทางพระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
                เมื่อกษัตริย์ชาวฮินดูได้เข้ายึดบริเวณพุทธคยาแล้วได้รับสั่งให้ทหารเริ่มระร้านกิ่งก้านสาขาต้นพระศรีมหาโพธิ์และตัดรากจนหมดสิ้น แม้แต่รากต้นพระศรีมหาโพธิ์จะเลื้อยชอนไชไปในทิศทางใดก็สั่งให้ทหารขุดรากออกให้หมด จากนั้นก็สั่งให้ฟางอ้อยต่างเชื้อเพลิงวางสุ่มที่ตอแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้วลาดน้ำมันจุดไฟเผา ด้วยประสงค์จะมิให้หน่อแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้มีโอกาสงอกขึ้นมาเลย
                 จากนั้นรับสั่งให้ทหารเข้าไปในพระมหาวิหารแล้วสั่งให้เสนาบดีนำพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อหินทราย ออกไปจากมหาวิหาร แต่เผอิญเสนาบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าคิดว่า ถ้ามาตรแม้นว่าเราจะนำพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปเสียจากวิหารแล้วไซร์ ก็เกรงกลัวว่าจะเกิดไม่ทันศาสนาพระศรีอาริย์ แต่ถ้าเราไม่นำออกไปตามพระบัญชา เราก็จะต้องถูกประหารชีวิตโดยไม่ต้องสงสัย ทันใดนั้น ความคิดอย่างหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นมา แล้วกราบทูลแต่พระราชาว่า พระพุทธรูปองค์นี้ใหญ่โตมากยากที่จะนำออกไปในวันนี้ได้ ข้าพระองค์ใคร่ขอโอกาสสัก ๗ วัน เพื่อหาทางนำพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปจากพระวิหารให้จงได้ พระเจ้าสาสังกาจึงตกลงพระทัยยอมให้ปฏิบัติตามคำขอร้องของเสนาบดี
                 ฝ่ายเสนาบดี ครั้นให้คำมั่นสัญญาเรียบร้อยแล้ว จึงได้เริ่มแผนการตามที่ตนคิดไว้ในใจ โดยใช้แผ่นอิฐมากก่อเป็นกำแพงกำบังพระพุทธรูปไว้อย่างมิดชิด พร้อมกับตั้งประทีปโคมไฟบูชาไว้ภายในกำแพงที่กั้นปิดไว้
ครั้นครบ ๗ วันจึงกราบทูลพระราชาว่า บัดนี้เกล้ากระหม่อมฉันได้จัดการนำพระพุทธรูปออกไปจากพระมหาวิหารแล้ว พระเจ้าสาสังกา พอได้สดับคำเช่นนั้น แทนที่พระองค์จะยินดีปรีดาเพราะความปรารถนาของพระองค์สำเร็จแล้ว แต่พระองค์กลับทรงเสียพระทัยถึงกับมีพระโลหิตออกจากปากและจมูก แล้วล้มลงต่อหน้าหมู่ทหารและสวรรคต ณ ที่นั้นเอง
                  ในขณะที่กองทัพพระเจ้าสาสังการอทัพอยู่ ณ พุทธคยานั้นนั่นเอง กษัตริย์ชาวมคธคือพระเจ้าปุรณวรมา ได้เสด็จยกทัพมาถึงพอดี ฝ่ายพวกกองทัพของพระเจ้าสาสังกาซึ่งต่างอกสั่นขวัญหนีอยู่ก่อนแล้วก็ยิ่งเสียขวัญ ต่างแยกย้ายหนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทาง จากนั้นพระเจ้าปุรณวรมาก็ได้แกะแผ่นอิฐออก
                   ปัจจุบันพระพุทธเมตตา ซึ่งเป็นพระประธานในพระเจดีย์พุทธคยาที่อยู่คู่กันกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีพระพักตร์ที่เปี่ยมด้วยความเมตตาเสมือนหนึ่งเป็นตัวเเทนแห่งการระลึกถึงพระเมตตาคุณของพระพุทธองค์ ที่เมื่อทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เมตตาโปรดสั่งสอนไวนัยสัตว์ทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้ได้รู้ตามคำสั่งสอนของพระองค์ ซึ่งได้ผ่านกาลเวลามายาวนาน จนเป็นหนึ่งในจุดหมายของการเดินทางจาริกธรรมแสวงบุญของพุทธศาสนิกชนทุกสารทิศ จากทุกนิกาย หลากหลายวิถีปฏิบัติ ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ทั่วโลก ซึ่งต่างมุ่งเดินทางสู่พุทธคยา เพื่อจักได้เจริญจิตภาวนา สวดมนต์ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันเป็นการบูชาสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา
 
                                                                        คำบูชาหลวงพุทธเมตตา อินเดีย
                                                                                  (ตั้งนะโม ๓ จบ)
                                                         นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ
                                                                                         ***
                  วันทามิ อิมัง พุทธะเมตตาปะฏิมัง อิมังสะมิง คะยาสีสา ปูชาระเห สักการะภูเต เจติยัง สุปะติฏฐิตัง ฯ อิมินา ปะนะ วันทะมาเนนะ มา มา ทะลิททิยัง อาหุ ฯ               พะหุชะนานัง ปิโย โหมิ มะนาโป สาธุ โน ภันเต อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ ฯ
คำแปล ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ พระพุทธเมตตาปฏิมานี้ซึ่งประดิษฐานตั้งมั่นดีแล้ว ในองค์พระเจดีย์ที่คยาสีสะประเทศนี้ อันเป็นสถานที่ควรแก่เครื่องบูชาสักการะ ฯ ด้วยการกราบไหว้นี้ ขอความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย ขอให้ข้าพเจ้าเป็นทีรัก เป็นที่พอใจของคนทั่วไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอบูชาโดยยิ่งด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ฯ
ตั้งจิตอธิษฐานสงบนิ่ง ๑ นาที ทุกอย่างจะโล่งสว่าง บริสุทธิ์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1655 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 15:58:53 »

ประวัติพระปางปฐมเทศนา สารนาถ


 
****

   พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา เป็นศิลปะยุคคุปตะที่สง่างามที่สุดในโลก สร้างด้วยหินทรายแดง ประมาณปี พ.ศ. ๘๕๐-๑๑๕๐ มีพระพักตร์แย้ม พระหัตถ์อยู่ในท่าแสดงธรรม ในแวดวงพุทธศิลป์ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามที่สุด สร้างโดยพระนางกุมารเทวี พระชายาของพระเจ้าโควินทจันทา กษัตริย์ผู้ครองนครกาโนช (เมืองลักเนาว์ ในปัจจุบัน) เคยนำไปประกวดพระพุทธรูปครั้งใด ได้ชนะเลิศทุกครั้ง

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1656 เมื่อ: 17 มีนาคม 2554, 16:11:30 »

ประวัติหลวงพ่อองค์ดำ นาลันทา อินเดีย





***

   หลวงพ่อองค์ดำ  เป็นหลวงพ่อที่ศักดิ์สิทธิ์  พระเกตุทรงบัวตูม ปางนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ชี้แม่พระธรณีเป็นพยาน ตามที่คนไทยนิยมเรียกว่า “ปางมารวิชัย” เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลัก จากหินสีดำ  หน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้วฟุต สูงนับจากพระเพลาถึงยอดพระเกตุ ๖๙ นิ้วฟุต เป็นพระพุทธรูปที่มีความสมบูรณ์ที่สุด พระนาสิกวิ่นและนิ้วพระหัตถ์บิ่นเล็กน้อย ซึ่งมีอายุ  ๑,๐๐๐  กว่าปี  ตั้งอยู่ทางตะวันตกของมหาวิทยาลัยนาลันทา  สร้างในสมัยพระ เจ้าเทวาปาล  ระหว่าง  พ.ศ. ๑๓๕๓ - ๑๓๙๓ โดยท่านธรรมปาล (ตามบันทึกของราม ปิล่า สิงห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยงานท่องเที่ยวอินเดีย) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เหลืออยู่องค์เดียวในบริเวณมหาวิทยาลัยนาลันทานี้  ซึ่งเมื่อปี  พ.ศ. ๑๗๖๖  ได้ถูกพวกมุสลิมซึ่งมีโมฮัมหมัด อิคเทีย  ขิลจิ ลูกชายของภัคเทีย ขิลจิ เป็นหัวหน้า พาพวกมาทำลายสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งทุบทำลายพระพุทธรูป  และเอกสารตำราทางพระพุทธศาสนา ทั้งหมด  ซึ่งได้ถูกเศษอิฐและหินทับถมจมลงใต้ดินเป็นเวลานานเกือบ ๗ ศตวรรต (๗๐๐ ปี) คงเหลือไว้แต่ซากปรักหักพักอย่างที่เราเห็น ได้ถูกค้นพบโดย ดร.สปูนเนอร์ ศิษย์ของท่านเซอร์ คันนิ่งแฮม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘
   สาเหตุที่ท่านถูกฝังจมลงในแผ่นดินเกือบ ๗๐๐ ปี นั้นท่านตารนารถ และท่าน   ธรรมสวาทินพระ ธิเบต ผู้เห็นเหตุการณ์ได้บันทึกไว้ว่า กองทัพมุสลิม หลังจากเข้าปกครองดินแดนชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และแคว้นมคธเกือบทั้งหมดได้แล้ว ก็เริ่มทำลายวัดวาอาราม ตลอดทั้งปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนาเกือบทั้งหมดแล้ว ในปี พ.ศ. ๑๗๖๖ กองทัพมุสลิมน้ำโดยโมฮัมหมัด อิคเทีย ขิลจิ พร้อมด้วยทหารประมาณ ๒๐๐ คน ได้กรีฑาทัพเข้าไปในมหาวิทยาลัยนาลันทา ทำลายพระพุทธรูปและศิลปกรรมต่าง ๆ ที่ขวางหน้าอย่างมันมือและเมามัน โดยปราศจากผู้คนที่จะมาต่อต้านเกือบทั้งสิ้น เท่านั้นมิหนำใจยังเอาเชื้อเพลิงมาสุมแล้วจุดไฟเผา จนทำให้คัมภีร์ตำราทางพระพุทธศาสนาทั้งเก่าและใหม่ ถูกไฟไหม้เกือบหมดสิ้น พอสาสมแก่ใจแล้ว อิคเทีย ซิลจิ ก็ยกทัพกลับไปยังภัคเทียปูร์
   ท่านราม ปิล่า สิงห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยงานท่องเที่ยวอินเดีย   ได้กล่าวไว้ว่า... ขณะนี้ชาวบ้านละแวกนั้นได้เคารพกราบไหว้ หลวงพ่อองค์ดำ นับถือเป็นที่พึ่งดุจเทพเจ้าประจำหมู่บ้าน รัฐบาลพยายามจะนำไปเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ก็ไม่ยอม เพราะหลวงพ่อได้กลายเป็นหมอที่ศักดิ์สิทธิ์ช่วยรักษาเด็ก ๆ ที่เกิดมารูปร่างผอมแกร็นให้กลับอ้วนท้วนสมบูรณ์ และแข็งแรงได้ โดยที่บิดา-มารดานำบุตรที่เจ็บป่วยหรือผอมแห้งแรงน้อยนั้นพร้อมด้วยน้ำมันเนยไปวางไว้ใกล้องค์หลวงพ่อ อธิษฐานจิตแล้วนำน้ำมันเนยนั้นลูบทาและชโลมให้ทั่วองค์ จากนั้นเอามือไปลูบไล้เพื่อให้น้ำมันเนยที่องค์หลวงพ่อมาลูบไล้ทั่วตัวเด็ก ตั้งแต่นั้นมาเด็กคนนั้นก็เริ่มแข็งแรง และอ้วนทัวนขึ้นทุกวันเหมือนรูปกลวงพ่อ ประชาชนเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงถวายพระนามท่านว่า “หลวงพ่อน้ำมัน” (เตลิยะ บาบา) บ้าง หลวงพ่ออ้วน (โมต้า บาบา) บ้าง ที่ถวายพระนามท่านเช่นนั้น เพราะหลังจากได้เอาน้ำมันไปทาที่องค์หลวงพ่อแล้ว เอากลับมาทาที่ตัวเด็กอีกที เด็กก็หายจากโรคผอมแห้งแรงน้อยและอ้วนเหมือนหลวงพ่อ แต่คนไทยได้ถวายพระนามท่านใหม่ว่า “หลวงพ่อองค์ดำ” อาจเป็นเพราะองค์ท่านถูกสร้างห้วยหินดำกระมัง พวกเราจึงถวายพระนามท่านว่า “หลวงพ่อองค์ดำ”
   เนื่องจากหลวงพ่อน้ำมัน หลลวงพ่ออ้วนหรือหลวงพ่อองค์ดำ มีความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวมาต่อๆกันมา และร่ำลือกันไปปากต่อปาก จนเข้าหูฝูงประชาชนที่มาอาบน้ำบูชาพระอาทิตย์ที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ใกล้มหาวิทยาลัยนาลันทา ต่างก็ได้พากันมากราบไว้บูชาและตั้งจิตอธิษฐานและปรารถนาสิ่งที่ตนต้องการ ครั้นสมหวังดังที่คิด เมื่อมาบูชาพระอาทิตย์ในครั้งต่อไป ก็จะน้ำเอารูปเทียน ดอกไม้ น้ำมันเนย นม และหม้อที่เต็มด้วยข้าวสาร และเมล็ดถั่วมากชนิด เท่าที่ตนจะหาได้ น้ำมาถวายเพื่อแก้บน ยิ่งไปกว่านั้น
                 ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ได้ไปนมัสการ และอธิษฐานสิ่งที่ตนปรารถนาและทราบว่าสมดังเจตนาที่คิด หลวงพ่อองค์ดำจึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ทั้งชาวไทยและชาวอินเดียมาเคารพกราบไหว้จำนวนมาก และมีพระภิกษุชาวไทยพร้อมพุทธศาสนิกชนได้สร้างทางเดินเข้าถึงหลวงพ่อองค์ดำแล้ว
 
                                                                         คำบูชาหลวงพ่อองค์ดำ นาลันทา อินเดีย
                                                                                            (ตั้งนะโม ๓ จบ)
                                                                  นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ
                                                                                                     ***
                   อิติปิโส ภะคะวา กาฬะวัณณะพุทธะปฏิมัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมาสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

                    ขอพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ พุทธบารมี หลวงพ่อองค์ดำ ที่ข้าพเจ้าได้บูชาแล้ว จงมีอานุภาพ พลานุภาพ บุญญฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ จงบันดาลส่งผลให้ข้าพเจ้า มีอุดมมงคลสูงสุดในตัวข้าพเจ้า และครอบครัว ธุรกิจการงานของข้าพเจ้า จงชนะตลอด ปลอดภัยตลอด เจริญรุ่งเรื่องตลอด ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดชีวิต มีพลานามัยที่สมบูรณ์ยิ่งตลอดไปฯ
                                                                 ตั้งจิตอธิษฐานสงบนิ่ง ๑ นาที ทุกอย่างจะโล่งสว่าง บริสุทธิ์



      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1657 เมื่อ: 18 มีนาคม 2554, 07:56:19 »

สวัสดียามเช้าค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                        ไม่มีแฟนคลับเข้ามาทักทายเลย พี่สิงห์ก็ทักทายเธอแทนก็แล้วกัน
                        พี่สิงห์พยายามทำใจเป็นอุเบกขา ไม่วอกแวกว่าใครจะอ่านหรือไม่ ไม่เป้นไรทั้งสิ้น เพราะคนชอบไม่เหมือนกัน ต่างจิตต่างใจ คิดไม่เหมือนกัน แม้กระทั้งคนใกล้ตัว นี่เป็นสัจจธรรม สำหรับเอาไว้เตือนตัวพี่สิงห์ ไม่ว่าจะพบอะไร พบใคร เราจะชอบหรือไม่ชอบ ก็ตาม ถ้าคิดแบบพี่สิงห์แล้ว ใจเราก็สงบ ยอมรับทุกสถานะการณ์ จะปรับตัวเองเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ เพราะจะไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ที่เคยได้รับมาทั้งสิ้น ความกังวลก็จะไม่มี มีแต่ความสงบ ว่างเปล่าแห่งจิตใจ อยู่กับปัจจุบัน นี่ละความสุขที่แท้จริง ความวุ่นวานก็ไม่เกิด
                         อากาศนครศรีธรรมราชเช้ามีเมฆมาก ไม่มีแสงแดด ฝนยังไม่ตก แต่มองไกล มีฟ้าแลบ พี่สิงห์ก็ยังสามารถเดินได้ครึ่งชั่งโมง รำTAI CHI  ต่อด้วยโยคะ เสร็จภายในหนึ่งชั่วโมงนิดหน่อย ก็ลงไปรับประทานอาหารเช้า เป็นผักสดกับข้าวต้ม เจือด้วยปลาเค็มตัวเล็กๆนิดหน่อย น้ำเต้าหู้ผสมกับน้ำนมข้าวโพดหนึ่งถ้วย และมะละกอห้าชิ้น กล้ายเล็บมือนาง หนึ่งลูก และน้ำอุ่นสองแก้ว รอดตายไปแล้วเช้านี้ครับ
                         อาทิตย์นี้ทัวร์จาริกแสวงบุญอินเดีย-เนปาล คงจบครับ หลายท่านคงเบื่อแล้ว  จริงๆ ถ้าท่านทำใจให้สบาย อ่านไป ดูรูปไป ก็ได้ความรู้ขึ้นมาแน่นอน เพียงแต่ ต้องใช้ปัญญาอ่านด้วยเท่านั้นครับ ทุกอย่างในโลกนี้เป็นไปตามกฏไตรลักาณ์ โดยเฉพาะรูป-นาม ที่ประกอบเป็น "คน" คือ อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา แต่เพราะเราคิดว่ามันเป็น "อัตตา" เราถึงต้องได้รับทุกข์อยู่ทุกวันนี้ ครับ
                         อย่าลืมปล่อยให้กาย-ใจ เป็นไปตาม "ธรรมชาติ" โดยมี "สติ-ปัญญา" ของเราควบคุม ครับ
                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1658 เมื่อ: 18 มีนาคม 2554, 08:11:34 »

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...
...พี่สิงห์โชคดีค่ะ...ได้ไปกราบพระตั้งหลายองค์...
...เป็นสิริมงคลกับชีวิตค่ะ...
...คนไหนที่ยังไม่ได้ไป...ก็ถือว่ายังไม่โชคดีอย่างพี่สิงห์ค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1659 เมื่อ: 18 มีนาคม 2554, 08:27:47 »

                         คณะออกจากบ้านนางสุชาดาก็มายังจุดที่พระพุทะเจ้าทรงปั้นข้าวมธุปายาส ๔๙ ก้อนแล้วทรงฉันท์ ต่อจากนั้นเป็นจุดที่พระพุทะองค์ทรงอธิษฐานลอยถาดทองคำในแม่น้ำเนรัญชรา ว่า "ถ้าพระพองค์จะทรงตรัสรู้ในวันนี้ขอให้ถาดนั้นลอยทวนกระแสน้ำ" จุดที่โทณพราห์มถวายหญ้ากุสสะแปดกำให้พระพุทะเจ้าทรงใช้รองนั่งเป็นอาสนะ
                          ทุกจุดคณะได้สวดมนต์และตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธองค์
                          เชิญชมภาพ



ภายหลังจากพระพุทะองค์ รับข้าวมธุปายาสแล้วก็เสด็จมาที่นี่ ทรงปั้นก้อนข้าวมธปายาสได้ ๔๙ ก้อน แล้วจึงฉันท์





จุดนี้คือริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่พระพุทะองค์ทรงอธิฐาน ลอยถาดทองคำว่า "ถ้าพระองค์จะตรัสรู้ในวันนี้ ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำ"
และก็เป็นจริง ถาดได้จมลงไปในบาดาลไปถูกศรีษะพญานาคราช เพื่อเตือนให้ทราบว่า วันนี้พระพุทธองค์จะตรัสรู้



แม่น้ำเนรัญชรา ปัจจุบัน มีแต่ทราย และวัชพืช เป็นที่สำหรับคนอินเดียถ่ายทุกข์



แม่น้ำเนรัญชราจะมีน้ำเแพาะหน้าฤดูฝนเท่านั้น
ปัจจุบันที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตรงข้ามพุทธคยา มีวัดไทยเนรัญชราของหลวงพ่อถาวร ซึ่งคุณวัฒนา ประธานชมรมฯ อุปถัมย์อยู่









จุดที่โทณพราห์ม ทรงถวายหญ้ากุสสะแปดกำแด่พระพุทะเจ้า





หญ้ากุสสะ หรือหญ้าคาอินเดียที่โทณพราหม์ถวายพระพุทะเจ้าแปดกำเพื่อเป็นอาสนะทรงนั่ง



แม่น้ำเนรัญชรา ตรงข้าม คือพุทธคยา และจุดที่ลอยถาดทองคำ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1660 เมื่อ: 18 มีนาคม 2554, 08:33:11 »

สวัสดียามเช้าค่ะ คุณน้องตู่ ที่รัก
                         วันวิสาขะบูชา ที่จะถึงพี่สิงห์จะไปสอนญาติโยมที่มาบวชพราห์มที่วัดเกษมราษฎร์ บ้านบึงกับ ดร.พระมหาสุเทพ เจ็ดวันจะไปสอนโยคะ และแนะนำการปฏิบัติธรรม เรียนเชิญเธอด้วยครับ
                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1661 เมื่อ: 18 มีนาคม 2554, 09:30:11 »

...พี่สิงห์จะอยู่ทั้ง 7 วันเลยเหรอคะ...
...ตู่ขอคิดดูก่อนค่ะ...ไม่รู้ช่วงนั้นจะมีเพื่อนมาหาหรือเปล่าค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1662 เมื่อ: 18 มีนาคม 2554, 10:14:43 »

                         ต้องขออภัยทุกท่าน ที่ผมลืม ตกหล่นบ้านของท่านอณาบิณฑิกเศรษฐีไป จึงขอนำบ้านของท่านมาให้ชม ซึ่งบ้านของท่านอยู่ใกล้ๆ กับวัตเชตวัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างไปนิดเดียวครับ คณะได้ไปสวดมนต์ และตั้งจิตระลึกถึงท่านด้วยครับ
                        เชิญชมภาพ







ทุกท่านกำลังดู และโยนเงินลงในที่เก็บสมบัติของท่านอณาบัณฑิกเศรษฐี หวังว่าคงรวยอย่างท่านบ้าง





      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1663 เมื่อ: 18 มีนาคม 2554, 10:38:50 »

          
วันนี้เป็นวันมาฆะปุณมี

คณะได้มานั่งสวดมนต์ธรรมวัดเย็น
สวดโอวาทปาติโมกข์
นั่งเจริญสติ-วิปัสสนา
เวียนเทียนสามรอบ พุทธคยา ต้นพระศรีมหาโพธิ์
กราบลาหลวงพ่อเมตตา
สำหรับพี่สิงห์กลางคืนได้กลับมาตอนสองทุ่มครึ่ง นั่งเจริญสตอเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียน  จิตตฺสุโภ
ตั้งแต่สองทุ่มครึ่งไปจนถึงเที่ยงคืนครึ่งโดยไม่ลุกไปไหนเลย
เที่ยงคืนครึ่งไปเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำ สอนผู้ที่มีปัญญาในการเจริญสติแนวหลวงพ่อเทียนให้กับสุภาพสตรีสองท่านที่มาขอเป็นลูกศิษย์
คือมานั่งใกล้ผม ทำเหมือนผม สลับกับการเดินจงกรม โดยไม่รู้จักกันมาก่อน และไม่ได้คุยกันเลย แต่พอผมไปห้องน้ำมาดักรอ
ที่จะสอบถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ ในการปฏิบัติ และขอเป็นลูกศิษย์ด้วย ผมก้แนะนำไปเท่าที่รู้ครับ
หลังจากนั้น ผมก็เดินจงกรมจนถึงตีสามครึ่ง พรรคพวกที่ไปด้วยและพระ ตื่นนอน จึงได้ทำวัตรเช้าภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นครั้งสุดท้าย
ตีสี่นิดหน่อยประตูเปิด รถมารับกลับไปวัดไทยพุทธวิปัสสนา
เป็นอันว่าผมได้นั่งเจริยสติใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในวันมาฆะบูชา ตามที่ได้ตั้งใจไว้ ครับ
เชิญชมภาพ












ความหมาย
วันมาฆบูชาหมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

ความสำคัญ
วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูปมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖และเป็นผู้
ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส

ประวัติความเป็นมา
๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มี
องค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
๓. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
๔. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า
เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต และในโอกาสนี้พระพุทธเจ้าได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา

๒. การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาใน
ประเทศไทย
พิธีวันมาฆบูชานี้เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมีพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาตพระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการประชุมใหญ่และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนานักปราชญ์จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบการสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
                    การประกอบพิธีมาฆะบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อนในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหารและวัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่องมนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับวันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้างเช่น รัชกาลที่ ๕พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อยๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉายพระปฐมเจดีย์พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบันมีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ หากปีใดเป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ
หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์หมายถึงหลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

หลักการ ๓
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่วมีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์การลักทรัพย์การประพฤติ ผิดในกามความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียดการพูดเพ้อเจ้อความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ไม่ทำร้าย
เบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการไม่ประพฤติ
ผิดในกามการทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะการทำความดีทางใจ ได้แก่การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
๕. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดี ความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่
วิธีการทำจิตให้ผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวงด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

อุดมการณ์ ๔
๑. ความอดทน ได้แก่ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ ได้แก่ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด
ในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์๘

วิธีการ ๖
๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ความเคารพระเบียบวินัยกฎกติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดี

จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้นพระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศลได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)การที่คนจำนวนมากมารวมกันเพื่อทำความดี โดยวิธีการศึกษาและปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเป็นภาพที่ทำให้ชาวพุทธและชาวโลกตื่นตัวในการปฏิบัติธรรม ด้วยการทำทาน การรักษาศีล และการทำสมาธิ รวมทั้งการทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร ชักชวนกันทำความดี ละความชั่ว ทำใจให้ผ่องใส เมื่อมีปัญหาอะไรในชีวิต ก็จะใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาแก้ไขปรับปรุงตนเอง เป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองและผู้อื่น ทำให้ตนเองได้นำศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวออกมาใช้อย่างเต็มที่ ช่วยให้การทำงานการประกอบอาชีพต่างๆ มีประสิทธิภาพ สะดวกสบาย ไม่มีความเครียด มีความเจริญทั้งด้านจิตใจ และสังคมสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไป โลกจะเกิดสันติสุข อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขดังนั้นวันมาฆบูชา ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ นี้ เราจะมาร่วมกันจุดมาฆประทีปให้สว่างไสว ณ ลานธรรม รอบมหาธรรมกายเจดีย์ เพื่อน้อมรำลึกถึงวันปฐมกำเนิดแห่งการสร้างคนดีตามพุทธวิธีให้เป็นประทีปแห่งธรรมและให้สว่างไสวในใจเรา ที่จุดขึ้นจากน้ำใจมหากรุณาของนักสร้างบารมี รุ่นก่อนๆ นับจำนวนไม่ถ้วน ที่จุดต่อๆกันมาไม่ขาดสาย เพื่อให้โลกสว่างไสวด้วยแสงแห่งธรรมและให้สว่างไสวในใจเรา เราจะได้น้อมรับซึมซับ น้ำใจ อดทน และเสียสละเหล่านั้น มาเติมพลังแห่งอุดมการณ์ของกัลยาณมิตรให้ลุกโชติช่วงอยู่ในใจของเราตลอดไป

การเดินเวียนเทียนรอบโบสถ์ จะกระทำ 3 รอบ โดยเวียนไปทางขวา เรียกว่า เวียนแบบทักขิณาวัฎ
ในรอบที่ ๑ ให้รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาคาถาบทอิติปิโส ภควาฯ ไปจนจบ เมื่อให้จิตมีสมาธิ
........ ในรอบที่ ๒ ให้รำลึกถึงคุณพระธรรม โดยภาวนาคาถา บทสวดสวาขาโต ภะคะวะตาธัมโมฯ ไปจนจบ
........ ในรอบที่ ๓ ให้รำลึกถึงคุณพระสงฆ์ โดยภาวนาคาถา บทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ

........ ........ ๑. ในการเดินเวียนเทียน ต้องทำจิตใจให้มีสมาธิ สงบและแน่วแน่อยู่กับบทบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ไม่ควรส่งเสียงพูดคุยหรือเดินแซงผู้ที่เดินอยู่ข้างหน้า
........ ........ ๒. เมื่อเวียนเทียนครบ 3 รอบแล้ว ให้นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปวางไว้ในจุดกำหนดเพื่อสะดวกแก่การเก็บทำความสะอาด
........ ........ ๓. หลังจะเสร็จพิธีเวียนเทียนแล้ว ควรช่วยกันเก็บกวาดทำความสะอาดบริเวณโบสถ์ให้เรียบร้อย แล้วแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความสงบอิ่มเอมใจ หรืออยู่ร่วมพิธีอื่น ๆ ที่ทางวัดจัดให้มีขึ้น
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1664 เมื่อ: 18 มีนาคม 2554, 11:04:08 »

                         เป็นภาพชุดสุดท้ายสำหรับพี่สิงห์ที่ไปจาริกแสวงบุญ พุทธสถาน ๔ แห่ง สิบวันที่อินเดีย-เนปาล ครับ การได้มาครั้งนี้ เป็นการทดลองจิตของพี่สิงห์ภายหลังจากได้รับการฝึกมา ว่าจะสามารถหวั่นไหว ทนสภาพที่ต้องพบได้หรือไม่ แต่เนื่องจากพี่สิงห์ฝึกจิตมาดี จิตจึงไม่หวั่นไหวใดๆ ทั้งสิ้น สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งที่พบ จิตอยู่กับปัจจุบัน ประกอบกับการเตรียมร่างกายที่ดี จึงไม่ประสพในสิ่งที่ไม่พึงปราถนาเลย คือ ความเจ็บ-ป่วย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย เพราะต้องถือศิลแปด นอนน้อย เดินทางนั่งรถนานๆ บางวันมากกว่าสิบสองชั่วโมงอยู่บนรถ ก็ตาม

 
ก่อนไปอินเดีย มีแต่ข่าวร้าย ๆ มาเตือนแยะมาก ทำให้รู้สึกกลัวในสิ่งที่จะประสพ
 พอประสพจริงๆ จิตนิ่ง มองว่า จิตคนมันก็เป็นเช่นนี้ ต่างจิต คิดไม่เหมือนกัน
 อย่าไปกลัวในสิ่งที่จะไปประสพ เพราะยังไม่พบ
 วิถีีชีวิตคนอินเดียเป็นเช่นนั้น เราอย่าไปคิดแทนเขา
 เขาก็มีความสุขของเขา เช่น วรรณะจัณฑาล ที่ต้องมาขอทาน เขาก็มีความสุขของเขา แต่เรากลับมองว่าเขาทุกข์
 ความจริงเขาไม่ทุกข์เลย ให้มองดวงตาเขา เขามีหน้าที่ขอทาน อยู่อย่างธรรมชาติ ธรรมชาติรักษาชีวิตเขา
 แล้วเราจะไปทุกข์ วิตกแทนทำไม? มันไม่ถุกต้อง
 ดีใจมากๆ ครับที่ได้ไปอินเดียครั้งนี้ ประทับใจ สมใจ ได้ในสิ่งที่อยากได้

ที่สุดของที่สุดในโลกนี้ที่พึงมีคือ "อินเดีย" ครับ

 สวัสดี







พระแท่นวัชรอาสน์




รัตนจงกรม



ภาพหลวงพ่อเมตตา ครั้งสุดท้ายที่ผมไปสวดมนต์ เจริญสติ กราบลาท่านเป็นครั้งสุดท้ายในการมาจาริกแสวงบุญพุทธคยาครั้งนี้
วันมาฆะบูชา




พุทธคยา

********
ที่ตั้งปัจจุบัน
   

พุทธคยา อยู่ในแคว้นมคธ มีเมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์ เป็นแคว้นมหาอำนาจหนึ่งในสี่ของชมพูทวีป อันมี แคว้นโกศล วังสะ และ อวันตี มีเมืองหลวงคือ สาวัตถี โกสัมพี และอุชเชนี
พุทธคยา  ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแห่งหนึ่งในสี่แห่งของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นสถานที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา  ณ ตำบลโพธิคยา  หรือ  พุทธคยา  มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลตารดิตถ์  จังหวัดคยา  รัฐพิหาร  ซึ่งมีเมืองปัตนะเป็นเมืองหลวงอยู่ห่างจากตัวเมืองคยาไปทิศใต้ประมาณ ๑๒ กม. ห่างจากเมืองกัลกัตตา ๔๕๘ กม. (โดยทางรถไฟ) และห่างจากกรุงเดลีไปทางตะวันออกประมาณ ๙๘๕ กม. (โดยทางรถไฟ) ก่อนจะเดินทางถึงบริเวณสถานที่ตรัสรู้คือ  ต้นพระศรีมหาโพธิ์  เราจะมองเห็นพระวิหารมหาโพธิ์  (พระเจดีย์  ๔  เหลี่ยม)  ตั้งตระหง่านสูงประมาณ  ๑๗๐  ฟุต  จากพื้นดิน
   เมื่อเดินเข้าใกล้เราจะมองเห็นว่าสถานที่รอบ ๆ  ที่ตรัสรู้นี้  ตั้งอยู่ในที่ต่ำลึกจากระดับพื้นดิน บริเวณรอบ ๆ  ที่ถูกสร้างเป็นกำแพงในปัจจุบันประมาณ  ๕  เมตร  ที่เป็นเช่นนี้เพราะบริเวณพระศรีมหาโพธิ์ในอดีต  มีวิหารใหญ่  ๓  หลัง  เฉพาะทางประตูด้านทิศเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์มีวิหารชื่อมหาโพธิสังฆาราม  ซึ่งกษัตริย์ชาวศรีลังกาได้มาสร้างไว้  มี  ๖  ห้อง  ๔  ยอด  มีพระสงฆ์อยู่อาศัยถึง  ๑,๐๐๐  รูป  แต่ใน พ.ศ. ๑๗๔๗  วิหารทั้ง  ๓  หลัง  รวมทั้งกำแพงได้ถูกทำลายลงโดยกษัตริย์มุสลิม  ดังนั้น  บรรดาซากอาคารวัตถุที่ปรักหักพังได้แตกสลายไป  ทำให้เกิดการทับถมกันของแผ่นดิน  บริเวณนี้ จึงอยู่ต่ำจากระดับกำแพงและบริเวณโดยรอบ  ซึ่งเป็นซากวัดในอดีต และประมาณ  ๕  เมตร
   เมื่อวันที่  ๒๗  มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๔๕  ที่ผ่านมาองค์การสหประชาชาติ  ได้ประกาศยกย่องให้บริเวณเจดีย์พุทธคยา  เป็นมรดกโลก  (World  heritage)

 
สถานที่ตรัสรู้
   เจ้าชายสิทธัตถะ  หรือดาบสสิทธัตถะ  ในขณะนั้นหลังจากที่ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะ  เพื่อแสวงหาโมกขธรรมอยู่เป็นเวลา  ๖  ปี  จึงทรงตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า  ณ  ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์  เมื่อวันพุธ  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖  ปีระกา  (วันวิสาขบูชา)  ก่อนพุทธศักราช  ๔๕  ปี  พุทธคยาจึงจัดเป็นสถานที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  บริเวณสถานที่ตรัสรู้นี้  ในครั้งพุทธกาลเรียกว่า  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
                
   ๑. ต้นพระศรีมหาโพธิ์
   ต้นพระศรีมหาโพธิ์  เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ประทับนั่งตรัสรู้ในคืน วันเพ็ญวิสาขปุรณมีก่อนพุทธศักราช  ๔๕  ปี  ณ  สถานที่นี้ได้เคยมีพระพุทธ เจ้าองค์อื่น ๆ  ในอดีตกาล ได้ทรงมาตรัสรู้แล้วถึง ๓  พระองค์  คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระนามว่า กกุสันธะ  พระนามว่า  โกนาคมนะ  พระนามว่า  กัสสปะ  ส่วนพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันมีพระนามว่า   โคตมะ  และในอนาคตกาลจะเป็นที่ตรัสรู้ของ พระศรีอริยเมตไตรย ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันเป็นต้นที่ ๔  มีประวัติโดยสังเขป  ดังนี้   
   
   ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑
   คือต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธองค์ได้ประทับนั่ง   เพื่อตรัสรู้  พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  เป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า  เมื่อพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้อายุประมาณ  ๓๕๒  ปี  ก็ถูก พระนางมหิสุนทรี  มเหสีองค์ที่ ๔  ของพระเจ้าอโศกมหาราช  ราดยาพิษและน้ำร้อนจนตาย  พระเจ้าอโศกทรงเสียพระทัยมาก  ทรงอธิษฐานและสั่งให้เอาน้ำนมวัวถึง  ๑๐๐  ตัวมารดหน่อ ของพระศรีมหาโพธิ์จึงงอกขึ้นมาใหม่

   ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๒
   คือต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่แตกหน่อจากต้นเดิม  ด้วยอำนาจสัตยาอธิษฐานของพระเจ้าอโศก  เมื่อ พ.ศ. ๒๗๒
   เมื่อปี  พ.ศ.  ๑๑๔๓ - ๑๑๖๓  ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่  ๒  มีอายุ ประมาณ  ๘๗๑ - ๘๙๑  ปี  กษัตริย์ชาวฮินดูแห่งแคว้นเบงกอลชื่อศะศางกา  ได้ทำลายเสีย  ต่อมากษัตริย์แคว้นมคธ  ชื่อ  พระเจ้าปูรณวรมัน  กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ของพระเจ้าอโศกทรงทราบข่าว  จึงเสด็จมาที่พุทธคยา  ได้ทรงเห็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ถูกทำลาย  จึงทรงให้เอาน้ำนมวัว  ๑,๐๐๐  ตัว มารดจนหน่อของพระศรีมหาโพธิ์เกิดใหม่อีก

   ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๓
   ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๓  ได้เจริญงอกงามมาตามลำดับ  มีอายุ ประมาณ  ๑,๒๕๖ - ๑,๒๗๖  ปี  ก็ตายลงด้วยถูกพายุพัดโค่น  เพราะอายุแก่มากแล้ว ต่อมา  เซอร์  คันนิ่งแฮม  นักโบราณคดีชาวอังกฤษ (พ.ศ.๒๔๒๓)  ได้เห็นหน่อของต้นพระศรีมหาโพธิ์งอกขึ้นมา  ๒  หน่อ  จึงเอาหน่อที่สูง ประมาณ  ๖  นิ้ว  ปลูกไว้ที่เดิมหน่อที่สูง  ประมาณ  ๔  นิ้ว  ปลูกไว้ทางทิศ เหนือขององค์พระเจดีย์

   ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๔
   ท่าน  เซอร์  คันนิ่งแฮม  ได้นำมาปลูกไว้  เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๒๓  ณ  ตำแหน่งเดิมของต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นแรก  พระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้มีอายุ ประมาณ  ๑๒๔  ปี  (พ.ศ. ๒๕๔๗)  นับแต่ปลูกมา  ปัจจุบันต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็ยังแข็งแรงและสมบูรณ์ดี  มีการกั้นรั้วทองเหลืองไว้โดยรอบ  มีประตูเหล็ก ดัดสูง  ๒  เมตร  สร้างถวายโดยชาวพุทธศรีลังกา
                      
   ๒. พระแท่นวัชรอาสน์
   ที่ประทับนั่งตรัสรู้ของสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในครั้งนั้น  พระพุทธองค์ทรงใช้หญ้ากุสะ  ๘  กำมือ  (คล้ายหญ้าคา)  ที่โสตถิยะพราหมณ์ถวายให้มาปูลาดนั่ง  และเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วบัลลังก์ที่นั่งนั้น  จึงถูกเรียกว่า  อปราชิต บัลลังก์  หรือ  รัตนบัลลังก์ ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเป็นแท่นหินสลักเรียกว่า  พระแท่นวัชรอาสน์  ประดิษฐานไว้ระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ์กับองค์   พระเจดีย์  เพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถานที่ถาวรยาวนาน  พระแท่นนี้สร้างขึ้น โดยใช้แผ่นหินทรายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ยาวประมาณ  ๗  ฟุต  ๑๐ นิ้วครึ่งกว้าง  ๔  ฟุต  ๗  นิ้วครึ่ง  ความหนา  ๖  นิ้วครึ่ง  แกะสลักเป็นรูปแหวนเพชร  นอกจากนั้นยังมีรูปดอกบัว  รูปพญาหงษ์  และดอกมณฑารพด้วย
   ๓. พระมหาเจดีย์พุทธคยา  หรือพระวิหารโพธิ์
   พระมหาเจดีย์พุทธคยานี้  ก่อสร้างด้วยหินทรายสีน้ำตาลนวล  มีลักษณะเป็นทรงสี่ เหลี่ยมจัตุรัส  ยอด แหลม  คล้ายยอดพระเจดีย์ทั่วไป  มีความ สูงประมาณ  ๑๗๐  ฟุต  ฐานวัดโดยรอบ ได้  ๑๒๑  เมตร  พระเจ้า   หุวิชกะทรงสร้าง ต่อมาจากสมัยพระเจ้า อโศกมหาราชและมี การซ่อมแซมบูรณะ โดยท่านผู้เลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา เรื่อยมานอกจากนี้  ยังมีองค์ เจดีย์เล็ก ๆ  ลดหลั่นกันไปอยู่โดยรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่  จึงทำให้พระเจดีย์ มีความงามยิ่งขึ้น  มีห้องสำหรับปฏิบัติธรรมอยู่ชั้นบน
                                                                    
ส่วนชั้นล่างนั้นประดิษฐาน  พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่  สูงประมาณ  ๑.๖๖  เมตร หน้าตักกว้าง  ๑.๔๗  เมตร  แกะสลักด้วยด้วยหินตามแบบศิลปะสมัยปาละ มีอายุประมาณ  ๑,๔๐๐  ปี  องค์พระพุทธรูปทาด้วยสีทองสวยงามมาก  คนไทยนิยมเรียกว่า  พระพุทธเมตตา
๔.      สถานที่เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์
   หลังจากตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว   พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ ๗ แห่ง ตลอด ๗ สัปดาห์ ดังนี้
                
สัปดาห์ที่ ๑  ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งที่พระแท่นวัชรอาสน์พระองค์ได้ประทับนั่งใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์พิจารณาปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลมตลอดสัปดาห์
สัปดาห์ที่ ๒ ที่อนิมิสเจดีย์ เทวดาบางพวกเกิดความปริวิตกว่า  “แม้วันนี้พระสิทธัตถะยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นแน่  เพราะยังไม่ละความอาลัยใน บัลลังก์  ด้วยพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้ก่อนประทับนั่งว่า  ถ้าไม่ได้ ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  จะไม่เสด็จลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้”   ในวันที่ ๘  ทรงออกจากสมาบัติ  ทรงทราบความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น  แล้วเหาะขึ้นไปในอากาศ  เพื่อกำจัดความสงสัยของเทวดาเหล่านั้น  ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
   ครั้นแสดงยมกปาฏิหาริย์กำจัดความสงสัยของเทวดาเหล่านั้นแล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเยื้องจากบัลลังก์เล็กน้อย  ทรงจ้องดูบัลลังก์และต้นโพธิ์สถานที่บรรลุผล  แห่งพระบารมีทั้งหลายที่ ทรงบำเพ็ญมาถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์  ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบว่า   “เราบรรลุสัพพัญญุตญาณเหนือบัลลังก์นี้”  ทรงยับยั้งอยู่  ๗  วัน  สถานที่นั้น จึงชื่อว่า  อนิมิสเจดีย์
   ปัจจุบันได้สร้างเป็นเจดีย์องค์ใหญ่มีสีขาว  อยู่ทางด้านขวามือของ บันไดที่จะลงสู่มหาโพธิสถาน  หรือทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระ เจดีย์มหาโพธิ์  ดูผิวเผินมีรูปทรงคล้ายกับเจดีย์องค์ใหญ่  แต่ลวดลายหยาบกว่า
                                                  
   สัปดาห์ที่ ๓  ที่รัตนจงกรมเจดีย์ พระองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมระหว่างบัลลังก์ที่ ประทับนั่งตรัสรู้กับ อนิมิสเจดีย์  ทรงจงกรมบนรัตนจงกรม  จากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกอยู่ตลอดสัปดาห์  สถานที่นั้นจึงชื่อว่า  รัตนจงกรมเจดีย์    ปัจจุบันมีหินแกะสลักทำเป็นดอกบัวศิลปะภารหุต  ๑๙  ดอก  บนแท่นหินสูง  ๑  เมตร  ยาว  ๑๒  ศอก  วางเรียงกันเป็นแนวยาวตลอดอยู่ทางด้านซ้ายมือ ข้างองค์พระมหาเจดีย์พุทธคยาหรืออยู่ทางทิศเหนือ  สร้างเป็นแท่นหินสูง  ๑  เมตร  มี  ๑๙  ดอก
   สัปดาห์ที่ ๔  ที่รัตนฆรเจดีย์ เทวดาทั้งหลายเนรมิตเรือนแก้วด้านทิศตะวันตก เฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัดสมาธิใน เรือนแก้วนั้นทรงพิจารณาอภิธรรมคือ  พระสมันตปัฏฐานอนันตนัยในพระ อภิธรรมปิฎกโดยพิเศษทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์
   ส่วนนักอภิธรรมกล่าวว่า  ที่ชื่อว่า  เรือนแก้ว  ไม่ใช่เรือนที่ทำด้วยแก้ว  ๗  ประการ  แต่สถานที่ที่ทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง  ๗  เรียกว่า  เรือนแก้ว   ท่านประยุกต์เรื่องทั้งสองเข้าไว้ในที่นี้โดยปริยาย  จึงควรถือเอาทั้งสองนัย สถานที่นั้นจึงชื่อว่า  รัตนฆรเจดีย์
   ลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบัน  เจดีย์นี้สร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า  หลังคาตัดตรงด้านหน้า มีประตูทางเข้าหันหน้าไปทางกำแพงด้านทิศเหนือ  ภายในมีพระพุทธรูปทองเหลืองขนาดใหญ่องค์หนึ่ง  ประดับอย่างสวยงาม ประดิษฐานอยู่
                            
สัปดาห์ที่ ๕  ที่ต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร)  พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ  ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ๔  สัปดาห์  แล้วในสัปดาห์ที่  ๕  เสด็จออกจากบริเวณควงไม้โพธิ์เสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชรา ไปทางทิศตะวันออก  ประทับนั่งพิจารณาพระธรรม  และเสวยวิมุตติสุขที่ต้นอชปาลนิโครธนั้น  ณ  ที่ตรงนี้  พราหมณ์ผู้ทิฏฐมังคลิกะ  เที่ยวตวาดว่า  หึ  หึ   ด้วยอำนาจความถือตัวได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  “บุคคลชื่อว่าเป็น พราหมณ์ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ธรรมเหล่าไหนทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์” พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทาน แสดงเหตุและธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์ และได้มีธิดามาร ๓ นาง คือ นางตัณหา นางอรตี นางราคา มาแสดงอาการยัวยวนพระพุทธองค์ทรงเอาชนะด้วยพระพุทธบารมี
                                
   สัปดาห์ที่ ๖  ที่สระมุจจลินท์ ครั้นประทับนั่ง  ณ  อชปาลนิโครธตลอด  ๗  วัน  ในสัปดาห์ที่  ๕  แล้ว  จึงเสด็จไปประทับ  ณ  โคนต้นมุจจลินท์ (ต้นจิกนา)  อีกสัปดาห์หนึ่ง  พอประทับนั่งในที่นั้นเท่านั้น  มหาเมฆซึ่งมิใช่ ฤดูกาลก็เกิดขึ้น  เมื่อมหาเมฆเกิดขึ้นแล้ว  พญานาคชื่อมุจจลินท์คิดว่า  “เมื่อพระพุทธเจ้ามาสู่สถานที่ของเรา  มหาเมฆก็เกิดขึ้น  พระองค์ควรได้อาคารที่ประทับ”  พญานาคแม้จะสามารถเนรมิต  วิมานทิพย์เหมือนกับเทพวิมาน  แต่คิดว่า  “เมื่อเราสร้างวิมานอย่างนี้  จักไม่มีผลมากแก่เรา  เราจะขวนขวายด้วยกายตนเองเพื่อพระทศพล”  จึงทำอัตภาพให้ใหญ่ยิ่งล้อมพระพุทธเจ้าไว้ด้วย  ขนด  ๗  ชั้น  แผ่พังพานไว้ข้างบน  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ณ  บัลบังก์ก็มีค่ายิ่ง
   เมื่อฝนหยุดแล้ว  พญานาคราชจึงคลายขนดจำแลงเป็นมาณพยืน ประคองอัญชลีถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้น  พระพุทธองค์ได้ทรงเปล่งอุทานปรารภความสุข  ๔  ประการ
   สระมุจจลินท์อยู่ห่างจากเจดีย์พุทธคยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ  ๒  กิโลเมตร  ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณครึ่งกิโลเมตร  มี สระน้ำอยู่ใกล้หมู่บ้านชื่อมุจจลินท์  ในปัจจุบันทางการได้จำลองสระมุจจลินท์ไว้ที่บริเวณเจดีย์พุทธคยา  มีพระพุทธรูปปางนาคปรกอยู่กลางสระติดกับ กำแพงด้านวัดป่าพุทธคยา
                                          
   สัปดาห์ที่ ๗ ที่ต้นราชายตนะ ในสัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุขพระพุทธองค์เสด็จเข้าไป  ประทับนั่ง  ณ  ราชายตนะ (ต้นเกด)  ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในฌานและสุขในผล
   สมัยนั้นพ่อค้า  ๒  คน  ชื่อ  ตปุสสะ  และ  ภัลลิกะ  ได้เข้าไปถวาย สัตตุผงและสัตตุก้อน  พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานบาตรทั้ง  ๔  ที่ท้าวมหาราชทั้ง  ๔  นำมาถวายให้เป็นบาตรเดียว  แล้วรับสัตตุผงและสัตตุก้อนมาเสวย ครั้งนั้นพ่อค้าทั้ง  ๒  ก็เปล่งวาจาขอถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรม เป็นสรณะ
                  
   ๕. แม้น้ำเนรัญชรา
   แม่น้ำเนรัญชรา (ยาวประมาณ  ๑๕๐  ไมล์) หรือที่ชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า “ลิลาจัน” ซึ่งเป็นคำเพี้ยนมาจากคำในสันสฤตคือ “ไนยุรัญจนะ” แปลว่า แม่น้ำที่มีสีใสบริสุทธิ์สะอาด แม่น้ำสายนี้ไหลมาจากเมืองฮาชารบัด ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองคยา ไหลคดเคี้ยวมาบรรจบกับแม่น้ำโมหนี ห่างจากที่ตรัสรู้ประมาณ ๒ ไมล์ครึ่ง ที่บรรจบของแม่น้ำสองปัจจุบันเรียกว่า “แม่น้ำฟันกุ” แล้วไหลผ่านตัวเมืองคยา  เป็นแม่น้ำที่พระโพธิสัตว์ได้ทรงลอยถาดทอง  (ที่นางสุชาดาได้มาถวายข้าวมธุปายาส  ในวันขึ้น  ๑๔  ค่ำ  เดือน  ๖  ก่อนพุทธศักราช  ๔๕  ปี)  แล้วทรงอธิษฐานว่า  “ถ้าแม้จะได้ ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วไซร์  ก็ขอให้ถาดทองนี้  จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป” ทันใดนั้น ถาดทองคำก็ลอยทวนกระแสน้ำไปได้ประมาณ ๘๐ ศอก และไปหยุดจมลงในเส้นดิ่ง ให้พระองค์ทรงเชื่อมั่นว่า  ต้องได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน
   จากนั้นพระองค์จึงได้เสด็จมายังฝั่งตรงข้ามซึ่งอยู่ตรงทางทิศตะวันตกอันเป็นตำบลพุทธคยา เสด็จมายังต้นพระศรีมหาโพธิ์
   แม่น้ำเนรัญชราในปัจจุบันช่วงฤดูร้อน  น้ำจะแห้งไปหมด  เหลืออยู่แต่ทรายเท่านั้น  แต่ในฤดูฝนก็จะมีน้ำไหลมากท่วมล้นตลิ่งทุกปี บางปีเกือบท่วมสะพานที่ญี่ปุ่นสร้างให้ความกว้างของแม่น้ำประมาณครึ่งกิโลเมตร  แม่น้ำเนรัญชรากว้างแต่ไม่ลึกนัก  เพราะทรายที่พัดมาจากบริเวณที่ราบสูง ทับถมกันนาน ๆ  เข้า  ทำให้แม่น้ำนี้ตื้นเขินมากขึ้น  จนในที่สุดก็เกือบจะไม่เป็นร่อง หรือทางให้น้ำได้ไหล  เมื่อสังเกตดูจะเห็นว่า  ท้องน้ำกับฝั่งมีพื้น ราบเกือบจะเสมอกัน
                              
   ๖. บ้านนางสุชาดา
   ข้ามสะพานแม่น้ำเนรัญชรา ไปฝั่งตรงข้ามของพระเจดีย์ จากฝั่งแม่น้ำไปประมาณ ๒๐๐ เมตร จะมองเห็นเนินดินสูงกว้างใหญ่ ซึ่งมีอิฐที่เรียงทับถมพื้นที่ดินอยู่ ตามหลักฐานยืนยันว่า ณ บริเวณนี้ คือบ้านนางสุชาดา  ซึ่งเป็นบุคคลที่ร่ำรวยคนหนึ่งในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เป็นธิดาของนายบ้าน สังเกตได้จากที่นางถวายถาดทองแก่พระโพธิสัตว์โดย มิได้เสียดาย  หรือจากข้อความในที่หลาย ๆ  แห่งนั้น  บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า นางเป็นธิดาของบุคคลที่ร่ำรวยคนหนึ่ง  มีบ้านใหญ่โต
   นางสุชาดาเป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระโพธิสัตว์ที่ใต้ต้นไทร เพื่อแก้บนที่ตนเองได้ แต่งงานกับชายที่มีชาติเสมอกัน  และได้บุตรชายในครรภ์แรก  และอาหารมื้อนี้เป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะได้ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างสถูปเพื่อเป็นเกียรติแก่นางสุชาดาด้วย  แต่สถูปนั้น ได้พังทลายด้านบนยอดสถูป  แต่ฐานสถูป ยังสมบูรณ์อยู่  ปัจจุบันทางการได้ล้อมรั้วรอบบริเวณ เนินดินของบ้าน  และได้ขุดดินที่อยู่รอบบริเวณสถูปออก  เห็นแล้วมีความสวยงาม
   ๗.  ต้นไทรที่นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
   จากบ้านนางสุชาดา  ต้องเดินผ่านหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยสัตว์เลี้ยง  พืชผักสวนครัว  ปศุสัตว์  ทุ่งนาที่เต็มไปด้วยข้าวกล้าในฤดูฝน  แต่ถ้าฤดูร้อน ก็จะร้อนอบอ้าว  ประมาณครึ่งกิโลเมตร  ก็จะถึงต้นไทรที่เชื่อกันว่าเป็น  ต้นไทรที่ประทับของพระโพธิสัตว์  และนางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส ที่แห่งนี้
   ๘. เสาหินพระเจ้าอโศก
        เสาหินพระเจ้าอโศกอยู่บริเวณหน้าวิหารสระมุจจลินท์เป็นเสาที่เป็นสัญลักษณ์ที่โสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้ากุสะ ๘ กำมือ เพื่อเป็นที่ปูลาดประทับนั่งตรัสรู้  ส่วนยอดได้ชำรุดแล้ว  เหลือแต่ตัวเสาสูงประมาณ  ๔  เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  ๒  ฟุต  
   ๙. อาศรม  “อุรุเวลกัสสปะ”
   อาศรมอุรุเวลกัสสปะ (พี่คนโต) เป็นที่บำเพ็ญเพียรของพวกชฎิล  ๕๐๐  คน มีอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า ถือลัทธิบูชาไฟ ต่อมาถูกพระพุทธเจ้าทรงทรมานจนยอมและได้ฟังธรรมจนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  จึงได้ขอบวชในปัจจุบันอาศรมนั้นมีทรายมาก  และมีต้นตาลขึ้นเต็ม  มีสิ่งก่อสร้างของชาว ฮินดู  เป็นบ่อน้ำสำหรับทำพิธีกรรม  และยังเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา ของชาวฮินดูด้วย
   ๑๐. อาศรม “นทีกัสสปะ”
   อาศรมของนทีกัสสปะ  เป็นอาศรมที่ตั้งอยู่ตรงที่แม่น้ำเนรัญชรากับ แม่น้ำโมหณีบรรจบกัน  มีนทีกัสสปะเป็นหัวหน้า  ปกครองชฎิล  ๓๐๐  คน
   ๑๑. อาศรม “คยากัสสปะ”
   อาศรมของคยากัสสปะ  ตั้งอยู่ตรงกับบริเวณศาสนสถานของชาว ฮินดูในปัจจุบัน คือ  วิษณุบาท     มีคยากัสสปะเป็นหัวหน้า  ปกครองชฎิล  ๒๐๐ คน
   ๑๒. ภูเขาดงสิริ หรือถ้ำดงคศิริ
   เป็นถ้ำที่อยู่ในภูเขาดงคสิริ  มีขนาดเล็กพอบรรจุคนได้  ๕  คน  เป็นสถานที่พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรของพระโพธิสัตว์  เพื่อทรงทำทุกรกิริยา ทรมานพระวรกายอยู่นานถึง ๖ ปี ซึงมีพระปัญจวัคคีย์คอยปรนนิบัติ  ในปัจจุบันมีวัดธิเบตสร้างอยู่หน้าปากถ้ำ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระเจดีย์ อยู่ห่างกันประมาณ ๗ กิโลเมตร

   ๑๓. วัดไทยพุทธคยา
   วัดไทยพุทธคยา ตั้งอยู่บริเวณมณฑลพุทธคยา  อำเภอคยา  รัฐพิหาร  ประเทศอินเดีย  ห่างจาก สถานที่ตรัสรู้ประมาณ  ๕๐๐  เมตร  บนเนื้อที่  ๑๒  ไร่  ซึ่งรัฐบาลอินเดีย จัดสรรให้เช่า  ในระยะ เวลา  ๙๙  ปี  ต่อสัญญา ได้คราวละ  ๕๐  ปี  นับได้ว่าเป็นวัดไทยแห่งแรกในต่างประเทศ  ที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล ไทย  ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ ปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙)
   วัดไทยพุทธคยาเป็นไทยแห่งแรกในต่างประเทศ ภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย ได้สร้างขึ้นในดินแดนพุทธภูมิ ถือว่าเป็นต้นกำเนิดพระพุทธศาสนา ในโอกาสที่เป็นมงคลสมัยแห่งปีฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรต พุทธศักราช ๒๕๐๐ ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างตามคำเชิญของรัฐบาลอินเดียสมัยนั้น คือ ฯพณฯ  ศรี  เยาวหราล  เนห์รูห์  นายกรัฐมนตรี เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  และเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยในแดนพุทธภูมิคือ การก่อสร้างเริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เสร็จตามโครงการขั้นแรกเมื่อ ปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๓  การก่อสร้างเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมศิลปไทย  พระอุโบสถจำลองแบบมาจากวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ และมีภาพวาดศิลปกรรมภาพพระมหาชนก ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นวัดแรกในต่างแดน โดยช่างจากกรมศิลปากร  
   ปัจจุบันมีพระธรรมทูตประจำ ๕ รูป  มีพระเดชพระคุณพระเทพโพธิวิเทศ  (ทองยอด  ภูริปาโล  ป.ธ.๙, Ph.D.)  เป็นเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา และเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย  โดยมีพระครูปลัด ดร.ฉลอง  จนฺทสิริ (ป.ธ.๔, Ph.D.)  เป็นเลขานุการพระธรรมทูต และมีพระราชรัตนรังสี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ Ph.D.) พระสมุทร ถาวรธมฺโม Ph.D. และพระมหาพิรุฬห์ พทฺธสีโล ปธ. ๕, M.A.
   การทอดกฐินประจำปี เป็นกฐินพระราชทาน เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
   ๑๙. พระพุทธรูปใหญ่  วัดญี่ปุ่น
   พระพุทธรูปองค์นี้ สร้างจำลองจากพระพุทธรูป ใหญ่ในประเทศ ญี่ปุ่น  เป็น พระพุทธรูป แกะสลักสูง ประมาณ  ๘๐  ฟุต  ด้วยหิน ทรายแดง  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ มีรูปของพระมหาสาวกอยู่ รอบ ๆ  ปัจจุบันจัดเป็น  สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของพุทธคยา คนทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อใดบุตสุ
   ๒๐. วัดชาวพุทธนานาชาติ
   วัดต่าง ๆ  ที่อยู่ในบริเวณพุทธมณฑล  สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของชาวพุทธ ตามแบบ ศิลปะของแต่ละ ประเทศ และตามคำเชิญชวน ของประเทศอินเดีย  ตั้งแต่  พ.ศ. ๒๕๐๐  จนถึงปัจจุบันมี วัดทั้งหมด  ๒๒  วัด  ดังนี้  คือ :-
   วัดไทยพุทธคยา วัดป่าพุทธคยา (ไทย)  วัดเนรัญชราวาส (ไทย)  วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา(ไทย) วัดมหารัชมังคลาจารย์ (ไทย) วัดสิขิม (มหายาน)  วัดภูฐาน  (มหายาน)  วัดญี่ปุ่น  ๒  วัด  (มหายาน)   วัดธิเบต  ๓  วัด (มหายาน)  วัดพุทธอินเดีย  (ชาวพุทธใหม่)  วัดพุทธอินเดียบารัว  (International  Buddhist  Centre)  วัดจักม่า  (ชาวพุทธ เก่าอินเดีย)  วัด บังคลาเทศ  วัดจีน  (มหายาน)  วัดไต้หวัน  (มหายาน)  วัดศรีลังกา  วัดพม่า  วัดไทโพธิคำ  วัดเวียดนาม  (มหายาน)  วัดเกาหลี (ใต้) (มหายาน)



ภาพนี้เป็นภาพสุดท้าย ที่พี่สิงห์ภ่ายในการไปจาริกแสวงบุญที่อินเดีย-เนปาล ครับ

      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1665 เมื่อ: 18 มีนาคม 2554, 16:24:18 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 17 มีนาคม 2554, 10:37:31
                         วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2554 พี่สิงห์มีประชุมตอน 18:00-20:00 น. เพื่อสรุปเรื่องการจัดการแข่งขันกอล์ฟ วิศวฯ รุ่น 54(2513) ดังนั้น ช่วงเช้าว่าง สามารถไปงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ดร.กุศล  ได้  ได้คุญกับคุณดิเรก PSTC แล้ว ว่าติดประชุมจัดกอล์ฟ จึงเลื่อนนัดกันไปปากช่อง ครั้งต่อไปไม่มีกำหนด
                           ขอแจ้งให้ ดร.กุศล ทราบ
ยินดีครับที่พี่มานพสามารถไปได้
ความจริงบ้านไม่ไหม่หรอกครับแต่ราชภัฏเขาปรับปรุงให้สามารถอยู่ได้สุขสบายตามอัตภาพ
และมีพี่ๆอาวุโสที่เคยทำงานร่วมกันหลายท่านอยากได้มาพบปะพูดคุยกัน จึงถือเป็นวันดี
และวันดังกล่าว ใครมีพระห้อยคอเก่าๆที่ต้องการปลุกเศกขอให้นำมาร่วมพิธีด้วย
พระท่านจะใช้เวลาสวดไม่เกินครึ่งชั่วโมงก็เสร็จพิธี
สำหรับรายการ
10.30พระเริ่มสวด ทำพิธี
11.00 ถวายอาหารพระ7รูป
ต่อจากนั้นทุกคนรับประทานอาหารร่วมกัน
ประมาณเที่ยงเศษๆคงเสร็จพิธี
สำหรับบ้านพัก อยู่ใกล้ๆประตู2ในราชภัฎพระนครถนนแจ้งวัฒนะ(สังเกตุฝั่งตรงข้ามประตูมหาวิทยาลัยจะมีร้านแมคโดนัล)
จากประตู2เดินเข้าไปซอยแยกที่3ด้านขวามือจะเห็นลานจอดรถซึ่งอยูหน้าตึกเทคโนโลยี เซรามิค(จากประตู2เข้าไปประมาณ300เมตร)
ด้านขวามือของตึกเซรามิกเดินเข้าไปและเลี้ยวขวา หลังที่สอง(หลังสุดท้าย)ก็จะเห็นบ้านที่ผมอยู่ครับ
สำหรับชาวหอทราบว่ามี พี่ติ๋ว พี่ป๋อง เมาและปิ๊ดที่จะมาครับ

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1666 เมื่อ: 19 มีนาคม 2554, 06:06:01 »


สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                         เป็นอันว่า ผมได้ลงภาพและเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในการไปทัวร์จาริกแสวงบุญ พุทธสถาน ๔ ตำบล ที่อินเดีย-เนปาล จบไปแล้ว ท่านใดมีข้อสงสัยประการใด ยินดีตอบคำถามให้เพื่อว่าปีหน้าท่านอยากไปบ้าง จะได้ไม่กังวลใด ๆ ทั้งสิ้น ครับ
                         การไปอินเดียถ้าท่านพูดภาษาอังกฤษได้ และไม่อยากนั่งรถนาน ๆ มีห้องน้ำดี ๆ อาหารดี ๆ ผมขอแนะนำให้ไปโดยรถไฟขบวนพิเศษที่การรถไฟอินเดีย ร่วมกับการท่องเที่ยวอินเดียเป็นผู้จัด โดยเริ่มต้นที่กรุงนิวเดลลีและจบลงที่ทัชมาฮาล ชื่อว่าขบวน "ปรินิพพาน" ครับลองเปิดหาดูใน internet และผมมีรายละเอียดครับแต่อยู่ที่บ้าน น่าสนใจเพราะนอนบนรถนอนพิเศษ ปลอดภัย เป็นส่วนตัวครับ
                         อย่าลืมผู้ที่สนใจจะไปจาริกแสวงบุญพุทธสถาน ๔ ตำบล ท่านต้องวางแผนแล้ว ถ้าจะไปพร้อมกับผม ผมยินดีที่จะอำนวยความสะดวกให้ ขอให้แจ้งความจำนงค์มาเลย ผมจะไปเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัด กำลังหนาวนิดๆ ซึ่งเหมาะมากครับและให้ตรงกับวันมาฆะบูชา ด้วย ซึ่งผมได้เรียนให้ ดร.พระมหาสุเทพ ทราบความจำนงค์ของผมแล้วครับ
                         ที่สุดของที่สุดพึงมีในโลกนี้คือ "อินเดีย" จึงหน้าที่เราจะได้ไปเรียนรู้ด้วยการเห็นของจริงด้วยตัวเอง ครับ
                         สวัสดี

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1667 เมื่อ: 19 มีนาคม 2554, 10:39:04 »


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                         พี่สิงห์ขอแจ้งกำหนดการเดินทางของพี่สิงห์ให้ทุกท่านได้ทราบตามนี้ สำหรับอาทิตย์หน้าครับ
                         วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พี่สิงห์ เดินทางกลับกรุงเทพฯ Boarding 15:55 น. จากนครศรีธรรมราช
                         วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม เช้าไปตีกอล์ฟที่สนาม President บ่ายนั่งทำงานที่บ้านเขียนแบบโรงงาน
                         วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม นั่งทำงานที่บ้านเขียนแบบโรงงาน
                         วันอังคารที่ 22 มีนาคม บ่ายเดินทางไปทำงานที่นครศรีธรรมราช boarding 14:15 น.
                         กลับวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม Boarding 15:55 น. จากนครศรีธรรมราช
                         วันศุกร์ที 25 มีนาคม ต้องไปช่วยจัดงานกอล์ฟให้ บริษัท SIW ที่สนามกอล์ฟราชกระบัง งานเลี้ยงลูกค้า
                         เรียนให้ทราบทั่วกัน ใครจะให้พี่สิงห์ทำอะไรให้ เรียนเชิญ ครับ
                         สวัสดี

      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1668 เมื่อ: 19 มีนาคม 2554, 18:41:32 »

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...
...พุทธคยา...งามมากค่ะ...ที่เมืองไทยก็มีพุทธคยาจำลองค่ะ...อยู่ที่วัดญาณสังวราราม...ชลบุรี...ค่ะ...
...ประเทศอินเดียก็เป็นประชาธิปไตย...ทำไมพวกจัณฑาลถึงไม่ทำงานคะ...
...หรือว่าประเทศเค้ามีคนว่างงานเยอะ...จริงๆทำพวกงานกรรมกรก็ได้...เป็นแม่บ้านคือรับจ้างทำงานบ้าน...
...หรือเป็นลูกจ้างตามสถานที่ต่างๆ...วรรณะนี้ต้องขอทานอย่างเดียวเลยเหรอคะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1669 เมื่อ: 20 มีนาคม 2554, 20:50:38 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ที่รัก
                         วรรณะในอินเดียพี่สิงห์ก็ไม่มีความรู้เท่าไรหรอก แต่อย่าลืมว่าคนอินเดียมีพันกว่าล้านคน ความแตกต่างระหว่างคนรวย-คนจนมีมาก ๆ และคนอินเดียก็ยอมรับความจริงเพราะพระเจ้าบันดาลให้เขามาเกิดอย่างนั้น เขายอมรับชะตากรรม นั้นและเขาก็มีอาชีพของเขา เขาก็แต่งงานในหมู่ของเขา จะให้เขาไปทำอย่างอื่น วรรณะอื่นก็รังเกียจ เราอย่าไปเดือดร้อนแทนเขาเลย เขาก็มีความสุขของเขา ธรรมชาติให้เขาเป็นแบบของเขา ธรรมชาติก็รักษาชีวิตเขา มันเป็นของมันแบบนั้นครับ
                           ดูอย่างขอทานเมืองไทย มีครบ ๓๒ เราคิดว่าเขาน่าที่จะไปหางานทำ แต่เขาก้ไม่ไปทำ ทำอาชีพขอทานดีกว่า สบายกว่า ดังนั้น ทางที่ดีเราอย่าไปคิดแทนเขา ถ้าอยากให้ก็ให้ ไม่อยากให้ก็อย่าให้ ทำไม่รู้ไม่เห็น หรือเห็นก็อย่าไปปรุงแต่งอารมณ์ในสิ่งที่เห็น วางอุเบกขาเข้าไว้ รับรู้ในสิ่งที่เห็น ปล่อยวาง พอเป็นอดีตผ่านไปก็ลืมทันที เราก็จะมีจิตที่สงบ ไม่ทุกข์ในสิ่งที่เห็น คิดเสียว่า ต่างคนก็มีความคิดต่างกัน มีความพอใจต่างกัน แล้วเราจะไปทุกข์แทนเขาในสิ่งที่เราทำแบบเขาไม่ได้ ไปทำไม? จริงไหม?
                           ความจริงวรรณะ ต่าง ๆ ในอินเดียมีมากมายเป็นร้อย แต่ที่สำคัญมีสี่วรรณะ 
                           พี่สิงห์นำวรรณะอินเดียปัจจุบัน มาให้อ่านเพื่อประดับความรู้ ครับ
                             ราตรีสวัสดิ์ครับ

"วรรณะในศาสนาพราหมณ์"
ขอขอบพระคุณ : บทความจาก www.human.cmu.ac.th
บรรยายโดย อาจารย์พีรพล อิศรภักดี


วรรณะพราหมณ์
คำว่า พราหมณ์ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพระพรหม พระเวท และอาตมา ในคัมภีร์ธรรมศาสตร์ บอกไว้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งมีลักษณะ 11 ประการดังต่อไปนี้ ผู้นั้นย่อมเป็นพราหมณ์บางทีก็บ่งว่า ผู้เป็นพราหมณ์ย่อมมีลักษณะ 11 ประการตามธรรมชาติ คือ ศม (ะ) ทม (ะ) ตป (ะ) เศาจ (ะ) สนโตษ (ะ) กษมา สรลตา ชญาน (ะ) ทยา อสติกตา และ สตย (ะ) ซึ่งแต่ละข้อมีความหมายดังต่อไปนี้

1. ศม (ะ) หมายถึง สภาพที่ภายในจิตใจไม่มีความยุ่งยาก หรือปั่นป่วนด้วย กาม โกรธ โลภ หรือหลง (โมหะ) แม้แต่ประการใด เป็นธรรมชาติของเขาเช่นนั้นแม้ตั้งแต่วัยเด็กมา ความวิกลวิการยุ่งยากปั่นป่วนภายในจิตใจของบุคคลเช่นนี้ก็ไม่เกิดง่าย
2. ทม (ะ) หมายถึง สภาพที่จิตใจได้รับการระงับไว้แล้ว กล่าวคือรู้จักข่มจิตใจของตนด้วยความสำนึกในเมตตาและมีสติอยู่เสมอ รู้จักมีจิตใจอดกลั้นไม่ปล่อยให้หวั่นไหวไปตามอารมณ์ได้ง่ายๆ
3. ตป (ะ) แปลตามศัพท์แปลว่า ความร้อน หรือ การร้อน แต่ในที่นี้มีความหมายว่า ฝักใฝ่แต่ในความประพฤติในอันที่จะหาความรู้ หาความจริงและพยายยามแต่จะให้ประสบผลสำเร็จในการหาความรู้และความจริงนั้น ไม่ว่าจะต้องผจญกับความยากลำบากสักเพียงไร ก็พยายามพากเพียรจนสำเร็จผลลงให้จงได้
4. เศาจ (ะ) แปลตามศัพท์ว่า ความบริสุทธิ์ หมายถึง การทำตนเองให้เป็นผู้มีความบริสุทธิ์ทั้งจิตใจและร่างกาย
5. สนโตษ (ะ) หมายถึง สภาพที่พอใจ หรือมีความสุขอยู่แล้วในทางสันติ
6. กษมา หมายถึง ความอดกลั้น หรือความอดโทษ กล่าวโดยย่อก็คือ (สงบ) มีความพากเพียรพยายามและอดทน โดยถือเอาความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้งนั่นเอง
7. สรลตา แปลว่า ความซื่อหรือความตรงโดยนิสัย คือทั้งพูดตรงและทำตรง
8. ชญาน (ะ) แปลว่า ความรู้ ความเห็น ความชอบ ความถูกต้อง หรือความวิเวก ในที่นี้หมายถึง ความชอบทางการศึกษาหาความรู้นั่นเอง
9. ทยา หมายถึง ความมีเมตตากรุณาต่อชีวิตทั้งหลาย
10. อสติกตา ได้แก่ การมีความเชื่อถือ ไว้วางใจ และมอบความจงรักภักดีไว้ต่อพระพรหมนั่นเอง
11. สตย (ะ) แปลตามศัพท์ว่า จริงหรือความจริง หรือศุทธมติ (ความเห็นอันบริสุทธิ์ใจ) หรือ ความเห็นอันสุจริต กล่าวคือควรแสดงความซื่อสัตย์ต่อกันและกัน จนถึงทำให้เป็นที่ไว้วางใจกันและเชื่อใจกันได้โดยไม่คิดคดทรยศต่อกันอีกต่อไป
เหล่านั้นคือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ หรือลักษณะความประพฤติของชนวรรณะพราหมณ์ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ธรรมะของพราหมณ์ นั่นเอง นอกจากนี้ในหินทูธรรมศาสตร์ ได้มีการกำหนดการกระทำของชนในแต่ละวรรณะไว้ด้วยว่า วรรณะใดมีการกระทำชนิดไหนบ้าง ที่ชนในวรรณะนั้นจะพึงกระทำได้ โดยไม่เสื่อมเสีย และโดยสมควร ทั้งนี้บัญญัติไว้เพื่อความสะดวกในการครองชีพของชนแต่ละวรรณะ เช่น ชนวรรณะพราหมณ์นี้มีสิทธิหรือมีหน้าที่ ที่จะกระทำได้ถึง 6 ประการ คือ
1. ปฐนํ ได้แก่การรับการศึกษาชั้นสูง และการพยายามแสวงหาความจริง
2. ปาฐนํ ได้แก่การให้การศึกษาแก่ผู้อื่น เช่น เป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นต้น
3. ยชนํ ได้แก่การทำพิธีบูชาต่าง ๆ เช่น พิธียัชญ์ (หรือยัญญกรรม) และจัดพิธีการกุศลต่าง ๆ ด้วยตนเอง
4. ยาชนํ ได้แก่การทำพิธีบูชาต่าง ๆ เช่นพิธียัญญกรรม และพิธีการกุศลอื่น ๆ ตามความประสงค์ของผู้ใดผู้หนึ่ง ที่มีจิตศรัทธาใคร่จะให้ประกอบพิธีกรรมใด ๆ ให้
5. ทานํ ได้แก่การทำบุญให้ทานแก่ผู้อื่นตามกำลังเท่าที่จะสามารถทำได้
6. ประติครห (ะ) ได้แก่การรับทำบุญจากผู้มีจิตศรัทธา
นอกจากสิทธิและหน้าที่ทั้ง 6 ประการดังกล่าวนั้นแล้ว หากจำเป็นกล่าวคือ ในยามวิบัติกาล (คราวคับขันหรือในยามยากลำบาก) ผู้ที่แม้เป็นพราหมณ์ก็อาจประกอบการกสิกรรมการค้าขายหรือธุรกิจอื่น ๆ อีกได้เพื่อแก่การครองชีพที่สมควรในชีวิตนี้
________________________________________
วรรณะกษัตริย์
คำว่า กษัตริย์ (บาลีว่า ขตติย) แปลว่า นักรบหรือผู้ป้องกันภัย เป็นวรรณะที่ 2 รองจากวรรณะพราหมณ์ในหินทูธรรม วรรณะกษัตริย์นี้มีสิทธิปกครองประเทศชาติ สรุปง่าย ๆ ก็คือทำหน้าที่เป็นเจ้าแผ่นดินนั่นเอง ในคัมภีร์ธรรมศาสตร์บ่งไว้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งมีลักษณะ 11 ประการดังต่อไปนี้ ผู้นั้นย่อมเป็นกษัตริย์ บางทีก็บ่งว่า ผู้เป็นกษัตริย์ย่อมมีลักษณะ 11 ประการตามธรรมชาติ คือ ศูรตา วีรย(ะ) ไธรย(ะ) เตช(ะ) ทาน(ะ) ทม(ะ) กษมา พราหมณภกติ ปรสนนตา รกษาภาว(ะ) และ สตย(ะ) ซึ่งแต่ละข้อ มีความหมายดังต่อไปนี้
1. ศูรตา แปลว่า ความกล้าหาญ ผู้เป็นวรรณะกษัตริย์ควรจะเป็นผู้มีความกล้าหาญและแข็งแรงเป็นวีระบุรุษในหมู่ชนได้ ไม่รู้จักมีความขลาดกลัว
2. วีรย(ะ) แปลว่า แรง กำลังหรืออำนาจ มีความเพียร มีความมั่นคงในการรู้เผชิญภัย ตลอดจนความมั่นคงในการรบทัพจับศึก ผู้อยู่ในวรรณะกษัตริย์ควรมีลักษณะเช่นนี้ด้วย
3. ไธรย(ะ) แปลว่า ความมั่นคง ไม่รู้จักเบื่อหน่ายท้อถอย มีแต่ความเพียรพยายามอย่างมั่นคงอยู่เสมอเป็นนิตย์
4. เตช(ะ) ตามศัพท์แปลว่า ความร้อน หรือ ร้อน แต่ในที่นี้หมายถึงความมียศและมีเกียรติ กล่าวคือ รู้จักใช้อำนาจเท่าที่มีอยู่แล้วในทางที่ถูกต้องและสุจริต เพราะฉะนั้นผู้ที่จะได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ ควรจะเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในความสุจริตทุกประการ
5. ทาน(ะ) แปลว่า การให้ หมายถึง ความมีจิตใจที่เต็มไปด้วยอุปการะ และชอบทำการอุปถัมภ์บำรุงแก่ผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์ คือชอบทำบุญ ฝักใฝ่ในการทำบุญนั่นเอง
6. ทม(ะ) และ 7. กษมา ทั้ง 2 ข้อแห่งลักษณะโดยธรรมชาติของกษัตริย์ซึ่งเหมือนกับ 2 ลักษณะของธรรมชาติแห่งพราหมณ์
8. พราหมณภกติ แปลว่า ความภักดีต่อพราหมณ์ เพราะขึ้นชื่อว่าวรรณะกษัตริย์แล้วควรนับถือวรรณะพราหมณ์อยู่เสมอ ถ้าจะพูดไปแล้วก็ทำนองเดียวกับว่าวรรณะพราหมณ์สูงกว่าวรรณะกษัตริย์นั่นเอง กษัตริย์จึงต้องนับถือพราหมณ์
9. ปรสนนตา แปลว่า ความร่าเริงยินดี ความไม่รู้จักวิตก และยิ่งไปกว่านั้นก็คือแสดงความยินดี และก่อให้เกิดความปลื้มปิติให้แก่ผู้อื่นด้วย หรือทำให้ผู้อื่นบังเกิดความยินดีเปรมใจไปด้วย
10. รกษาภาวะ หมายถึง การเตรียมตัวพร้อมอยู่เสมอในอันที่จะปกปักรักษาประเทศชาติและช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอ หรือเพื่อรักษาความยุติธรรม
11. สตย(ะ) ได้กล่าวมาแล้วในข้อสุดท้ายแห่งธรรมชาติและลักษณะของพราหมณ์
เหล่านั้นคือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ หรือลักษณะของชนในวรรณะกษัตริย์ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมะของกษัตริย์ นั่นเอง ผู้เป็นวรรณะกษัตริย์ควรฝึกให้เป็นนิสัยติดตนไปโดยธรรมชาติ นอกจากนั้นแล้วผู้เป็นวรรณะกษัตริย์ ควรมีการกระทำกำหนดไว้ด้วยว่าหน้าที่ของตนก็คือ 4 ประการนี้ กล่าวคือ
1. ปฐนํ
2. ยชนํ
3. ทานํ
ทั้ง 3 ประการแรกนี้จะสังเกตได้ว่าสิทธิและหน้าที่ของ พราหมณ์ และ กษัตริย์ คล้ายคลึงกันมากจะต่างกันก็แต่เพียงว่า พราหมณ์ทำหน้าที่ ปาฐ (สอน) และ ยาชญ (บูชา) ด้วยเท่านั้น
กษัตริย์เป็น รกษก(ะ) (ผู้รักษา หรือผู้คุ้มครองป้องกัน) เพราะฉะนั้นกษัตริย์จึงต้องเป็นผู้มีความมั่นใจในการคุ้มครองรักษาดินแดน ป้องกันมิให้ผู้ที่อ่อนแอเป็นอันตรายไปได้ รู้จักใช้อาวุธต่าง ๆ รู้จักการยุทธวิธีตามสมัย ตลอดจนรู้จักหลักวิชากฎหมาย คือนิติศาสตร์ด้วย
นอกจากสิทธิและหน้าที่ทั้ง 4 ประการดังได้กล่าวมาแล้วนั้น หากจำเป็น กล่าวคือ ในยามวิบัติกาลพระธรรมศาสตร์ ก็ยังอนุญาตให้ผู้ที่แม้เป็นกษัตริย์ก็อาจประกอบอาชีพอื่นได้ เช่นเป็นครูบาอาจารย์ ทำพิธีบูชายัญและการกุศลต่าง ๆ ทำการกสิกรรมและการค้าขาย เพื่อการครองชีพได้ ที่ทำไม่ได้เหมือนชนในวรรณะพราหมณ์มีอยู่อย่างเดียว คือรับทำบุญให้แก่ผู้อื่นไม่ได้เท่านั้นเอง
________________________________________
วรรณะแพศย์ หรือ ไวศยะ
เป็นวรรณะที่ 3 ในหินทูธรรม หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ประกอบการค้าและพาณิชยการต่างๆ ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์บ่งไว้ว่า ผู้หนึ่งผู้ใดมีลักษณะ 4 ประการดังต่อไปนี้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็น ไวศย คือ
1. มีความเฉลียวฉลาดในการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่างๆ หรืออีกนัยหนึ่งในการค้าขายนั่นเองมีความมั่นใจ ในการอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย เพราะอุตสาหกรรมมักเกิดมาควบคู่กับพณิชยกรรมเสมอ
2. มีสมองดีในการคิดเลข บวก ลบ คูณ หาร ต้นทุน กำไร ฯลฯ และรู้จักว่า เมื่อไรควรเสีย เมื่อไรควรได้ รอบคอบอยู่เสมอ
3. มีความเชื่อถือและความจงรักภักดีต่อพระเป็นเจ้า คือ พระพรหม ผู้สร้างโลก ตลอดจนคำสั่งสอนของพระพรหมด้วย
4. มีความนับถือวรรณะพราหมณ์และวรรณะกษัตริย์ ทั้งนี้จะแสดงความนับถือนั้นออกมาได้ก็ด้วยการไปพบปะและสนทนากับชนในวรรณะพราหมณ์ เพื่อขวนขวายหาความรู้ทางธรรม แล้วนำเอาความรู้นั้นมาใช้ในชีวิตประจำวัน มีการปฏิบัติตามคำสั่งสอนนั้นๆ ด้วย ส่วนที่ว่าควรมีความจงรักภักดีต่อชนในวรรณะกษัตริย์นั้นก็คือควรปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่ฝ่าฝืนแม้แต่ประการใด

ข้อควรปฏิบัติของชนในวรรณะไวศยะนี้ก็คือให้ทำการประกอบอาชีพกสิกรรมและการค้าขายแต่ในยามวิบัติกาลแล้ว พระธรรมศาสตร์ก็อนุญาตให้ประกอบอาชีพได้ทุกอย่างตามกาลเทศะ แต่ทว่ามีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นอาชีพที่สุจริตเท่านั้นเอง
________________________________________
วรรณะศูทร
เป็นวรรณะที่ 4 ในหินทูธรรม (ค่อนข้างได้รับการเอาเปรียบจากวรรณะอื่นๆ) ท่านว่าศูทรนี้มีกำเนิดมาจากเบื้องพระบาทของพระพรหม เพราะฉะนั้นจึงทำหน้าที่เป็น เสวก(ะ) คือเป็นผู้รับใช้ในกิจการงานต่าง ๆ โดยทั่วไปในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์บ่งไว้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งมีลักษณะทั้ง 7 ประการ ต่อไปนี้ผู้นั้นได้เชื่อว่าเป็นศูทร คือ
1. นมรตา แปลตามศัพท์ว่า ความอ่อนน้อม หรือ คด โค้ง งอ อันเป็นลักษณะของผู้ที่ต้องค้อมตัวคอยรับใช้ผู้อื่นอยู่เสมอด้วยความเสงี่ยมเจียมตน ในอีกนัยหนึ่ง นมรตา แปลว่า วินัย คือการวางตนให้จำกัดอยู่แต่ในระเบียบแบบแผนและข้อบังคับโดยมีหิริโอตตัปปะ (ความกลัวและความละอายต่อการที่จะประพฤติชั่ว) และมุทุตา (ความอ่อนหวาน หรือความเป็นผู้มีใจอ่อน ความละมุนละม่อมก็ได้) เป็นหลักอยู่ในความประพฤติและปฏิบัติ
2. นิษกปฏตา แปลตามศัพท์ว่า ความเป็นผู้ปราศจากความเฉื่อยชา ปราศจากการล่อลวง ปราศจากการตลบแตลง ปราศจากความคดโกง กล่าวคือมีแต่ความซื่อสัตย์เยี่ยงทาสและผู้รับใช้ที่ดีมีหลักธรรมะ และความเจียมตัวเจียมกายแล้วทั้งปวง
3. เศาจ(ะ)
4. อาสติกตา หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของไวศยะ คือ เสียภาษีให้รัฐ
5. อสเตย(ะ) แปลว่า ไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่กระทำโจรกรรมน ั่นเอง
6. สตย(ะ) โปรดดูในลักษณะข้อ 11 ของพราหมณ์
7. อาทรภาว(ะ) แปลตามศัพท์ว่า ภาวะแห่งความเคารพนับถือที่แสดงต่อหรือมีต่อผู้อื่น ในที่นี้หมายถึงว่าควรมีความเคารพนับถือและจงรักภักดีต่อชนในวรรณะที่สูงกว่าทั้ง 3 วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณกษัตริย์ และวรรณะแพศย์
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามีวรรณะเป็นศูทรที่ดีควรจะมีลักษณะทั้ง 7 ประการ ดังกล่าวแล้วติดเป็นนิสัยหรือมีวาสนามาก่อนแล้วตามธรรมชาติ มีการกระทำอันได้กำหนดไว้แล้วว่า ควรกระทำหน้าที่รับใช้หรือเป็นคนใช้ของชนในวรรณะหลาย แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะเป็นทาสที่ไม่มีอิสรภาพเสียเลย ยังคงเป็นผู้มีอิสรภาพอยู่หากคอยเป็นผู้ช่วยของชนในวรรณะทั้งสามเท่านั้น กล่าวคือผู้เป็นวรรณะศูทรควรมีความรู้ในทางปรนนิบัติวัตถากต่อวรรณะทั้งสามที่สูงกว่า
________________________________________
อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวกับการงานของชนในวรรณะทั้ง 4 ในยามวิบัติกาล (ฉุกเฉิน) แล้ว ชนทั้ง 4 วรรณะย่อมมีสิทธิที่จะกระทำสิ่งใดได้ทุกสิ่งทุกประการ เพื่อความสะดวกในการครองชีวิตอยู่ในปัจจุบัน



      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1670 เมื่อ: 21 มีนาคม 2554, 10:53:00 »

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...
...ตู่ไม่ได้มีความทุกข์หรอกค่ะ...แต่ตู่คิดในแง่ของนักบริหาร...(เอาวิชาที่เรียนมาใช้ให้เป็นประโยชน์)...
...คือ...Put the right man to the right job...อ่ะค่ะ...
...ตามปกติถ้าตู่เจอขอทาน...ไม่ว่าจะเป็นยังไง...ก็จะให้ตลอดค่ะ...
...แต่ถ้าพิการก็ให้มากหน่อย...ไม่ได้คิดว่าเป็นขบวนการหลอกตุ๋นค่ะ...
...คิดว่าถ้ามีแบบนั้นก็ควรจะต้องปราบเหมือนกันค่ะ...
...มีนะคะ...เคยเห็นตามตลาดนัดจะดูออกค่ะ...
...แบบว่าทำตัวเองให้มีแผลเยอะๆ...เป็นการตกแต่งค่ะ...ถ้าเจอแบบนั้นก็ไม่ให้...
...ส่วนบางคนที่ให้...ก็คิดว่าถ้าเค้าไม่ลำบากจริงๆ...เค้าคงไม่มานั่งขอทานค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1671 เมื่อ: 21 มีนาคม 2554, 11:40:58 »

พี่ตู่ครับ
ต้องขอชมเชยว่าพี่ตู่มีจิตใจงาม
มีเมตตากับคนรอบข้าง
ผลบุญจึงบังเกิดมากมาย
เรื่องขอทานในปัจจุบัน
ถ้ามองตามหลักการปกครองก็ถือว่าเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง
จะเห็นได้ว่า ประเทศที่เจริญบางแห่งเขามีกฎหมายห้ามขอทาน
พระทางพุทธศาสนาบางรูปออกบิณฑบาตรก็โดนจับเพราะผิดกฎหมายประเทศนั้นๆ
จึงกลายเป็นว่า ประเทศที่เจริญจะไม่มีขอทาน
ส่วนประเทศด้อยพัฒนายังมีอยู่
สำหรับขอทานที่น่ารังเกียจกุศลมองว่า
1.พวกที่มาขอทานตามกระบวนการของแก๊งค์ค้ามนุษย์เอาเปรียบสังคม
พวกนี้ไม่ทำงานและหลอกลวงชาวบ้านจนร่ำรวย
รัฐบาลควรกำจัดกลุ่มพวกนี้ด้วยซ้ำไป
2.พวกทารุณเด็ก ในอินเดียพวกเด็กเร่ร่อนมีมากมาย
คนใดมีความสามารถหรือมีพรสวรรค์มาก
จะถูกแก๊งค์ผู้ใหญ่เอาน้ำกรดหยอดตาให้บอด
แล้วไปเที่ยวขอทานทำเงินให้(จากเรื่องจริงที่ถูกแฉในภาพยนตร์อินเดียเดอะมิลเลียนแนร์ จนได้รับรางวัลมาแล้ว)
3.พวกทารุณเด็ก สตรี และคนชรา
พวกนี้เห็นได้จากขอทานแถวบ้านเรามากมาย
มีทั้งคนไทยและคนจากประเทศเพื่อนบ้านเราเอง
เด็กเขมร สตรีอุ้มเด็กมานั่งเปิดนมข้างถนน รวมทั้งคนแก่หิ้วกระเป๋าวีต๊องแต่ใส่ใว้ในถุงพลาสติกอีกชั้น
คนพวกนี้ผมมาต่อรถไฟฟ้าที่เซ็นทรัลลาดพร้าวเห็นอยู่ทุกวี่ทุกวัน
เช้าขึ้นมีรถกระบะเล็กๆขับมีส่งเป็นจุดๆ
ตกเย็นหรือกลางคืนก็ขับรถมารับ
ยิ่งเวลามีงานสำคัญทางศาสนา
พวกนี้ก็ยกทีมกันมาขอทานจนดึกดื่น
พระเจ้าจะสวดมนต์พวกนี้ก็เปิดเครื่องเสียงร้องเพลงสนั่นวัดรบกวนชาวบ้าน
สรุป
ใครอยากทำบุญก็ไม่ว่ากัน
แต่การปฎิบัติตามหลักศาสนาที่แท้จริงคือ
เราต้องมีสติในการกระทำแล้วจะได้ไม่เจ็บใจภายหลังว่าเราสนับสนุนให้คนชั่วใด้ทำกรรมชั่วกับบุคคนอื่นได้ครับ

      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1672 เมื่อ: 21 มีนาคม 2554, 14:15:57 »

...ใช้แล้วค่ะ...กุศล...แก๊งค์หลอกลวงเนี่ยต้องกำจัดให้หมดสิ้น...
...แถวปอยเปตเยอะเลยอ่ะ...บางทีตีกันเพราะแย่งของค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1673 เมื่อ: 21 มีนาคม 2554, 20:58:46 »


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                         ควันหลงจาก ที่พี่ ๆ ผู้อาวุโสของชมรมฯ พี่ทองอู่  พี่สมบุญ และพี่ตัน ได้ให้พรพี่สิงห์ ในการให้รู้จักดูแลร่างกายตัวเอง เพราะเป็นคนแก่แล้ว คืออายุหกสิบปีบริบูรณ์ไปแล้ว ต้องดูแลร่างกาย เพราะถ้าไม่ดูแลร่างกายตัวเองให้ดีแล้ว จะแก่เร็ว เจ็บป่วย ตายเร็วเกินไป พร้อมกับได้รับน้องพี่สิงห์เป็นที่เรียบร้อยในฐานะผู้อาวุโสของชมรมฯ ครับ
                         พี่สิงห์ตระหนักดีครับในเรื่องการดูแลร่างกาย เพราะอยู่คนเดียว การเจ็บป่วย หกล้มเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่มีใครช่วยได้ จึงต้องฝึกจิตตัวเองให้มีสติ ณ ปัจจุบันให้มากๆ เข้าไว้เตือนตัวเองในทุกอิริยาบถ ต้องรู้ตัว ไม่ปล่อยจิตให้คิดเรื่อยเปื่อย ไปต่างๆนาๆ ในการเดิน ยืน นั่ง นอน หรือทำกิจวัตรประจำวัน รวมทั้งเวลาทำงาน ต้องมีสติ จิตคนนั้นพระพุทธเจ้าท่านสอนว่า สามารถฝึกได้ ก็จริงของท่านครับ จิตคนฝึกได้
                         ทุกวันนี้สิ่งที่พี่สิงห์กระทำกับตัวเองอย่างเข้มงวดคือให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้
                         ๑. ระวังเรื่องอาหาร กินเท่าที่ร่างกายต้องการ ไม่มีความอยากเข้ามาปะปน ถือว่าอาหารเป็น "ยา"
                         ๒. ออกกำลังกาย อย่างน้อยมากกว่าสี่วันในหนึ่งสัปดาห์ คือเดินให้หัวใจเต้น 130 นาที ครึ่งชั่วโมง ฝึกTAICHI และโยคะ
                         ๓. พักผ่อนให้เพียงพอ คือนอนสามทุ่ม แบบมีสติเพราะรู้วิธีนอนให้หลับ คือหยุดคิดทั้งสิ้นเวลาจะนอนหลับ
                         ๔. เจริญสติ ดูกาย ดูใจ(ความคิด)ตัวเอง เช้ามืดตีห้า และก่อนนอนภายหลังสวดมนต์เสร็จ หรือเมื่อจิตคิดมากๆ ไม่สงบ
                         ๕. ไม่รับรู้ข่าวสารการเมืองทั้งสิ้น ไม่สนใจใครทั้งสิ้น สนใจเฉพาะจิตตัวเอง ไม่คิดแทนใคร ปล่อยวาง ทำจิตให้สงบ ว่าง ๆ
                         ๖. จำกัดขอบเขตในการสังสรรค์ หรือพบปะบุคคลต่างๆ เท่าที่จำเป็น แต่ยินดีช่วยทุกท่านเท่าที่จะทำได้ขอให้รู้เท่านั้น
                         ๗. ไปหาแม่ให้ได้มากที่สุด ตามสภาพเวลาที่จะอำนวยให้ เพราะยังต้องทำงานเลี้ยงตัวเอง
                         ๘. อยู่อย่างพอเพียง ตัดความอยากไปได้แยะ ไม่ยึดมั่นกับสิ่งที่เคยได้รับ(อุปาทานขันธ์ ๕)มาในอดีต
                         ๙. ใครจะว่าเราอย่างไร? ก็ไม่โกรธ เพราะมีสติมาคอยสกัดเอาไว้ ให้ปล่อยวาง และไม่สนใจความคิดคนอื่น
                         ผิด-ถูกไม่รู้ แต่พี่สิงห์ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนเพราะพี่สิงห์แน่นอน และไม่เบียดเบียนใคร เพราะนี่คือความตั้งใจของพี่สิงห์
                         ราตรีสวัสดี ครับ
              
      บันทึกการเข้า
pusadee sitthiphong
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

คณะ: พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
กระทู้: 4,689

« ตอบ #1674 เมื่อ: 21 มีนาคม 2554, 21:02:44 »

สวัสดีค่ะพี่สิงห์
ตามอ่านเรื่องเมืองอินเดียของพี่สิงห์และพี่กุศลอยู่ค่ะ
      บันทึกการเข้า

pom shi 2516
  หน้า: 1 ... 65 66 [67] 68 69 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><