28 มีนาคม 2567, 22:40:09
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 63 64 [65] 66 67 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3207306 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1600 เมื่อ: 09 มีนาคม 2554, 14:56:35 »

เรื่องที่6 ยายมาลี
ถ้าใครต้องการดูหน้าคุณยายมาลี
ให้ย้ายกลับไปหน้าที่แล้ว ตรงปาวาฬเจดีย์
ในรูปที่3จะมีรูปคุณมานพยืนคู่คุณป้าแก่ๆอายุราวๆเจ็ดสิบท่านหนึ่ง
คนนั้นแหละครับคุณป้ามาลีที่ในคณะทุกคนรู้จักท่านดี
ไปถึงอินเดียคืนแรก รุ่งเช้าพวกเราต้องเดินทางต่อ
พอรถจะออกทราบว่ามีคุณยายซึ่งความจริงต้องนั่งรถคันที่สองถูกทิ้งไว้คนเดียว
หลวงพ่อจึงรีบนำมานั่งด้วยกันในรถคันแรกมานั่งตรงหน้าผมพอดี
อีชั้นนึกว่าจะถูกทอดทิ้งไว้คนเดียวเสียอีก......คุณยายตัดพ้อก่อนกระแทกร่างลงนั่ง
ครั้นพอรถออกคุณยายก็ยังบ่นไม่หยุดตามประสาคนแก่
จนเห็นว่าหลายคนหลับสนิทเหลือตัวเองพูดอยู่คนเดียวคุณยายจึงเลิกบ่น
จากนั้นสังเกตุว่าคุณยายก็เจียมเนื้อ เจียมตัวไม่ค่อยเอะอะเหมือนเดิม
วันต่อๆมาคุณยายก็ประพฤติตัวดีขึ้นคือเลิกบ่น
ที่สำคัญแวะจุดใหนคุณยายก็มักจะชื้อขนมเล้กๆน้อยๆมาฝากคนที่นั่งข้างเคียง
ผมเองก็เคยได้รับใบบุญจากคุณยายไปด้วย
อีชั้นเคยขายกวยเตี๋ยวในกรุงเทพขายดีมาก.....คุณยายเริ่มสาธยาย
จนทุกวันนี้ลูกๆรับปริญญากันหมดอีชั้นก็เลิกขาย มาเที่ยวคราวนี้ลูกๆเขาช่วยลงขันให้อีชั้นมา.....คุณยายเล่าภาคภูมิใจ
นอกจากเอาขนมมาแจกลูกๆหลานๆแล้วพวกแม่ครัว คนงาน คุณยายแจกหมดทุกคน
ตอนทานอาหาร ผมสังเกตตอนคุณยายตักแกงยังดูทะมัดทะแมง และน่ากิน
อู๊ยอีชั้นขายที่ใหนร้านข้างเคียงเจ๊งหมด.....คุณยายยังคุยไม่เลิก
ท่าจะจริง  ลีลาคุณยายเด็ดจริงๆ....กุศลชมจากใจจริง

เดี๋ยววันต่อไปผมจะมาเล่ามุกเด็ดของคุณยายต่อ โปรดอดใจรอ




      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1601 เมื่อ: 09 มีนาคม 2554, 16:18:24 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                         พี่สิงห์พยายามสำรวจตัวเอง ว่าทำผิดอะไร ? ทำให้ใครไม่พอใจ ? และต่าง ๆ นา ๆ ก็ไม่รู้ตัวเองครับ พี่สิงห์พยายามไม่ข้องแวะกับใครมาก พยายามอยู่แบบพอเพียง คือ ไม่ไปซอกแซกที่ไหนเลย อยู่แต่ในกระทู้นี้เท่านั้นจริง ๆ ไม่พยายามเข้าไปกระทู้ใครเลย แม้กระทั้งสถานที่อื่นๆ อยู่แต่ที่บ้าน ทำงานที่บ้าน และสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องกระทำเท่านั้น ไม่ไปคุยกับใคร กับเพื่อนฝูง แม้กระทั้งกินข้าวนอกบ้านก็ไม่ไปทั้งนั้น ยกเว้นบ้านอาจารย์พินิจ เท่านั้น เพื่อให้จิตตัวเองไม่วุ่นวายมากนัก พูดง่าย ๆ พยายามไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น ปลีกวิเวก ตามที่พี่ สว.ชรินทร์  ท่านว่า เพราะยิ่งรับรู้มาก จิตมันก็ส่งออกนอกตัวมาก และมันก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ จะว่าผิด พี่สิงห์ก็ผิดตรงนี้ละ ยอมรับ ต้องขออภัยทุกท่านด้วยครับ
                         ทุกวันนี้เรื่องที่ผ่านมา ต่าง ๆ พยายามลืมให้หมด ถ้าจะมีเหลือก็ขอให้เหลือแต่ความทรงจำที่ดี ๆ แต่ก็ไม่รู้สึกยินดีในความทรงจำอันนั้น สู้ให้ลืมทุกสิ่งเสียดีกว่า เพื่อให้จิตอยู่กับปัจจุบันเท่านั้น อดีตมันไม่หวนคืนมาแล้ว จึงไม่อยากไปคิดถึงทั้งสิ้น ทุกวันนี้ไม่ปล่อยให้จิตมันไปนึกถึงเรื่องต่าง ๆ ในอดีตเลย พอมันคิดขึ้นมา ตัวสติก็มาเตือนและตัดมันทิ้งไปเลยเลิกคิดทันที จึงทำให้หลายสิ่ง หลายอย่างลืมจริง ๆ เมื่อเรารู้ตัวเองว่าเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องอยู่ตามประสาของเรา แต่ต้องไม่ให้ใครได้รับผลจากเรา คือไม่ให้ใครเดือดร้อนทั้งสิ้น แต่ถ้าใครเดือดร้อนจากการกระทำของพี่สิงห์ ช่วยบอกด้วยจักได้ขอโทษได้ถูกและยอมรับผิดทั้งสิ้นครับ ใครจะว่าเนรคุณ  ไม่รู้บุญคุณคนที่คอยช่วยเหลือมา ก็ยอมรับผิดทั้งนั้น ด้วยใจจริงครับ
                          แม้แต่เรื่องอนาคต ผมก็ใช้สติมาเตือนเสมอ เวลาจิตมันจะคิดไปในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ผมก็จะรู้ตัวและตัดทิ้งเหมือนกัน ไม่อยากคิด เพราะเหตุยังไม่เกิด นอกเสีนจากต้องการวางแผนงานที่จะกระทำเท่านั้นจะคิดไว้ก่อนเสมอ
                          พูดให้ง่ายเข้าคือ ไม่ปล่อยให้จิตมันคิดแบบไม่มีจุดมุ่งหมายเลย คือไม่ส่งจิตออกนอกตามที่หลวงปู่ดูลย์  ท่านสอนไว้  คอยดูจิตของเราอย่างเดียวเท่านั้น ให้จิตของเราอยู่กับสิ่งที่กระทำ ณ ปัจจุบัน ให้มากที่สุด ในเวลาที่ไม่หลับ และให้รู้สึกตัวตลอด ไม่ให้หลงไปติดกับความคิดตัวเอง โดยใช้ปัญญา หาเหตุผลมาอธิบายกับตัวเองที่มีน้ำหนัก จึงจะกระทำตามที่จิตมันคิด แต่ก็มีเผลอเหมือนกัน เพราะพี่สิงห์ยังเป็นปุถุชนม์ธรรมดา
                          ด้วยเหตุผลเหล่านี้ มันจะผิด หรือ ถูก ก็แล้วแต่ ใครอยากให้พี่สิงห์ทำอะไร ? ยินดีรับใช้เสมอครับ ด้วยใจที่อยากทำให้ ขอให้บอกไม่ปฏิเสธเลย ยกเว้นไม่รู้ เท่านั้น สามารถติดต่อพี่สิงห์ได้กระทู้นี้เลย หรือส่ง email มา หรือโทรศัพท์มา แต่อย่าให้พี่สิงห์กลับไปเหมือนเก่าเลยครับ
                          คิดถึงคุณน้องหนุ๋งหนิง และทุกท่านที่ลืมเอ่ยนาม เสมอ ครับ
                          สวัสดี     
         
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1602 เมื่อ: 09 มีนาคม 2554, 16:42:37 »

                        ประมาณสี่โมงเย็นคณะก็เดินทางมาถึงเมืองกุสินารา เข้าไปใน สาลวโนทยาน สถานที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คณะเข้าไปสวดมนต์ นั่งเจริญสติ วิปัสสนา ตรงสถูปย์(สร้างคล้อมต้นสาละ)ด้านหลังที่เป็นที่ปรินิพพานจริงๆ เวียนเทียนรอบสถูปย์สามรอบ เสร็จแล้วเข้าไปสวดมนต์ในวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ปิดทอง ทำบุญ ห่มผ้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ วิปัสสนา เสร็จแล้วก็เดินทางต่อไปยัง มกุฎพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ซึ่งสร้างเป็นสถูปย์ครอบไว้ คณะนั่งสวดมนต์เย็น นั่งสมาธิ วิปัสสนา เวียนเทียน มืดพอดี จึงเดินทางต่อไปยังเมืองโครักจปูร์ เข้าพักที่โรงแรม เพื่อเดินทางไปเนปาลในวันรุ่งขึ้นครับ
                       เชิญชมภาพ



นี้คือ สาลวโนทยาน สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพาน













นี้คือ มกุฎพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ









สุภาพสตรีในภาพ เกิด ๑๔ กุมภาพันธ์ เหมือนกัน เค็กวันเกิด และพระที่สวดชยันโต ขณะเป่าเทียน ที่ห้องอาหารโรงแรม



กุสินารา

• ตั้งอยู่ : ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร จังหวัดเดวเย หรือ เทวริยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

• กุสินารา เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 1 ใน 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมืองปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฏ ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ

• กุสินาราในสมัยพุทธกาล มหาปรินิพพานวิหาร ภายในสาลวโนทยานในสมัยพุทธกาล เมืองกุสินารา อันเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานอยู่ในแคว้นมัลละ 1 ใน 16 แคว้น ซึ่งเป็นเขตการปกครองสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นแคว้นมัลละแยกเป็นสองส่วน คือ ฝ่ายเหนือมีเมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "โกสินารกา" และฝ่ายใต้มีเมืองปาวาเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "ปาเวยยมัลลกะ" ทั้งสองเมืองนั้นตั้งอยู่ห่างกันเพียง 12 กิโลเมตร โดยมีแม่น้ำหิรัญญวดีคั่นตรงกลาง กุสินารานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นอื่น ๆ ในสมัยพุทธกาล จัดว่าเป็นแคว้นเล็ก ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในด้านเศรษฐกิจ
 
• สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ภายในสาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์

การที่พระพุทธองค์ทรงเลือกเมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็กแห่งนี้เป็นสถานที่ปรินิพพาน มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญ คือทรงทราบดีว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พระสรีระและพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จักถูกแว่นแคว้นต่าง ๆ แย่งชิงไปทำการบูชา หากพระองค์ปรินิพพานในเมืองใหญ่ เมืองใหญ่เหล่านั้นอาจไม่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้เมืองเล็ก ๆ เช่น เมืองกุสินารา เป็นต้น ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน เจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ก็ได้ยกกองทัพหลวงของตนมาล้อมเมืองกุสินาราเพื่อจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ แต่ด้วยความที่กุสินาราเป็นเมืองเล็ก จึงต้องยอมระงับศึกโดยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทุกเมืองโดยไม่ต้องเกิดสงคราม

• กุสินาราหลังพุทธปรินิพพาน หลังพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว เมืองกุสินารากลายเป็นเมืองสำคัญศูนย์กลางแห่งการสักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน เหล่ามัลลกษัตริย์ได้สร้างเจดีย์และวิหารเป็นจำนวนมากไว้รอบ ๆสถูปใหญ่คือ มหาปรินิพานสถูป อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มหาสถูปนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของปูชนียสถานอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นมาภายหลังในบริเวณนั้น

• ต่อมาเมื่อแคว้นมัลละได้ตกอยู่ในความอารักขาขอแคว้นมคธ พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จมาจาริกแสวงบุญยังกุสินารา ประมาณ พ.ศ. 310 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ 100,000 กหาปณะ เพื่อเป็นค่าสร้างสถูป เจดีย์ และเสาศิลา
 
• ในพุทธศตวรรษที่ 14-15 ราชวงศ์สกลจุรีได้เข้ามาสร้างวัดขึ้นในบริเวณสาลวโนทยานจำนวนมาก จนพระพุทธศาสนาได้หมดจากอินเดียไปใน พ.ศ. 1743 ทำให้สถานะของพระพุทธศาสนาในกุสินาราถูกปล่อยทิ้งร้างและกลายเป็นป่ารกทึบ จนใน พ.ศ. 2433 ภิกษุมหาวีระ สวามี และท่านเทวจันทรมณี ชาวศรีลังกา เดินทางมายังกุสินาราและเริ่มอุทิศตัวในการฟื้นฟูพุทธสถานแห่งนี้ร่วมกับเนซารี ชาวพุทธพม่า จนได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า "มหาปรินิวานะ ธรรมะศาลา"

• ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย และมีปูชนียวัตถุสำคัญ ๆ ที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะคือ "สถูปปรินิพพาน" เป็นสถูปแบบทรงโอคว่ำ ตั้งอยู่ด้านหน้าในฐานเดียวกันกับสถูปปรินิพพาน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน (คือพระพุทธรูปนอนบรรทมตะแคงเบื้องขวา) ศิลปะมถุรา มีอายุกว่า 1,500 ปี ในจารึกระบุผู้สร้างคือ หริพละสวามี โดยนายช่างชื่อ ทินะ ชาวเมืองมถุรา ในปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ถือได้ว่าเป็นจุดหมายสำคัญที่ชาวพุทธจะมาสักการะ เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอันพิเศษคือเหมือนคนนอนหลับธรรมดา แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานจากไปอย่างผู้หมดกังวลในโลกทั้งปวง

มงกุฏพันธนเจดีย์ อยู่ห่างจากปรินิพพานสถูปไปทางทิศตะวันออก 1 กิโลเมตร ชาวท้องถิ่นเรียก รัมภาร์สถูป เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ มีสภาพเป็นเนินดินก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมไว้อย่างดี

• ปัจจุบันชาวพุทธทั่วโลกได้มาก่อสร้างวัดไว้มากมาย โดยมีวัดของไทยด้วย ชื่อ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
วัดไทยกุสินารา หรือ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มีเนื้อที่ราว 14 ไร่ (6 เอเคอร์) ตั้งอยู่บริเวณกุสินารา อยู่ห่างจากสาลวโนทยาน สถานที่ดับขันธปรินิพพานของพระสัมมาสัมพูทธเจ้า ประมาณ 500 เมตรปัจจุบันมีพระราชรัตนรังษี เป็นประธานสงฆ์

• ที่ตั้ง วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างสาลวโนทยาน สถานที่ดับขันธปรินิพพานของพระสัมมาสัมพูทธเจ้า ประมาณ 500 เมตร และห่างจากมกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ประมาณ 500 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 14 ไร่


      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1603 เมื่อ: 09 มีนาคม 2554, 19:56:37 »

สวัสดี ตอนค่ำค่ะ
พี่สิงห์ และกุศล
ตามมาอ่านเรื่องและรูปภาพค่ะ
      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #1604 เมื่อ: 10 มีนาคม 2554, 09:53:05 »

สวัสดี ครับ ปิ๊ดครับ อ่านอยู่ ขอบคุณ ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1605 เมื่อ: 10 มีนาคม 2554, 11:13:30 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งที่รักทุกท่าน
                         วันนี้พี่สิงห์อยู่ นครศรีธรรมราช จนถึงวันเสาร์เย็นครับ
                        
                         พี่สิงห์ได้รับแจ้งจากท่านพระอาจารย์เสียงป้อ  ฟานซื่อ เจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญาราม ซอยวัดเทียนดัด ถนนเพชรเกษม ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ว่า ทางวัดธรรมปัญญาราม ได้เปิดอบรมโยคะต่อ โดย Dr. Santos ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14-18 มีนาคม ที่วัดธรรมปัญญาราม ช่วงเช้าเวลา 09:00 - 11:00 น. ช่วงบ่ายเวลา 15:00-17:00 น. ชาวซีมะโด่ง หรือผู้สนใจทั่วไป สามารถเข้ารับการฝึกอบรมโยคะที่วัดได้เลย ไม่เก็บสตางค์ แล้วแต่ท่านจะกรุณาร่วมทำบุญ หรือซื้อ VCD โยคะของ Dr.Santos ที่ได้จัดทำขึ้นจากการอบรมโยคะ รุ่นที่ผ่านมา
                         พี่สิงห์จึงเรียนเชิญทุกท่าน และเพื่อนฝูงไปรับการฝึกอบรมได้ ตามวัน เวลาที่แจ้งให้ทราบ แล้วครับ
                         วันจันทร์-อังคาร พี่สิงห์ไปร่วมด้วยครับ วันอื่นๆ ติดธุระและทำงานครับ
                         สำหรับท่านที่ติดการทำงานไม่สามารถไปฝึกได้ที่วัด พี่สิงห์จะซื้อ VCD มาไว้จำนวนหนึ่ง และพี่สิงห์จะสอนต่อให็อีกทีหนึ่งครับ หรือใครต้องการ VCD แจ้งพี่สิงห์มาเลย พี่สิงห์จะจัดการให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ ท่านสามารถนำไปทำตามด้วยตัวเองได้ครับ
                         ภาพตัวอย่างการฝึกอบรมโยคะ ที่ผ่านมา
                         สวัสดี











วัดธรรมปัญญารามบางม่วง ซอยวัดเทียนดัด ต.บางช้าง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110
โทร.034-295-341 E-mail:mahayuan@gmail.com

      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1606 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 09:40:09 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 09 มีนาคม 2554, 16:18:24
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                         พี่สิงห์พยายามสำรวจตัวเอง ว่าทำผิดอะไร ? ทำให้ใครไม่พอใจ ? และต่าง ๆ นา ๆ ก็ไม่รู้ตัวเองครับ พี่สิงห์พยายามไม่ข้องแวะกับใครมาก พยายามอยู่แบบพอเพียง คือ ไม่ไปซอกแซกที่ไหนเลย อยู่แต่ในกระทู้นี้เท่านั้นจริง ๆ ไม่พยายามเข้าไปกระทู้ใครเลย แม้กระทั้งสถานที่อื่นๆ อยู่แต่ที่บ้าน ทำงานที่บ้าน และสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องกระทำเท่านั้น ไม่ไปคุยกับใคร กับเพื่อนฝูง แม้กระทั้งกินข้าวนอกบ้านก็ไม่ไปทั้งนั้น ยกเว้นบ้านอาจารย์พินิจ เท่านั้น เพื่อให้จิตตัวเองไม่วุ่นวายมากนัก พูดง่าย ๆ พยายามไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น ปลีกวิเวก ตามที่พี่ สว.ชรินทร์  ท่านว่า เพราะยิ่งรับรู้มาก จิตมันก็ส่งออกนอกตัวมาก และมันก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ จะว่าผิด พี่สิงห์ก็ผิดตรงนี้ละ ยอมรับ ต้องขออภัยทุกท่านด้วยครับ
                         ทุกวันนี้เรื่องที่ผ่านมา ต่าง ๆ พยายามลืมให้หมด ถ้าจะมีเหลือก็ขอให้เหลือแต่ความทรงจำที่ดี ๆ แต่ก็ไม่รู้สึกยินดีในความทรงจำอันนั้น สู้ให้ลืมทุกสิ่งเสียดีกว่า เพื่อให้จิตอยู่กับปัจจุบันเท่านั้น อดีตมันไม่หวนคืนมาแล้ว จึงไม่อยากไปคิดถึงทั้งสิ้น ทุกวันนี้ไม่ปล่อยให้จิตมันไปนึกถึงเรื่องต่าง ๆ ในอดีตเลย พอมันคิดขึ้นมา ตัวสติก็มาเตือนและตัดมันทิ้งไปเลยเลิกคิดทันที จึงทำให้หลายสิ่ง หลายอย่างลืมจริง ๆ เมื่อเรารู้ตัวเองว่าเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องอยู่ตามประสาของเรา แต่ต้องไม่ให้ใครได้รับผลจากเรา คือไม่ให้ใครเดือดร้อนทั้งสิ้น แต่ถ้าใครเดือดร้อนจากการกระทำของพี่สิงห์ ช่วยบอกด้วยจักได้ขอโทษได้ถูกและยอมรับผิดทั้งสิ้นครับ ใครจะว่าเนรคุณ  ไม่รู้บุญคุณคนที่คอยช่วยเหลือมา ก็ยอมรับผิดทั้งนั้น ด้วยใจจริงครับ
                          แม้แต่เรื่องอนาคต ผมก็ใช้สติมาเตือนเสมอ เวลาจิตมันจะคิดไปในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ผมก็จะรู้ตัวและตัดทิ้งเหมือนกัน ไม่อยากคิด เพราะเหตุยังไม่เกิด นอกเสีนจากต้องการวางแผนงานที่จะกระทำเท่านั้นจะคิดไว้ก่อนเสมอ
                          พูดให้ง่ายเข้าคือ ไม่ปล่อยให้จิตมันคิดแบบไม่มีจุดมุ่งหมายเลย คือไม่ส่งจิตออกนอกตามที่หลวงปู่ดูลย์  ท่านสอนไว้  คอยดูจิตของเราอย่างเดียวเท่านั้น ให้จิตของเราอยู่กับสิ่งที่กระทำ ณ ปัจจุบัน ให้มากที่สุด ในเวลาที่ไม่หลับ และให้รู้สึกตัวตลอด ไม่ให้หลงไปติดกับความคิดตัวเอง โดยใช้ปัญญา หาเหตุผลมาอธิบายกับตัวเองที่มีน้ำหนัก จึงจะกระทำตามที่จิตมันคิด แต่ก็มีเผลอเหมือนกัน เพราะพี่สิงห์ยังเป็นปุถุชนม์ธรรมดา
                          ด้วยเหตุผลเหล่านี้ มันจะผิด หรือ ถูก ก็แล้วแต่ ใครอยากให้พี่สิงห์ทำอะไร ? ยินดีรับใช้เสมอครับ ด้วยใจที่อยากทำให้ ขอให้บอกไม่ปฏิเสธเลย ยกเว้นไม่รู้ เท่านั้น สามารถติดต่อพี่สิงห์ได้กระทู้นี้เลย หรือส่ง email มา หรือโทรศัพท์มา แต่อย่าให้พี่สิงห์กลับไปเหมือนเก่าเลยครับ
                          คิดถึงคุณน้องหนุ๋งหนิง และทุกท่านที่ลืมเอ่ยนาม เสมอ ครับ
                          สวัสดี    
        
...คิดถึงคุณน้องหนุ๋งหนิง และทุกท่านที่ลืมเอ่ยนาม เสมอ ครับ...
...พี่สิงหิ์คะ...ลืมเอ่ยนาม...แล้วจะคิดถึงได้ยังไงคะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1607 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 09:50:50 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         เช้านี้ที่นครศรีธรรมราชฝนตก  พี่สิงห์ก็ไม่มีงานอะไรที่จะต้องทำมากนั้น  ไม่มีลูกน้องมาคุยด้วยเลย  จะนั่งปฏิบัติธรรมที่โรงงานก็ไม่สมควร  งานก็ไม่ได้อย่างที่เราเคยทำ แต่พี่สิงห์ปลงได้หมด  ไม่ปล่อยใจให้เต้นไปแบบเดิมแล้ว  ได้แค่ไหนก็ได้แค่นั้น  ได้แต่แนะนำ  บอกวิธีการทำ  วิธีการคิด  วิธีการบริหารจัดการ และต่างๆอีกมาก  เขาจะทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับเขา  เพราะพี่สิงห์ไม่มีหน้าที่กระทำใด ๆ ทั้งสิ้น  เป็นเพียงที่ปรึกษา เท่านั้น  ต้องเคยเตือนตัวเอง  อาศัยที่พี่สิงห์ฝึกจิตตัวเองไว้ดีพอสมควร  จึงปล่อยวาง  ไม่คิดเป็นทาษความคิดของเรา  ไม่ยึดติดกับอุปาทานขุนธ์ ๕ เดิม ๆ ที่เคยกระทำมาในอดีตทั้งหมด ใจก็สงบ ครับ
                          เธอเป็นอย่างไรบ้าง? กระดูกติดหรือยัง  พยายามระวังในแต่ละอิริยาบถ  ให้มีสติเข้าไว้  คิดก่อนที่จะกระทำ  ไม่ปล่อยใจออกนอกตัว เธอก็จะเปลี่ยนอิริยาบถได้ โดยไม่เกิดอุบัติเหตุกับตัวเธอเอง  ให้กระทำตามกำลัง  ความสามารถของเราพึงมีอยู่ในขณะปัจจุบัน  ลืมความสามารถในอดีตที่เคยทำมาเสีย เธอก็จะห่างไกลอึบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพราะร่างกายยังไม่สมบูรณ์  ยังต้องระวังตัวเอยู่เสมอ
                          สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1608 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 10:04:16 »

สวัสดีคุณน้องตู่ ที่รัก
                         ความผูกพันธ์ที่เคยมีกันในหมู่พวกเรานั้น มันอยากที่จะลืม  แต่จะเอ่ยนามให้ครบนั้นมันก็อยากที่จะกระทำ ถ้าเอยนามแล้วตกหล่นไป คนที่มีรายชื่อเขาไม่เห็นพี่สิงห์เอ่ยนาม เขาคงจะไม่พอใจ เขาคงคิดว่าเขาไม่สำคัญสำหรับพี่สิงห์ เขาคงคิดแบบนั้นครับ ก็เลยไมาสามารถเอ่ยนามได้
                         สำหรับคุณน้องหนุ๋งหนิง  เธอไม่เข้ามาในนี้เลย  เธอคงไม่พอใจพี่สิงห์ที่พี่สิงห์ไม่ไปทักทายเธอเลยในกระทู้ของเธอ เธอจึงไม่มาทักทายพี่สิงห์เหมือนกัน  จิตคนเรานั้นมันก็เป็นอย่างนี้ละ  ต่างคนต่างคิด มันคิดไม่เหมือนกันหรอก บางคนอาจจะพอใจในสิ่งที่เคยกระทำ เคยได้รับมาในอดีต ก็ยังอยากจะได้แบบนั้นอยู่  สำหรับพี่สิงห์พยายามไม่ยึดติดติดแบบอดีต  ที่เขียนลงไปนั้นเพราะไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไรดี  นึกไม่ออก เลยหลงติดกับในความคิดตัวเองอีก เผลอลืมตัวลืมตนไป ก้เลยเขียนตามความคิดตัวเองในขณะนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับนักปฏิบัติธรรม เพราะหลงอยู่ในความคิดตัวเอง  อยากจะได้อะไร ๆ แบบเดิม ๆ เพราะขาดสติไปชั่วขณะ นั้น แต่ก็กลับมาได้ ซึ่งหลวงพ่อเทียน  ท่านก็บอดเสมอ การกลับมารู้ว่าตัวเองหลงไปในความคิดตัวเองนั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะนั่นคือ เราสามารถแยกแยะ ความคิดของเราได้ ว่าอันไหนหลง อันไหนไม่หลง และถ้าหลงต้องกลับมาได้เสมอ เป็นสิ่งที่ดี ครับ
                         ส่วนผลจะเป็นเช่นไรนั้น ตอนนี้พี่สิงห์มีสติ ไม่ยิดดี ยินร้ายอะไรเลย ใครจะมาทักก็ได้  ใครจะไม่ทักก็ได้ เพราะเราก็มีจิตที่สงบดี  ไม่ยินดี  ยินร้ายอะไรเลย  พยายามปล่อยวาง  ใครเขาคิดถึงพี่สิงห์เขาก็คงมาทักทายเอง ครับ
                         อันนี้เป็นห่วง เธอกับพี่ประสิทธิ์ อย่าลืม ลดอาหารกินเท่าที่ร่างกายจำเป็น  ออกกำลังกายให้มากไว้เพราะมีเวลาแล้ว และทำจิตให้ผ่องใส จะห่างไกลทุกโรค ครับ
                          สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1609 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 10:14:56 »

                          เช้านี้เป็นวันที่ห้าของผู้จาริกแสวงบุญอินเดีย-เนปาล
                          คณะออกเดินทางสู่ ....ลุมพินี ประเทศเนปาลเมื่อเวลา 07:30 น. ทางหนาแน่นไปด้วยรถยนต์จำนวนมาก ทำให้การเดินทางล่าช้ามากครับ ด่านโสเนาว์รี เชื่อมระหว่างเนปาล-อินเดีย จึงมีรถหนาแน่นมาก ขณะไปถึงลุมพินีสี่โมงกว่าทำให้มีเวลาน้อยในการเที่ยวชม แต่คณะก็ได้ชม เวียนเทียนรอบภายในอาคาร และได้สวดมนต์ที่เสาอโศก นั่งสมาธิ วิปัสสนา กลับไปรับประทานอาหารเที่ยงก็เลยเวลาฉันเพล คือบ่ายโมงพอดี แต่ก็ไม่มีใครทักท้วง ก็ไม่เป็นไร ครับ มันจำเป็น และไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน
                           มื้อกลางวันนี้เองที่ผมได้มีโอกาส รับประทาน จัมปาตี แทนข้าว โดยกินกับผัก ไก่ อร่อยมากครับ ว่างๆ จะไปหารับประทานที่กรุงเทพฯ บ้างครับ จัมปาตี ที่ทางโรงแรมทำมาให้นั้น พ่อครัวจะทำรสชาดให้ใกล้เคียงรสคนไทย เพราะผมเห็นหลวงพ่อ ดร.สุเทพฯ ทิปพิเศษให้กับเชฟ ครับ



อินเดียภาคเหนือ มองไปทางไหนก็เย็นตา เพราะเติมไปด้วยทุ่งข้าวสาลี และสีเหลืองของดอกมัสตาด
ที่ปลูกในทุ่งเดียวกัน บางแห่งเหลืองสวยทั้งทุ่ง เราจะพบได้ทั่วไปในระหว่างการเดินทาง เหมือนกันหมดทุกที่ แม้ในเนปาล





ต้นรัง ที่พระมารดาจับกิ่ง ขณะยืนประสูติ ปลูกไว้ให้ผู้แสวงบุญได้ชมเป็นตัวอย่าง





วิหารมายาเทวี




ลุมพินี

*****
ที่ตั้งปัจจุบัน
   ลุมพินี  สถานที่ประสูติ  อยู่ในตำบลรุมมินเด  อำเภอรูปันเดฮี    จังหวัดลุมพินี  ประเทศเนปาล  อยู่ห่างจากเมืองโครักขปูร์  รัฐอุตตรประเทศ  ประเทศอินเดีย  ๙๕  กิโลเมตร  ห่างจากด่านโสเนาว์ลี  ประมาณ  ๒๖  กิโลเมตร  บริเวณลุมพินีเป็นทุ่งโล่ง  รัฐบาลได้เวนคืนที่ดินจำนวน  ๖,๐๐๐  ไร่ ปัจจุบันที่เป็นปริมณฑลจริงๆ ราว ๕๐ ไร่ ปลูกต้นไม้ และกั้นกำแพงล้อมรอบบริเวณอยู่ในความดูแลของรัฐบาลเนปาล  เป็นสถานที่สำคัญที่ชาวพุทธควรจะเดินทางไปนมัสการ  เพราะเป็นสังเวชนียสถาน แห่งหนึ่ง
   ภายในบริเวณนี้มีวิหารพระนางมายาเทวี  ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ ของสถานที่แห่งนี้  ต่อมาทางรัฐบาลเนปาลได้รื้อเพื่อขุดค้นโบราณวัตถุสำคัญ  และดำเนินการสร้างใหม่
                        
   ลุมพินีอยู่ห่างจากกรุงกบิลพัสดุ์ประมาณ  ๒๐  กิโลเมตร  อยู่ห่างจากกรุงเทวทหะประมาณ  ๑๘  กิโลเมตร

ความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า
   ตามพุทธประวัติกล่าวว่า  ลุมพินีวัน  เป็นสถานที่ประสูติของมหาบุรุษ  ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ
   ในอดีตกาลอุทยานลุมพินีมีหมู่ไม้นานาพรรณ มีโขดเขา สระน้ำ และบรรณศาลา เป็นที่พักอาศัย เป็นที่สวยงามมาก ในฤดูใบไม้ผลิชาวเมืองกบิลพัสดุ์และเทวทหะใช้พักผ่อนหย่อนใจในเวลาว่างงาน
   เรื่องราวของเจ้าชายสิทธัตถะ คัมภีร์พรรณนาถึงมหาบารมีที่ทรงบำเพ็ญไว้ในชาติปางก่อนว่า ครั้งสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ อุบัติเป็นเทพบุตรประจำอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ก่อนเสด็จอุบัติมาที่มนุษย์โลก ทรงพิจารณาถึงความควรและไม่ควรว่า จักเสด็จไปประสูติกาล ณ สถานที่ใด ตระกูลใด การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ คือ การพิจารณาถึงสิ่งที่สำคัญ ๕ อย่างคือ
๑.      กาล     คือ เวลาอันควรอุบัติ
๒.    ทวีป    คือ ชมพูทวีป (มนุษย์โลก)
๓.     ประเทศ    คือ บริเวณเอเชียใต้
๔.     ตระกูล    คือ ตระกูลที่ได้รับการยกย่องสูงสุดในขณะนั้น
๕.    พระชนนี    คือ พระนางสิริมหามายา

              ทรงพิจารณาเห็นว่า ชมพูทวีปในตระกูลศากยะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์เป็นสถานที่จักเสด็จมาอุบัติได้ และผู้ที่จะรองรับการกำเนิด คือพระนางมายาเทวี อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งพระนางประกอบด้วยธรรม มีศีลบริสุทธิ์ จึงตัดสินพระทัยเสด็จมายังโลกมนุษย์  ลงสู่พระครรภ์ของพระนาง
ในคืนหนึ่งพระนางทรงสุบินนิมิตว่า ท้าวมหาพรหม ทั้งสี่มายกแท่นบรรทมของพระนางไปวางไว้ภายใต้ต้นสาละใหญ่ในป่าหิมพานต์ เหล่าเทพธิดาพากันนำพระนางไปสรงสนานในสระอโนดาต เพื่อชำระล้างมลทิน แล้วประดับด้วยของหอมอันเป็นทิพย์  ในขณะนั้นมีช้างเผือกหนึ่งถือดอกบัวขาวลงมาจากภูเขา  ร้องเสียงลั่นเข้ามาทำประทักษิณ  ๓  รอบ  แล้วเข้าสู้พระอุทร  ทางเบื้องขวาของพระนาง  นับแต่นั้นมาพระนางก็เริ่มทรงพระครรภ์
   เมื่อใกล้ครบทศมาสแห่งพระครรภ์พระนางทรงมีความปรารถนาจะเสด็จไปคลอดที่พระราชวังเดิมของพระนางคือที่กรุงเทวทหะ  ซึ่งเป็นเมืองของพระราชบิดาพระราชมารดา  ตามแบบประเพณีของสตรีชาวอินเดีย เมื่อขบวนยาตรามาได้ประมาณ  ๒๐  กิโลเมตร  ก็ถึงสวนลุมพินี  ซึ่งเป็นเขตแดนติดต่อกันระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ  พระนางทรงประชวรพระครรภ์หนักจะประสูติ  จึงให้หยุดขบวนประทับใต้ต้นสาละ  พระนางประทับยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวรั้งกิ่งไม้สาละ พระหัตถ์ซ้ายปล่อยตก  ประสูติพระโอรส  ตรงกับวันศุกร์  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  ปีจอ เดือน ๖  (วันวิสาขปุรณมี)  ก่อนพุทธศก  ๘๐  ปี  ในเวลาสายใกล้เที่ยง
   พระราชกุมารที่ประสูติจากครรภ์พระมารดานั้น  มีพระวรกายบริสุทธิ์  ไม่เปรอะเปื้อนด้วยครรภ์มลทิน  มีหมู่เทพมาคอยรับก่อน  มีธารน้ำร้อนน้ำเย็นพร้อมที่จะสนานพระวรกาย  ทรงเพียบพร้อมด้วยมหาปุริสลักษณะ  ๓๒  ประการ  อันเป็นลักษณะแห่งองค์พุทธางกูรโดย  เฉพาะและ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง  พระองค์ได้เสด็จออกจากพระครรภ์ผินพระพักตร์ไป ทางทิศเหนือ  มีฉัตรสีขาวกั้นอยู่เบื้องบน  ก้าวพระบาทออกไปได้  ๗  ก้าว  เหลียวดูทิศน้อยทิศใหญ่แล้วทรงเปล่งพระสุรเสียงว่า  “อคฺโคหมสฺมิ  โลกสฺส  เชฏฺโฐหมสฺมิ  โลกสฺส  เสฏฺโฐหมสฺมิ  โลกสฺส  อยมนฺติมา ชาตินตฺถิทานิ  ปุนพฺภโวติ”  
             แปลว่า  “เราจะเป็นผู้เลิศที่สุด  เป็นผู้เจริญที่สุด  เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก  ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา  ภพใหม่ไม่มีแก่เราอีกแล้ว”  
                                    
            การที่พระองค์ก้าวพระบาทไปได้  ๗  ก้าว  เป็นบุพนิมิตหมายว่า  พระองค์จะประกาศรัศมีแห่งพระธรรมของพระองค์ไปได้  ๗  ชนบทน้อยใหญ่ในสมัยนั้น

พุทธสถานที่สำคัญ
                                                    
   ๑. วิหารมหามายาเทวี  ข้างในมีรูปรอยพระบาทพระโพธิสัตว์ และมีรูปหินแกะสลักพระโพธิสัตว์ปางประสูติ  เป็นภาพพระนางกำลังยืนเหนี่ยวกิ่งต้นสาละ  ประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ
                                                        
   ๒. เสาหินหลักศิลา ซึ่งเซอร์ อเลกซานเดอร์ คันนิ่งแฮม นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ สูง ๑๔ ฟุต วัดรอบได้  ๗ ฟุต ๓ นิ้ว ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสร้างไว้เพื่อแสดงว่าสถานที่ตรงนี้เป็นที่ประสูติของพระพุทธองค์  และมีอักษรพราหมีบันทึก ไว้มีทั้งหมด ๕ บรรทัด  อักษร  ๙๐  ตัว  ดังนี้
   “เทวาน  ปิเยน  ปิยทสินา ราชินา  วีสติวสาภิสิเตน  อตฺน  อาคาฉ  มหียิเต  หิทพุเย  ชาเต  สกยมนีติ  สีลาวคฑภีจากาลาปิต  สีลาถํเภ  จ  อุสปาปิเต  หิทภควํ  ชาเตติลํ  มินิคาเม  อุตลิเกกเฏ  อถ  ภาคิเยจา  ฯ”
   แปลว่า “พระราชาปิยะทัสสี (พระเจ้าอโศกมหาราช) ซึ่งเป็นที่รักของเทวดาทรงได้รับอภิเษกแล้วปีที่  ๒๐  ได้เสด็จมานมัสการ  ณ  ที่นี้ด้วยพระองค์เอง  ด้วยว่าพระพุทธองค์ประสูติ  ณ  ที่นี้  แล้วโปรดให้สร้างรูปสลักหินด้วย  ให้ยกขึ้นแล้วซึ่งหลักศิลาด้วย  เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประสูติแล้ว  ณ  ที่นี้  ในลุมพินีคาม  จึงโปรดให้เลิกเก็บภาษีแก่หมู่บ้านลุมพินี  ทรงให้เก็บพืชผลเพียงหนึ่งในแปดของพืชผลที่ได้”
                                                                              
   ๓. สระน้ำ  ที่ใช้สรงสนานพระวรกายเจ้าชายสิทธัตถะตอนประสูติใหม่ ๆ
                                                      
   ๔. วัดนานาชาติ  รัฐบาลเนปาลได้เชื้อเชิญชาวพุทธทั่วโลก  ให้ร่วมใจกันสร้างพุทธานุสรณ์ สถานน้อมถวายเป็นพุทธบูชา  ซึ่งปัจจุบันมีวัดนานาชาติ  ๑๔  วัด รวมทั้งประเทศไทยก็ได้สร้างวัดไทยลุมพินีไว้ด้วย


      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1610 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 10:31:25 »

...พี่สิงห์คะ...ถ้าพี่สิงห์รู้สึกว่าน้องเค้าน้อยใจ...พี่สิงห์ก็เข้าไปทักเค้าบ้างสิคะ...
...แต่ตู่ว่าน้องเค้าคงไม่หรอก...
...กระทู้มันเยอะมากค่ะ...ตู่ก็เข้าเป็นบางกระทู้เอง...
...บางกระทู้ไม่รู้จักก็เข้าไป...แล้วแต่อารมณ์ค่ะ...
...พี่ๆน้องๆเราก็แล้วแต่อารมณ์เหมือนกัน...
...ทุ่งมัสตาร์ดสวยค่ะ...พี่สิงห์...ตู่เคยดูสารคดีของอินเดีย...
...เค้ามีวิธีสกัดน้ำมันออกมาจากดอกมัสตาร์ดด้วยวิธีง่ายๆแบบชาวบ้านๆ...
...แล้วก็นำน้ำมันนั้นมาใช้ทอดอาหาร...ไม่ต้องไปซื้อน้ำมันพืชแบบบ้านเราค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1611 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 11:26:42 »

                         เนปาลเป็นเมืองพุทธ สภาพบ้าน ตลาด ความเป็นอยู่ ดีกว่าอินเดีย จนเราสามารถสังเกตุได้ในความแตกต่างเลย ดีกว่าอินเดียมาก มีเสรีภาพมาก ขอทานมีน้อยมาก คราวหน้าจะหาโอกาสมาเนปาลนานๆ ครับ



เสาอโศก









แต่งตัวไม่เข้ากับเหตุการเลย









สระโบกขรนี





      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1612 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 11:34:39 »

สวัสดี ตอนเที่ยง ค่ะ พี่สิงห์
 ติดตามอ่านเรื่องราว ค่ะ ละเอียดมากค่ะ
ผู้อ่านได้ประโยชน์มากค่ะ
      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1613 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 14:00:19 »

เรื่องที่7 ลุมพินี สถานที่ประสูตร
จากจุดเริ่มต้น เมืองคยา อินเดีย ไปประเทศเนปาล ใช้เวลาในการเดินทางไม่น้อย
ขนาดนั่งรถบัสยังใช้เวลาสองวันเต็ม
ณ.สถานที่ประสูตรที่คุณมานพนำภาพมาให้ชม
เมื่อเข้าเมืองเนปาลแล้ว การเดินทางไปยังลุมพินีเราต้องนั่งรถม้า
ถึงที่แล้วการชมสถานที่ประสูตรภายในมีคนดูแลเข้มงวด ห้ามถ่ายภาพ
แต่พวกเราก็ยังแอบถ่ายมาจนใด้
ครั้นออกมาภายนอกพระครูปลัดท่านได้นำพวกเรามากราวใหว้เสาที่พระเจ้าอโศกปักใว้
และให้รำลึกถถึงพระคุณของแม่
หลายคนน้ำตาใหลด้วยความประทับใจในคำสอนของพระครูปลัดสุวัฒโพธิคุณ
หนึ่งในนั้นคือกุศลเองครับ
นี่คือมหัศจรรย์อินเดียอีกประการหนึ่ง
      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1614 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 14:43:53 »

เรื่องที่ 8คุณยายมาลี(ต่อ)
มาอินเดียตลอดเกือบ10วัน
ผมแทบไม่เห็นอุบัติเหตุรถชนกันเลย
ทั้งๆที่ถนนมีแค่สองเลน จะเบลกแรงๆเฉพาะเวลามีฝูงวัวเท่านั้น
สำหรับการเดินทางแต่ละวัน
บางวันพวกเราต้องใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ไม่น้อยกว่า7ชั่วโมง
หลังสวดมนต์ทำวัตรเย็นบนรถ
พอตะวันเริ่มโพล้เพล้ ทุกคนเริ่มอ่อนเพรียจากการเดินทาง
หลวงพ่อพระครูปลัดก็บรรยายจนเสียงแหบแห้ง ท่านจึงหยุดพักผ่อน
ผมจึงขอร้องให้ป้ามาลีแนะนำวิธีปรุงอาหารตามที่แกถนัด
ซึ่งได้ผลทุคนต่างสนอกสนใจสอบถามป้ามาลีกันไม่หยุดหย่อน
และป้ามาลีก็เต็มใจเล่าด้วยความภาคถูมิใจจนมืดค่ำ
แค่นั้นยังไม่พอป้ามาลียังเอาอาหารที่ซื้อไว้ส่วนตัวมาแจกพวกเราด้วย
พวกที่ถือศิลแปดพอได้ยินป้ามาลีเล่าเรื่องวิธีปรุงอาหารก็กลืนน้ำลายกันเอื๊อกๆ
แถมกลิ่นถั่วอบ และขนมอื่นๆที่ป้าแกแจกทำให้ยั่วน้ำลายหนักเข้าไปอีก
ครั้นพอรถจอดให้ทุกคนลงไปทำธุระส่วนตัว ป้ามาลีขยับตัวเดินนำเป็นคนแรก
พอเดินกลับมาขึ้นรถครบทุกคนเสียงไก๊ด์ชายหนุ่มอายุประมาณ30 โวยวาย
ผมอุตส่าห์ยืนบังหันหลังให้คุณยายทำธุระ.....ไกด์ทำท่ากระซิบ
แต่คุณยายฝากของที่ระลึกเปียกๆให้ผมมาเต็มรองเท้าเลยครับ....ไกด์หนุ่มหัวเราะชอบใจ
มันยืนไม่ระวังเอง แล้วมาโทษยายช่วยไม่ได้.....คุณยายกระซิบบอกพวกเราเช่นกัน
      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #1615 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 15:12:06 »

ขณะนั่งสามล้อไปกุสินารา
http://www.youtube.com/watch?v=xm0Julc3lok
ภายในวิหาร



      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1616 เมื่อ: 11 มีนาคม 2554, 15:57:54 »

สวัสดีตอนเย็นค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                         internet ที่โรงแรม ไม่มีเพราะกำลังติดตั้งระบบใหม่ ยังไม่เสร็จ ครับ
                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1617 เมื่อ: 12 มีนาคม 2554, 12:01:32 »

สวัสดีครับ คุณน้องเอมอร และชาวซีมะโด่ง ที่รัก
                         วันนี้นครศรีธรรมราช ฝนตกตั้งแต่เช้า แต่หลังจากที่พี่สิงห์ฝึกโยคะ TAICHI และเดิน เสร็จ
                         ขณะนั่งรถไปทำงาน ดร.กุศล โทรศัพท์มาบอกว่า วันอังคารที่ 29 มีนาคม จะทำบุญเพลขึ้นบ้านใหม่ ที่บางเขน ขอเชิญไปร่วมทำบุญ บังเอิญผมได้ไปรับปากกับคุณดิเรก ผู้จัดการ PSTC ที่มีเมตตาให้เงินพี่สิงห์ใช้ประจำเดือนให้มีชีวิตอยู่ได้ จึงไม่สามารถไปร่วมงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่กับ ดร.กุศลได้ เพราะถ้าผมไม่ไปกับคุณดิเรก  จะกระทบหลายคน หวังว่าคงจะเข้าใจนะครับ ชีวิตลูกจ้างมันก็อย่างนี้ละ
                         ชาวซีมะโด่งท่านใดว่าง เรียนเชิญไปร่วมทำบุญบ้านใหม่กับ ดร.กุศล  แทนพี่สิงห์ให้ด้วย ส่วนพี่สิงห์จะหาโอกาสไปและนำพระพุทธรูปประจำบ้านไปให้แทนครับ
                         สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1618 เมื่อ: 12 มีนาคม 2554, 12:33:41 »

                         วันที่ห้า คณะเดินทางจากลุมพินี มาที่เมืองสาวัตถี ถนนหนทางกำลังสร้าง แต่ก้เหมือนที่อื่นๆ คือทุ่งข้าวสาลีและมาสตาด ครับ คระมาถึงเมืองสาวัตถีค่ำมากแล้ว และวันนี้เป็นวันที่ชาวมุสลิมเฉลิมฉลองเทศกาลกัน เมืองสาวัตถีนี้ คนส่วนใหญ่นับถืออิสลาม ครับ ดังนั้นตลาดที่เมืองจะแบ่งออกเป็นสองฝั่ง คือฝั่งชาวฮินดูและอิสลาม แต่ดูท่าชาวอิสลามจะมากกว่าครับ ตลอดที่ผ่านมาน่าเดินซื้อของเพราะมีผลไม้จำนวนมากวางขาย คณะไปพักที่โรงแรม รับประทานอาหารเย็นกันดึก แต่พี่สิงห์ถือศิลแปด เลยไม่ต้องรับประทานอาหารครับ เข้าที่พักหลับนอนเอาแรงเลย และคืนนั้นฝนตกลงเม้ดแต่ไม่แรงได้แต่นอนฟังเสียงฝนตก
                         เช้ารับประทานอาหารที่โรงแรมเสร็จคณะเดินไปที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา เป็นวัดที่ หลวงพ่อ ดร.พระมหา สุทเพ ไปสร้างเพื่อรองรับนักแสวงบุญ ตอนนี้สร้างเกือบเสร็จแล้ว สามารถรับผู้จาริกแสวงบุญได้ แปดสิบกว่าคนในแต่ละคืน มาคราวหน้าคงพักที่วัดแทนโรงแรมแล้วครับ คณะทอดผ้าป่าที่วัดบังเอิญอากาศเช้านี้ไม่เป็นใจฝนตกหนัก จึงต้องรออยู่ที่วัดจนทอดผ้าป่าเสร็จเกือบสี่โมงเช้าฝนหายตกคณะจึงออกเดินทางไปที่วัดเชตวนารม ครับ
                         เมืองสาวัตถีนี้มีบุคคลสำคัญสองท่านที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา คือท่านอนาบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขา ครับ สภาพทั่วไปวัดเชตวันและพื้นที่โดยรอบ น่าอยู่มาก เป็นชนบทที่เงียบสงบ ปลูกข้าวสาลี อุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ราบ วัดเชตวันก็สงบมากในวัด ไม่มีขอทาน และร้านขายของมาวุ่นวายเพราะถือว่าเป็นสถานที่สำคัญ จึงมีประตูคอยกันไว้
                         เชิญชมภาพ





ทำบุญทอดผ้าป่าที่วัดไทยพุทธวิปัสสนา ได้เงินทำบุญแสนกว่าบาท



อนันทโพธิ์ วัดเชตวัน












เมืองสาวัตถี

• ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

• เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล

• เมืองสาวัตถีเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน ๖ เมืองที่ยิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรืองที่สุด เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในจำนวน ๑๖ แคว้นในสมัยพุทธกาล และเป็นแคว้นที่ยิ่งใหญ่อีกแคว้นหนึ่งใน ๔ แคว้น แคว้นโกศลมีความยิ่งใหญ่ในด้านการปกครอง เป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับแคว้นต่างๆ ทางตอนเหนือเช่น มคธ กาสี กุรุ วัชชี ต่อมาแคว้นโกศลได้ผนวกแคว้นกาสีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง รวมทั้งยังปกครองแคว้นสักกะซึ่งเป็นเมืองพุทธบิดาอีกด้วย

• พระบรมศาสดาได้เสด็จจาริกสู่เมืองสาวัตถี เพื่อโปรดมหาชนเป็นครั้งแรกเมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลนิมนต์ และได้จำพรรษาถึง ๒๕ พรรษา ทรงประทับอยู่จำพรรษาในวัดพระเชตวันมหาวิหารมหาวิหารของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ๑๙ พรรษาและวัดบุพพารามของนางวิสาขา ๖ พรรษา ทั้งนี้เป็นเพราะเศรษฐีและนางวิสาขาศรัทธาเลื่อมใสพระพุทธศาสนา และมีอุปการะคุณต่อพระภิกษุสงฆ์นานับประการ

• สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถีถึง ๒๕ พรรษา เพราะเหตุการณ์ในเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งพระองค์เลือกเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาครั้งแรกนั้น พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสคือพระเจ้าอชาตศัตรู แย่งชิงราชสมบัติ เพราะหลงเชื่อพระเทวทัต บ้านเมืองไม่อยู่ในภาวะปกติ ประกอบกับพระพุทธองค์ได้รับความอุปถัมภ์จากพระเจ้าปเสนทิโกศลกษัตริย์แห่งกรุงสาวัตถี และพระนางมัลลิกาเอกอัครมเหสี ทั้งสองพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธองค์อย่างยิ่ง และพระพุทธองค์ได้บุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญที่สุดในฝ่ายอุบาสกคือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้บริจาคทรัพย์ ๕๔๐ ล้านสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหาร และฝ่ายอุบาสิกาคือ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้บริจาคทรัพย์ ๒๗๐ ล้านสร้างวัดบุพพาราม รวมทั้งพระราชาและชาวเมืองได้ถวายความอุปถัมภ์แก่พระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ในด้านอื่น ๆ อีกหลายประการ พระพุทธศาสนาจึงตั้งมั่นแพร่หลายในแคว้นโกศล เพราะพระราชาและชาวเมืองเป็นผู้มีศรัทธาเต็มเปี่ยม

• สาวัตถี สาเหตุที่เมืองนี้ได้ชื่อว่า “สาวัตถี” เพราะที่ตรงนี้เคยเป็นที่อยู่ของท่านมหาฤาษีสาวัตถะ มาก่อน สืบเนื่องมาจากกษัตริย์ต้นราชวงศ์ได้พาชาวเมืองอพยพมาตั้งบ้านเมืองใหม่ มาถึงที่อยู่ของท่านฤาษี เห็นภูมิประเทศที่เหมาะตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำแม่น้ำอจิระวดี เหมาะแก่การสร้างเมือง จึงขอที่ตรงนั้นสร้างเมือง ท่านฤาษีอนุญาต เมื่อสร้างเมืองเสร็จจึงตั้งชื่อเมืองว่า “สาวัตถี” เพื่อเป็นที่ระลึกและอนุสรณ์แก่ท่านฤาษี

• เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในกรุงสาวัตถี

๑.ทรงชนะจอมโจรองคุลิมาลเป็นชัยชนะลำดับที่ ๔ ในชัยชนะ ๘ อย่างที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ในชัยมงคลคาถา
๒.ทรงชนะสาวกเดียรถีย์ที่กล่าวตู่พระองค์ เป็นชัยชนะลำดับที่ ๔ ในชัยชนะ ๘ อย่างที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ในชัยมงคลคาถา
๓.แผ่นดินสูบพระเทวทัต พระเทวทัตถูกลาภสักการะครอบงำ ต้องการปกครองคณะสงฆ์ จึงยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูฆ่าพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นบิดา ส่วนท่านเองจะฆ่าพระพุทธเจ้า พระเจ้าอชาตศัตรูฆ่าพ่อตาย ภายหลังเกิดสำนึกผิด หันมานับถือพระพุทธศาสนาและได้ฟังธรรม บำรุงพระพุทธศาสนาต่อมา
๔.พระเถรีปฏาจารา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายทางด้านทรงพระวินัย
๕.นางยักษิณีถวายสลากภัตร มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ......นางจึงนำอาหารเหล่านั้นไปถวายพระตามสลาก จนเป็นบุญถวายสลากภัตรจนถึงทุกวันนี้
๖.พวกเดียรถีย์ใส่ความพระพุทธองค์และสาวก
๗.ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ ทำลายทิฏฐิของเหล่าเดียรถีย์ เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงราชคฤห์

• ในช่วงปลายพุทธกาล ได้เกิดเหตุการณ์ที่พระเจ้าอชาตศัตรู ทำปิตุฆาตปลงพระชนม์พระราชบิดาของพระองค์เอง ทำให้พระนางเวเทหิ อัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศลเสียพระทัยจนสิ้นพระชนม์ตามกันไป พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงกริ้วพระเจ้าอชาตศัตรูมาก จึงสั่งยึดเมืองในแคว้นกาสีที่พระเจ้ามหาโกศลยกให้พระเจ้าพิมพิสารคืน โดยทรงถือว่า ผู้ฆ่าพ่อไม่มีสิทธิ์ได้รับสมบัติพ่อ และได้ทำสงครามกัน ผลัดกันแพ้ชนะ จนสุดท้ายพระเจ้าปเสนทิโกศลชนะ จับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ แต่ไม่ประหารชีวิตเพราะเห็นแก่เป็นพระนัดดา แต่สั่งให้สละราชสมบัติแทน และต่อมาก็ทรงให้พระเจ้าอชาตศัตรูกลับไปครองราชสมบัติอีกด้วยคงเห็นพระทัย โดยในครั้งนั้นได้ทรงส่งพระราชธิดาของพระองค์ให้ไปอภิเษกด้วย ทั้งสองแคว้นจึงกลัยมามีสัมพันธไมตรีกันอีกครั้ง ทำให้เมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์กลับเป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระปเสนทิโกศล

• ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าปเสนทิโกศล ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะพระราชโอรสของพระองค์เองยึดอำนาจ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงม้าหนีไปเมืองราชคฤห์กับผู้ตามเสด็จอีกหนึ่งคน โดยหวังให้พระเจ้าอชาตศัตรูช่วยเหลือเพื่อนำราชสมบัติคืน แต่พระองค์เสด็จมาถึงเมืองราชคฤห์ในเวลากลางคืน ไม่สามารถเข้าประตูเมืองได้ ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคตในคืนนั้นเองเพราะต้องประทับค้างแรมอยู่ข้างนอกที่มีอากาศหนาว ในขณะที่พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยจากการหลบหนีและมีพระชนม์มากถึง 80 พรรษา เมื่อถึงเวลาเช้าพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งพึ่งทราบข่าวจึงอัญเชิญพระศพไปถวายพระเพลิง

• หลังจากพระเจ้าปเสนทิโกศลสวรรคตและหลังพระพุทธปรินิพพาน พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธได้เริ่มทำสงครามยึดแว่นแคว้นต่างๆ และได้กำจัดแคว้นวัชชีได้สำเร็จ และหลังจากกำจัดแคว้นวัชชีได้ไม่นาน พระองค์จึงได้ยกทัพมายึดเมืองสาวัตถีไว้ในอำนาจได้สำเร็จ เมืองสาวัตถี จึงสิ้นสุดความสำคัญในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้นโกศล จากนั้นการค้า ฯลฯ อำนาจต่าง ๆ ได้ไปรวมศูนย์ที่เมืองราชคฤห์และสุดท้ายที่เมืองปาฏลีบุตรในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้น แต่วัดเชตวันมหาวิหารยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางศาสนาอยู่

• สาวัตถีภายหลังพุทธกาล

• สิ้นสมัยของพระเจ้าปเสนทิโกศล อำนาจของแคว้นโกศลเริ่มถดถอย ถึงรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช วัดพระเชตวันมหาวิหารมหาวิหารยังคงเป็นสำนักที่ใหญ่โตและรุ่งเรือง เมื่อหลวงจีนฟาเหียนมาถึงสาวัตถี (พ.ศ.๙๔๔–๙๕๓) เมืองกลายเป็นเมืองร้าง มีประชากรราว ๒๐๐ ครอบครัว แต่วัดพระเชตวันมหาวิหารยังคงเป็นสถานที่สำคัญอยู่

• จากการขุดค้นสำรวจในยุคหลัง ได้พบหลักฐานแสดงชัดว่า วัดพระเชตวันมหาวิหารได้รับการบูรณะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ หลังการมาของหลวงจีนฮวนฉางไม่นาน ก็ได้เป็นพุทธสถานที่สำคัญเรื่อยมา จนถูกพวกมุสลิมเติร์กทำลายในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จนเหลือเพียงซากในปัจจุบัน

• สาวัตถีในปัจจุบัน

• เมืองสาวัตถีในปัจจุบัน มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่ง ทางภาคตะวันออกของรัฐอุตรประเทศ ห่างจากลัคเนาว์ (Luknow) เมืองหลวงของรัฐอุตรประเทศ ประมาณ ๑๕๑ กิโลเมตร

• จากการขุดค้น ได้พบหลักฐานบอกให้ทราบแน่ชัดว่า ซากที่เรียกว่า สาเหต คือวัดพระเชตวันมหาวิหาร วัดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมัยพระพุทธกาล และที่เรียกว่า มาเหต ได้แก่ตัวเมืองสาวัตถี ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน ซากตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งด้านทิศใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรืออจิราวดีในพุทธกาล ซากวัดพระเชตวันมหาวิหารตั้งอยู่ทางใต้ของตัวเมือง ห่างจากกำแพงเมืองตอนที่อยู่ใกล้ที่สุดประมาณ ๑ กิโลเมตร ซากของสาเหตุหรือวัดพระเชตวันมหาวิหารมหาวิหารมีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ได้มีการขุดค้นสำรวจพบซากกุฏิน้อยใหญ่ วิหาร สถูปเจดีย์ ศาลาราย สระน้ำ ศาลาธรรมสภา และอื่น ๆ อีกมากมาย และมีต้นโพธิ์เรียกว่า “อานันทโพธิ์” ซึ่งนำเมล็ดมาจากต้นโพธิ์ที่พุทธคยา มาปลูกไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ไม่ประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร ส่วนตัวเมืองสาวัตถี มีเนื้อที่มากกว่านั้น แต่การขุดสำรวจยังทำได้ไม่มาก ส่วนวัดบุพพารามนั้น ไม่มีซากปรักหักพังให้เห็น เพราะตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำจึงถูกแม่น้ำอจิรวดีพัดพังจมน้ำไปหมด

• ปัจจุบันถึงแม้ว่า นครสาวัตถี วัดพระเชตวันมหาวิหาร วัดบุพพาราม วัดราชิการาม จะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จนเหลือแต่ซากปรักหักพังแล้วก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังเป็นเครื่องเตือนใจให้ชาวพุทธที่ได้ไปเยือน น้อมระลึกถึงศรัทธา อันแรงกล้าของท่านผู้สร้าง และน้อมถึงพระบรมศาสดา และภิกษุสาวกสงฆ์ ผู้ได้พำนัก ณ เมืองแห่งนี้ น้อมระลึกถึงพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง อันเป็นผลให้ผู้ฟังจำนวนมาก ได้เข้าถึงสวรรค์ และมรรคผลนิพพาน เป็นอริยสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

• สถานที่นี้เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกท่านต้องไปให้ได้สักครั้งในชีวิต เพื่อระลึกนึกถึงนครแห่งนี้ นครแห่งพระพุทธเจ้า นครแห่งคนดี นครสาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร

• ต้นอานันทโพธิ์ ต้นโพธิ์ซึ่งชาวพุทธนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอันดับสองรองจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาวัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน อารามของบิณฑิกเศรษฐีเป็นอารามที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี บนที่ตั้งของเชตวัน หรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง 18 โกฏิ (ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น) วัดแห่งนี้นับว่าเป็นวัดและที่มั่นสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา

• ปัจจุบันวัดเชตวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) นอกกำแพงเมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ ตำบลสะเหต (Saheth) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

• วัดเชตวันในสมัยพุทธกาล

• พระมูลคันธกุฏี วัดเชตวัน สถานที่พระพุทธองค์ประทับจำพรรษานานที่สุดถึง 19 พรรษา เดิมวัดเชตวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของเจ้าชายเชตราชกุมาร เจ้าชายในราชวงศ์โกศลแห่งเมืองสาวัตถี เป็นพระราชอุทยานร่มรื่นนอกตัวเมืองหลวง มีเนื้อที่ 80 ไร่

• วัดเชตวันมหาวิหาร วัดที่อนาถบิณฑิกะสร้างถวายแต่ใช้ชื่อวัดของเจ้าของที่เดิม เพราะวัดแห่งนี้เดิมเป็นที่ของเจ้าชายเชตราชกุมาร เศรษฐีเจ้าที่ดินในสมัยนั้น ซึ่งอนาถบิณฑิกะซื้อต่อมาด้วยราคาที่แพงมหาศาลถึง 18 โกฏิ (เจ้าเชตกำหนดให้นำเหรียญทองมาปูเต็มพื้นที่ ๆ ต้องการซื้อ) และซ้ำยังต้องใช้ชื่อวัดเป็นชื่อของเจ้าเชตอีกด้วย จึงทำให้วัดนี้ได้นามตามเจ้าของเดิม ในขณะที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเจ้าของที่ผู้สร้างวัดถวายไม่สามารถใส่ชื่อของตนไปในนามวัดได้ โดยวัดแห่งนี้อนาถบิณฑกเศรษฐีได้สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ สิ้นเงินไปอีก 18 โกฏิ

• วัดแห่งนี้เป็นสถานที่เกิดเรื่องราวและพระสูตรสำคัญ ๆ ในพระพุทธศาสนามากมายเช่น เรื่องของพระองคุลิมาล, นางปฏาจาราเถรี, พระนางกิสาโคตมีเถรี, การถวายอสทิสทาน, เรื่องพระพุทธองค์ทรงดูแลภิกษุไข้, พราหมณ์จูเฬกสาฏก, ทรงพยากรณ์สุบินนิมิต 16 ประการ, นางกาลียักษิณี, นางจิญมาณวิกา ถูกแผ่นดินสูบ, พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ เป็นต้น ในส่วนพระสูตรนั้นมีจำนวนมาก ที่รสำคัญ ๆ เช่น มหามงคลสูตร, ธชัคคสูตร, ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานสังสสูตร, คิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร, พลสูตร, มัคควิภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนารถกรณธัมมสูตร, อัคคัปปทานสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อนริยสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร โดยทั้งหมดทรงแสดง ณ วัดเชตวันแห่งนี้

• วัดเชตวันหลังการปรินิพพาน

• วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันจวบจนเมืองสาวัตถีตกไปอยู่ในอำนาจของแคว้นมคธและเสื่อมความสำคัญลง จนถูกเมืองสาวัตถีและวัดแห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างไป และสิ่งก่อสร้างถูกทิ้งกลายสภาพเป็นเนินดิน และชื่อของสาวัตถีได้ถูกลืมไปจากอินเดีย

• วัดเชตวันในปัจจุบัน สถานที่สำคัญๆ ที่พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันนิยมไปนมัสการคือ พระมูลคันธกุฎี ที่ได้ทำการขุดค้นปรับแต่งเป็นอย่างดี อานันทโพธิ์ ต้นโพธิ์ที่ปลูกโดยพระอานนท์ในสมัยพุทธกาล ต้นโพธิ์ต้นนี้ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์และยังคงเป็นยืนต้นมาจนปัจจุบัน หมู่กุฏิพระมหาเถระ บ่อน้ำสรงสนานของพระพุทธองค์ เป็นต้น

• อนาถบิณฑิกเศรษฐี เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อว่า “สุมนะ” มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาลเมื่อเกิดมา มีชื่อว่า “สุทัตตะ” เป็นคนมีจิตเมตตาชอบทำบุญให้ทานแก่คนยากอนาถา

• เมื่อบิดามารดาของท่านได้ตายไปก็ทิ้งสมบัติไว้มากมายกลายเป็นมหาเศรษฐีแทน และนางสุทัตตะได้ตั้งโรงทานที่หน้าบ้านแจกอาหารแก่คนยากจนทุกวัน จนกระทั้งประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามลักษณะนิสัยวว่า “อนาถบิณฑิกะ” ซึ่งหมายถึง “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถ” และได้เรียกกับต่อมมาจนบางคนก็ลืมชื่อเดิมของท่านไป

• อนาถปิณฑิกะ ทำการค้าขายระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองราชคฤห์เป็นประจำ จนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเศรษฐราชคหกะี ซึ่งเป็นเศรษฐีเมืองราชคฤห์และต่อมาเศรษฐีทั้งสองก็มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้น โดยต่างฝ่ายก็ได้น้องสาวของกับและกันมาเป็นภรรยา ดังนั้น เมื่ออนาถปิณฑิกะนำสินค้นมาขายยังเมืองราชคฤห์ จึงได้มาพักอาศัยที่บ้านของราชคหกเศรษฐี ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งน้องเขยและทั้งพี่เมียอยู่เป็นประจำ

• อนาถปิณฑิกเศรษฐี ดำรงชีวิตในกรุงสาวัตถีโดยมิได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธศาสนาเลย จวบจนวันหนึ่งท่านได้นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์ และได้เข้าพักในบ้านของราชคหกเศรษฐีตามปกติ แต่ในวันนั้นเป็นวันที่ราชคหกะเศรษฐี ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากมายมาเสวยและฉันภัตตาการที่เรือนของตนในวันรุ่งขึ้น

• ราชคหกะเศรษฐี มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานแก่ข้าทาสบริวาร จึงไม่มีเวลามาปฏิสันถารต้อนรับท่านอนาถปิณฑิกะเหมือนเช่นเคย เพียงแต่ได้ทักทายปราศัยเล็กน้อยเท่านั้นก็สั่งงานต่อไป แม้ท่านอนาถปิณฑิกก็เกิดความสงสัยขึ้นเช่นกัน จึงคิดอยู่ในใจว่า “ราชคหกะเศรษฐี คงจะมีงานบูชายัญหรือไม่ก็คงจะกราบทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมายังเรือนของตนในวันพรุ้งนี้”

• เมื่อการสั่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราชคหกเศรษฐี จึงได้มีเวลามาต้อนรับพูดคุยกับอนาถบิณฑิเศรษฐี และท่านอนาถปิณฑกะก็ได้ไต่ถามข้อข้องใจสังสัยนั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่า ที่มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานนั้นก็เพราะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ มาเสวยและฉันภัตตาหารที่เรือนของตนในวันพรุ้งนี้

• อนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ฟังคำว่า “พระพุทธเจ้า” เท่านั้นเอง ก็รู้สึกแปลกประหลาดใจ จึงย้อนถามถึงสามครั้งเพื่อให้แน่ใจ เพราะคำว่า “พระพุทธเจ้า” นี้เป็นการยากยิ่งนักที่จะได้ยินในโลกนี้ เมื่อราชคหกะเศรษฐีกล่าวยืนยันว่า “ขณะนี้พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก” จึงเกิดปิติและศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ปรารถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในทันทีนั้น แต่ราชคหกะเศรษฐียับยั้งไว้ว่ามิใช่เวลาแห่งการเข้าเฝ้า จึงรอจนรุ่งเช้าก็รีบไปเข้าเฝ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปยังบ้านราชคหกะเศรษฐี ได้ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจสี่จากพระพุทธเจ้าแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอกชีวิต

• อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ ครั้นเสร็จกิจแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเพื่อเสด็จไปประกาศพระศาสนายังเมืองสาวัตถี พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวายที่เมืองสาวัตถีนั้น พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูล

• อนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับสู่กรุงสาวัตถีโดยด่วน ในระหว่างทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๕ โยชน์ ได้บริจากทรัพย์จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุก ๆ ระยะหนึ่งโยชน์

• เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้ติดต่อขอซื่อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ ปรากฏว่าเศรษฐีใช้เงินซื้อที่ดิน 18 โกฏิ และค่าก่อสร้างพระคันธกุฏิที่ประทับของพระบรมศาสดาและเสนาสนะสงฆ์ อีก 18 โกฎิ

• เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันปราณีตแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูป ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาล

• อนาถบิณฑิกเศรษฐี ทำบุญโดยทำนองนี้ ทั้งให้ทานแก่คนยากจนและการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ จนกระทั้งทรัยพ์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ ทรัพย์ที่หาได้มาใหม่ก็ไม่เท่ากับจ่ายออกไป ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ก็ลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ จนในที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จำเป็นต้องใช้ข้าวปลายเกวียน กับข้าวก็เหลือเพียงน้ำผักเสี้ยนดอง ตนเองก็พลอยอดยากลำบากไปด้วย ถึงกระนั้นเศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ ได้แต่กราบเรียนให้พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า ตนเองไม่สามารถจะจัดถวายอาหารอันปราณีตมีรสเลิศเหมือนเมื่อก่อนได้ เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหา พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหารบิณฑบาตที่ตระกูลอื่นที่ถวายอาหารมีรสเลิศกว่า...

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1619 เมื่อ: 12 มีนาคม 2554, 13:38:36 »

                         คณะได้ไปนั่งสวดมนต์ นั่งเจริญสติ วิปัสสนาที่พระคันธกุฎี ชมกุฏิพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระสาวลี .........ชมธรรมศาลาหน้าพระคันธกุฎี ที่พระพุทธเจ้าใช้ แสดงธรรม ชมอนันทโพธิ์ อีกมากมาย
                         เชิญชมภาพ






















นางวิสาขา

นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ เป็นบุตรของ ธนญชัยเศรษฐี มารดาชื่อว่าสุมนาเทวี มีปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี [1] นางวิสาขามีอีกชื่อหนึ่งว่า นางวิสาขามิคารมารดา เป็นภรรยาของ ปุณณวัฒนกุมาร บุตรของมิคารมหาเศรษฐีในเมืองสาวัตถี ท่านเป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า เป็นผู้ถวายบุพพาราม และโลหะปราสาทหลังแรกแก่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ยกย่องนางวิสาขาว่าเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นทายิกา นอกจากนั้นนางวิสาขายังมีน้องสาวคนหนึ่งที่เป้นบุคคลสำคัญในพุทธประวัติคือนางสุชาดา

7 ขวบบรรลุโสดาบัน

เมื่อนางวิสาขา มีอายุได้ 7 ขวบ ท่านเมณฑกเศรษฐี (ปู่) ได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมาก กำลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ ท่านเมณฑกเศรษฐี จึงได้มอบหมายให้เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ก็เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด

ส่วนเมณฑกเศรษฐี เมื่อพุทธองค์เสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน และยังกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตนเป็นระยะเวลา 15 วัน

สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ ซึ่งต่างฝ่ายต่างอภิเสกสมรสน้องสาวของฝ่าย และเนื่องจากในเมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมากเลย ได้ทราบว่าในเมืองราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น มีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติขนาดนับไม่ถ้วนอยู่ถึง 5 คน ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารแล้วแจ้งความประสงค์ที่มาในครั้งนี้ ก็เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นี้ไปอยู่ในเมืองสาวัตถีสักหนึ่งตระกูลพระเจ้าพิมพิสารได้สดับแล้วตรัสตอบว่า “การโยกย้ายตระกูลใหญ่ ๆ เพียงหนึ่งตระกูลก็เหมือนกับแผ่นดินทรุด” แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้หลังจากที่ได้ปรึกษากับอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่าสมควรยกตระกูลธนญชัยเศรษฐี ให้ไปอยู่เมืองสาวัตถีกับพระเจ้าปพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้ว ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมืองธนญชัยเศรษฐีเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณที่พักนั้นเป็นชัยภูมิเหมาะสมดี อีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจำนวนมาก ถ้าไปตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้านเมืองลง ณ ที่นั้น และได้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “สาเกต” ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถี 7 โยชน์

หญิงงามเบญจกัลยาณี

ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตรชายชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงานเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่งเมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น เขาจึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง 5 อย่าง ซึ่งเรียกว่า เบญจกัลยาณี แล้วจึงจะยอมแต่งงาน
เบญจกัลยาณี หมายถึง ความงามของสตรี 5 อย่าง ได้แก่
•   เกสกลฺยาณํ (ผมงาม) คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
•   มงฺสกลฺยาณํ (เนื้องาม) คือ หญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี
•   อฏฺฐิกลฺยาณํ (กระดูกงาม) คือ หญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน
•   ฉวิกลฺยาณํ (ผิวงาม) คือ หญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา
•   วยกลฺยาณํ (วัยงาม) คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง 10 ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว
บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้วจึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถีลักษณะมาถามว่า หญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพราหมณ์ตอบว่ามี จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นออกเที่ยวแสวงหาตามเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย

ชน 4 พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม

พวกพราหมณ์ก็ไปตามเมืองต่าง ๆ เรื่อยไป จนมาถึงเมืองสาเกต ได้เห็น นางวิสาขา พร้อมทั้งหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ำกันที่ท่าน้ำ เห็นนางมีลักษณะภายนอกถูกต้องตามตำราอิตถี ลักษณะครบทุกประการ และขณะนั้นเองฝนตกลงมาอย่างหนัก หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดินด้วยอาการปกติ ทำให้พวกพราหมณ์ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจประกอบกับต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนางด้วยจึงถามนางว่า “ทำไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนกับหญิงอื่น ๆ” นางวิสาขาตอบว่า ชน 4 พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม ได้แก่
•   พระราชา ผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ
•   บรรพชิต ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์
•   สตรี ผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลาย
•   ช้างมงคล ตัวประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สำหรับช้าง
พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันชาญฉลาด และคุณสมบัติ เบญจกัลยาณี ครบทุกประการแล้ว จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทำการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึงชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติก็ทราบว่า มีเสมอกัน จึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาขาเป็นการหมั้นหมายและกำหนดวันวิวาหมงคลธนญชัยเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทำเครื่องประดับ ชื่อ มหาลดาปสาธน์ เพื่อมอบให้แก่ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า ประดับด้วยเงินทองและรัตนอันมีค่าถึง 9 โกฏิกหาปณะ ค่าแรงฝีมือช่างอีก 1 แสน เป็นเครื่องประดับที่หญิงอื่น ๆ ไม่สามารถจะประดับได้เพราะมีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ ธนญชัยเศรษฐี ยังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าทาสบริวารและฝูงโคอีกจำนวนมากมายมหศาล อีกทั้งส่งกุฏุมพีผู้มีความชำนาญพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเป็นที่ปรึกษาดูแลประจำตัวอีก 8 นายด้วย

คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา

ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมากเป็นพิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ หลายประการ เช่น
1. ลักษณะของผู้มีวัยงาม คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง 20 คน ลูกเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ 20 คน นางก็มีหลานนับได้ 400 คน หลานเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ 20 คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ 8000 คน ดังนั้น คนจำนวน 8420 คน มีต้นกำเนิดมาจากนางวิสาขา นางมีอายุยืนได้เห็นหลานได้เห็นเหลนทุกคน แม้นางมีอายุถึง 120 ปี แต่ขณะเมื่อนางนั่งอยู่ในกลุ่มของลูก หลาน เหลน นางจะมีลักษณะวัยใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น คนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะสังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สำหรับคนแก่จะต้องใช้มือยันพื้นช่วยพยุงกาย และจะยกก้นขึ้นก่อน นั่นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน
2. นางมีกำลังมากเท่ากับช้าง 5 เชือกรวมกัน ครั้งหนึ่งพระราชามีพระประสงค์จะทดลองกำลังของนาง จึงรับสั่งให้ปล่อยช้างพลายตัวที่มีกำลังมากเพื่อให้วิ่งชนนางวิสาขา นางเห็นช้างวิ่งตรงเข้ามา จึงคิดว่า “ถ้ารับช้างนี้ด้วยมือข้างเดียวแล้วผลักไป ช้างก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เราก็จะเป็นบาป ควรจะรักษาชีวิตช้างไว้จะดีกว่า” นางจึงใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วจับช้างที่งวงแล้วเหวี่ยงไปปรากฏว่าช้างถึงกับล้มกลิ้งแต่ไม่เป็นอันตราย ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ชนทั้งหลายเมื่อจัดงานมงคลในบ้านเรือนของตนจึงพากันเชิญนางวิสาขาให้ไปเป็นประธานในงาน มอบให้นางเป็นผู้นำในพีธีต่าง ๆ แม้แต่อาหารก็ให้นางทานก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล จนนางวิสาขาไม่มีเวลาดูแลปฏิบัติพระภิกษุที่มาฉันในบ้านของตน ต้องมอบให้ลูก ๆ หลาน ๆ ดำเนินการให้

สร้างวัด

โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า-เย็น และมีของไปถวายเสมอ ถ้าไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่มสามเณรีน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้าน

วันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับไปนำมา แต่สั่งว่าถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ” ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายในราคา 9 โกฏิ กับ 1 แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้ นางจึงซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้างวัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระบรมศาสดารับสั่งให้พระโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท 2 ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ 500 ห้อง โดยใช้เวลาในการก่อสร้างถึง 9 เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า พระวิหารบุพพาราม

เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝน

ปกตินางจะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง เพื่อรับภัตตาหารอยู่เสมอ
วันหนึ่ง สาวใช้ได้ไปที่วัดตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็นนักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า
“ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่”
นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบ เหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง 3 ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้นเมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำอาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้านและเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขา จึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1620 เมื่อ: 12 มีนาคม 2554, 13:48:12 »

                         คณะได้เดินชมกุฏิพระอรหันต์ ๘ ทิศ
                         คณะได้ไปสวดมนต์ที่ กุฏิพระสารีบุตร กุฏิพระโมคคัลลานะ กุฏิพระสีวลี แล้วออกเดินทางจากวัดเชตวันไปบ้านท่านอณาบิณฑิกเศรษฐี ที่นั่นได้ไปสวดมนต์ ด้วย แล้วจึงออกเดินทางต่อไปยังโรงแรมเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน
                          เชิญชมภาพ



ธรรมศาลา

















ดร.กุศล ยืนอญุ่หน้ากุฏิพระสีวลี


พระสีวลีเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก

      พระสีวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ราชธิดาแห่งโกลิยนคร ตั้งแต่ท่านจุติลงถือ ปฏิสนธิในครรภ์ของพระมารดา ได้ทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระมารดาเป็นอันมาก ท่าน อาศัยอยู่ในครรภ์ของพระมารดา นานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ครั้นเมื่อใกล้เวลาจะประสูติ พระมารดาได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า พระนางจึงขอให้พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพร จากพระบรมศาสดาและพระพุทธองค์ตรัสประทานพรแก่พระนางว่า:-
“ขอพระนางสุปปวาสา พระราชธิดาแห่งพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุข
ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชโอรสผู้หาโรคมิได้เถิด”
    
    ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธานุภาพ ทุกขเวทนาของพระนางก็อันตรธานไปพระนาง ประสูติพระราชโอรสอย่างง่ายดาย ดุจน้ำไหลออกจากหม้อ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนาน พระนามพระราชโอรสของพระนางสุปปวาสาว่า “สีวลีกุมาร”
    
    (ขอเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่พระสิวลีกับมารดา( พระนางสุปปวาสา )ต้องทรมานอยู่ถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน คือเหตุมีอยู่ว่าในอดีตชาติ ของพระสีวลีกับมารดานั้น พระสีวลีเคยเป็น ราชา ของเมืองหนึ่ง แล้วกำลังยกทัพไปตี อีกเมืองแต่ปรากฏว่าเมืองนั้นใช้วิธีปิดเมือง ไม่ออกมาสู้ด้วย พระราชาจึงไปขอคำปรึกษากับมารดา และได้วิธีคือ ให้ใช้วิธีปิดทางเข้าออกของเสบียงทุกอย่าง ไม่ให้เข้าไปในเมืองได้ จนกระทั่ง คนในเมืองนั้นได้รับความเดือดร้อน ทรมานกันจนต้อง ยอมเปิดเมือง ซึ่งผลกรรมนั้นเอง ทำให้พระราชา และมารดา ต้องเกิดมารับกรรมนั้นตามมาทุก ๆ ชาติ จนถึง ชาติสุดท้าย นั้นก้อคือ พระสีวลีที่ต้องอยู่ในครรถ์นานถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน กับมารดาที่ต้องอุ้มท้อง นานเท่ากัน )
    เมื่อพระนางมีพระวรกายแข็งแรงดีแล้ว มีพระประสงค์ที่จะถวายมหาทานติดต่อกันเป็น เวลา ๗ วัน จึงจึงความประสงค์แก่พระสวามีให้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ มารับมหาทานอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวสน์ ตลอด ๗ วัน ในวันถวายมหาทานนั้น สีวลีกุมาร มีพระวรกายเข้มแข็งดุจกุมารผู้มีพระชนม์ ๗ พรรษา ได้ช่วยพระบิดาและพระมารดาจัดแจงกิจต่าง ๆ มีการนำธมกรก (ธะมะกะหรก = กระบอกกรองน้ำ) มากรองน้ำดื่มและอังคาสพระบรมศาสดาและหมู่พระภิกษุสงฆ์ ในขณะที่ สีวลีกุมาร ช่วยพระบิดาและพระมารดาอยู่นั้น ท่านพระสารีบุตรเถระได้สังเกตดูอยู่ตลอดเวลา และเกิดความรู้สึกพอใจในพระราชกุมารน้อยเป็นอย่างมาก ครั้นถึงวันที่ ๗ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย พระเถระได้สนทนากับสีวลีกุมารแล้วชักชวนให้มาบวช สีวลีกุมาร ผู้มีจิตน้อมไปในการบวชอยู่ แล้ว เมื่อพระเถระชักชวน จึงกราบทูลขออนุญาตจากพระบิดาและพระมารดา เมื่อได้รับอนุญาต แล้วจึงติดตามพระเถระไปยังพระอาราม
    
    พระสารีบุตรเถระ ผู้รับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนพระกรรมฐานเบื้องต้น คือ ตจปัญจกกรรมฐานทั้ง ๕ ได้แก่ เกสา(ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตโจ (หนัง) ให้ พิจารณาของทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็นของไม่งานเป็นของสกปรก ไม่ควรเข้าไปยึดติดหลงใหลในสิ่ง เหล่านี้ สีวลีกุมาร ได้สดับพระกรรมฐานนั้นแล้วนำไปพิจารณาในขณะที่กำลังจรดมีดโกนเพื่อ โกนผม ครั้งแรกนั้นท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๒ ท่านได้บรรลุเป็น พระสกทาคามี จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๓ ท่านได้บรรลุเป็นพระอนาคามี และเมื่อโกนผมเสร็จ ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    เมื่อท่านอุปสมบทแล้วปรากฏว่าท่านเป็นพุทธสาวกที่มีลาภสักการะมากมาย ด้วยอำนาจ บุญบารมีของท่านที่สั่งสมมา ลาภสักการะเหล่านี้ได้เผื่อแผ่ไปยังพระสงฆ์สาวกท่านอื่น ๆ ด้วย แม้พระบรมศาสดาเมื่อทรงพาหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จทางไกลกันดาร ถ้ามี พระสีวลี ร่วมเดินทางไป ด้วย ความขาดแคลนอาหารและที่พักอาศัยในระหว่างทางก็จะไม่เกิดขึ้นแก่หมู่ภิกษุสงฆ์เลย เช่น....  พระพุทธองค์และหมู่ภิกษุอาศัยบุญพระสีวลี
  สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จำนวน ๕๐๐ รูปไปเยี่ยมพระเรวตะ ผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ ป่าไม้ตะเคียน เมื่อเสด็จมาถึงทาง ๒ แพร่ง พระอานนท์เถระได้กราบทูลสภาพหนทางว่า.....
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเสด็จไปทางอ้อม ระยะทางไกล ๖๐ โยชน์ มีประชาชนอยู่ อาศัยมาก พระภิกษุไม่ลบากด้วยภิกขาจาร แต่ถ้าเสด็จไปทางลัดระยะทางประมาณ ๓๐ โยชน์ ไม่มีประชาชนอยู่อาศัย มีสภาพเป็นป่าใหญ่ มีแต่อมนุษย์อยู่อาศัย พระภิกษุสงฆ์จะลำบากด้วย ภิกขาจาร”
พระพุทธองค์ ตรัสถามว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ พระสีวลีมากับเราด้วยหรือไม่?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเสวลีมากับเราด้วย พระเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ ตรัสว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้นก็จงไปทางลัด ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวลด้วยอาหาร
บิณฑบาต เพราะเทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในป่าระหว่างทาง จะจัดสถานที่พักและอาหาร บิณฑบาตไว้ถวายพระสีวลีผู้เป็นที่เคารพนับถือของพวกตน เราทั้งหลายก็จะได้อาศัยบุญของ พระสีวลี นั้นด้วย”

 ได้รับยกย่องในทางผู้มีลาภมาก ด้วยอำนาจบุญที่ท่านพระสีวลี ได้บำเพ็ญสั่งสมอบรมมาตั้งแต่อดีตชาติ เป็นปัจจัยส่งผล ให้ท่านเจริญด้วยลาภสักการะ โดยมีเทพยาดา นาค ครุฑ และมนุษย์ทั้งหลาย นำมาถวายโดยมิ ขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในที่ใด ๆ ในป่า ในบ้าน ในน้ำ หรือบนบก เป็นต้น
  
  ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ จึงทรงประกาศให้ปรากฏในหมู่พุทธบริษัทตรัสยกย่องท่านใน ตำแหน่ง เอคทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีลาภมาก
นับว่าท่านพระสีวลีเถระเป็นพระมหาสาวกอีกรูปหนึ่งที่ได้ช่วยกิจการ พระศาสนา แบ่ง เบาภาระของพระบรมศาสดาเป็นอย่างมาก ท่านดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ ดับขันธปรินิพพาน


ประวัติ พระปฏาจาราเถรี
เอตทัคคมหาเถรีเลิศทางผู้ทรงวินัย
คัดลอกจากสารานุกรม พระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน
 
พระนางปฏาจาราเถรีนั้น เป็นธิดาของเศรษฐีผู้มีสมบัติ๔๐ โกฎิ ในกรุงสาวัตถี มีรูปร่างสวยงาม.
ในเวลานางมีอายุ ๑๖ ปี มารดาบิดาเพื่อจะรักษาไม่ให้เกิดข้อครหานินทา จึงให้นางอยู่บนชั้นบนปราสาท ๗ ชั้น.
ถึงแม้เป็นเช่นนั้น นางก็ยังลักลอบได้เสียกับคนรับใช้คนหนึ่งของตน.

กาลต่อมา มารดาบิดาของนางตกลงจะยกนางให้แก่ชายหนุ่มคนหนึ่ง ในสกุลที่มีชาติเสมอกันแล้ว กำหนดวันวิวาหะ(วิวาห์)
เมื่อวันวิวาหะใกล้เข้ามา นางจึงพูดกะคนรับใช้ผู้นั้นว่า
“ได้ยินว่า มารดาบิดาจักยกฉันให้แก่สกุลโน้น เมื่อเวลาที่ฉันไปสู่สกุลผัวแล้ว แม้ท่านจะถือบรรณาการมาเพื่อฉัน ก็เข้าไปในที่นั้นไม่ได้ ถ้าท่านมีความรักในฉัน ก็จงพาฉันหนีไปโดยทางใดทางหนึ่งในบัดนี้นี่แล.”
คนรับใช้นั้นรับคำว่า “ดีละ นางผู้เจริญ” แล้วกล่าวว่า
“ถ้าอย่างนั้นฉันจักยืนอยู่ที่ประตูเมืองแต่เวลาเช้าตรู่พรุ่งนี้ หล่อนพึงออกไปด้วยอุบายอย่างหนึ่งแล้ว มาในที่นั้น”
ในวันที่ ๒ ก็ได้ยืนอยู่ในที่นัดหมายกันไว้.

นางปฏาจาราหนีไปกับคนใช้
ฝ่ายธิดาเศรษฐีนั้นนุ่งผ้าปอน ๆ สยายผม เอารำทาสรีระถือหม้อน้ำ ออกจากเรือนเหมือนเดินไปกับพวกทาสี ได้ไปยังที่นั้นแต่เช้าตรู่.
ชายคนรับใช้นั้นพานางไปไกลแล้ว อาศัยอยู่บ้านแห่งหนึ่ง ไถนาในป่าแล้ว ได้นำฟืนและผักเป็นต้นมา.
ธิดาเศรษฐีเอาหม้อน้ำมาแล้ว ทำกิจมีการตำข้าวและหุงต้ม เป็นต้นด้วยมือตนเอง เสวยผลแห่งความชั่วของตน.
ครั้งนั้น นางได้ตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว.ต่อมาเมื่อครรภ์แก่แล้วนางจึงอ้อนวอนสามีว่า
“ใคร ๆ ผู้อุปการะของเราไม่มีในที่นี้ ธรรมดามารดาบิดา เป็นผู้มีใจอ่อนโยนในบุตรทั้งหลาย ท่านจงนำฉันไปยังสำนักของท่านเถิด ฉันจักคลอดบุตรในที่นั้น.”
สามีนั้นคัดค้านว่า “นางผู้เจริญ เจ้าพูดอะไร? มารดาบิดาของเจ้าเห็นฉันแล้ว พึงลงทัณฑ์ด้วยประการต่าง ๆ ฉันไม่อาจไปในที่นั้นได้.”
นางแม้อ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ เมื่อไม่ได้ความยินยอม.
นางรอเวลาที่สามีนั้นไปป่า จึงเรียกคนผู้คุ้นเคยมาสั่งว่า
“ถ้าเขามาไม่เห็นฉัน จักถามว่า ‘ฉันไปไหน?’
พวกท่านพึงบอกความที่ฉันไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตน” ดังนี้แล้วก็ปิดประตูเรือนหลีกไป.
ฝ่ายสามีนั้นมาแล้ว ไม่เห็นภรรยานั้นจึงถามคนคุ้นเคย ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็ติดตามไปด้วยคิดว่า “จักให้นางกลับ” เมื่อพบนางแล้วแม้เขาจะอ้อนวอนประการต่าง ๆ ก็มิอาจทำให้นางกลับได้.
ทีนั้น ลมกัมมัชวาตของนางปั่นป่วนแล้วในที่แห่งหนึ่ง.
นางเข้าไปในระหว่างพุ่มไม้พุ่มหนึ่ง พูดว่า
“นาย ลมกัมมัชวาตของฉันปั่นป่วนแล้ว”
นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนพื้นดิน คลอดเด็กโดยยากแล้ว คิดว่า
“เราพึงไปสู่เรือนแห่งตระกูลเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้ว” จึงกลับมาสู่เรือนกับสามี อยู่กันอีกเทียว.
สมัยต่อมา ครรภ์ของนางตั้งขึ้นอีก. นางเป็นผู้มีครรภ์แก่แล้วจึงอ้อนวอนสามีโดยนัยก่อนนั่นแล เมื่อไม่ได้ความยินยอม จึงอุ้มบุตรด้วยสะเอวหลีกไปอย่างนั้นนั่นแล แม้ถูกสามีนั้นติดตามไปพบแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะกลับ.
ครั้งนั้น เมื่อชนเหล่านั้นเดินไปอยู่ มหาเมฆอันไม่ใช่ฤดูกาลเกิดขึ้น. ท้องฟ้าได้มีท่อธารตกลงไม่มีระหว่าง(ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก)ดังสายฟ้าแผดเผาอยู่โดยรอบ ดังจะทำลายลงด้วยเสียงแผดแห่งเมฆ.
ในขณะนั้น ลมกัมมัชวาตของนางปั่นป่วนแล้ว
นางเรียกสามีมากล่าวว่า
“นาย ลมกัมมัชวาตของฉันปั่นป่วนแล้ว ฉันไม่อาจทนได้ ท่านจงรู้สถานที่ฝนไม่รดฉันเถิด.”
สามีนั้นมีมีดอยู่ในมือ ตรวจดูข้างโน้นข้างนี้ เห็นพุ่มไม้ซึ่งเกิดอยู่บนจอมปลวกแห่งหนึ่ง เริ่มจะตัด.
ลำดับนั้น อสรพิษมีพิษร้ายกาจเลื้อยออกจากจอมปลวก กัดเขาในที่นั้นนั่นแล สรีระของสามีสีเขียวดังถูกเปลวไฟอันตั้งขึ้นในภายในไหม้อยู่ ล้มลงในที่นั้นนั่นเอง.
ฝ่ายภรรยาก็ได้เสวยทุกข์อย่างมหันต์ เฝ้ามองดูการมาของสามีอยู่ โดยไม่ทราบว่าเขาได้ตายไปแล้ว ก็มิได้เห็นเขาเลย ในที่สุดก็คลอดบุตรคนที่ ๒ อีก.
ทารกทั้ง ๒ ทนกำลังแห่งฝนและลมไม่ได้ ก็ร้องไห้ลั่น.
นางเอาทารกทั้ง ๒ คนนั้นไว้ที่ระหว่างอุทร ยืนคร่อมเด็กทั้งสองด้วยเข่าและมือทั้ง ๒ เพื่อบังฝนให้จนตลอดราตรี.ร่างกายทั้งสิ้นได้ซีดเป็นดังสีใบไม้เหลือง เหมือนไม่มีโลหิต.
ครั้นเมื่ออรุณขึ้นนางก็อุ้มบุตรคนที่เพิ่งคลอดซึ่งมีสีดังชื้นเนื้อสดด้วยเอว จูงบุตรคนโตด้วยนิ้วมือพลางกล่าวว่า “มาเถิด พ่อ บิดาเจ้าไปโดยทางนี้” แล้วก็เดินไปตามทางที่สามีไป ครั้นเมื่อเห็นสามีนั้นล้มตายบนจอมปลวกมีสีเขียวตัวกระด้าง ก็ร้องไห้รำพันว่า
“เป็นเพราะเราที่เดียว สามีของเราจึงต้องตายที่หนทางเปลี่ยว” ดังนี้แล้วก็เดินไป.
นางเห็นแม่น้ำอจิรวดี เต็มเปี่ยมด้วยน้ำสูงประมาณเพียงหน้าอก เพราะฝนตกตลอดคืนยังรุ่ง นางไม่อาจลงน้ำพร้อมด้วยทารกทั้ง ๒ คนได้ เพราะตนมีความรู้อ่อน จึงให้บุตรคนใหญ่รออยู่ที่ฝั่งนี้ แล้วอุ้มบุตรคนเล็กข้ามแม่น้ำไปที่ฝั่งโน้น ปูลาดกิ่งไม้ไว้ให้บุตรนอนแล้วคิดว่าจะข้ามรับบุตรคนโต แต่ใจของก็ไม่อาจจะละความเป็นห่วงบุตรอ่อนได้ กลับแลดูแล้ว ๆ เล่า ๆ เดินไป.
ครั้นในเวลาที่นางถึงกลางแม่น้ำ เหยี่ยวตัวหนึ่งก็เห็นลูกคนเล็กซึ่งมีผิวแดงดังชิ้นเนื้อนอนอยู่ จึงโฉบลงมาจากอากาศ ด้วยสำคัญว่าเป็นชิ้นเนื้อ
นางเห็นมันโฉบลงเพื่อต้องการบุตร จึงยกมือทั้งสองขึ้น ร้องไล่ด้วยเสียงอันดัง ๓ ครั้งว่า “สู สู” เหยี่ยวไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยเพราะไกลกัน จึงเฉี่ยวเด็กบินขึ้นสู่เวหาสไปแล้ว.
ส่วนบุตรผู้ยืนอยู่ที่ฝั่งนี้ เห็นมารดายกมือทั้งสองขึ้น ร้องเสียงดังท่ามกลางแม่น้ำ จึงกระโดดลงแม่น้ำโดยเร็วด้วยสำคัญว่ามารดาเรียกจึงถูกกระแสน้ำพัดหายไป เหยี่ยวเฉี่ยวเด็กอ่อนของนางไป บุตรคนโตก็ถูกน้ำพัดไป ด้วยประการฉะนี้.
นางทราบข่าวว่ามารดาบิดาตายอีก
นางเดินร้องไห้รำพันว่า “บุตรของเราคนหนึ่งถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีก็ตายเสียในที่เปลี่ยว” เมื่อพบบุรุษผู้หนึ่งเดินมาจากกรุงสาวัตถี จึงถามว่า “พ่อ ท่านอยู่ที่ไหน?”
บุรุษ. ฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี แม่.
ธิดาเศรษฐี. ตระกูลชื่อโน้นเห็นปานนี้ใกล้ถนนโน้นในกรุงสาวัตถีมีอยู่ ทราบไหม? พ่อ.
บุรุษ. ฉันทราบ แม่. แต่อย่าถามถึงตระกูลนั้นเลย ถ้าท่านรู้จักตระกูลอื่น จงถามเถิด.
ธิดาเศรษฐี. ฉันไม่มีธุระที่เกี่ยวกับตระกูลอื่น ฉันถามถึงตระกูลนั้นเท่านั้นแหละ พ่อ.
บุรุษ. แม่ ฉันบอกก็ไม่ควร.
ธิดาเศรษฐี. บอกฉันเถิด พ่อ.
บุรุษ. วันนี้ แม่เห็นฝนตกคืนยังรุ่งไหม?
ธิดาเศรษฐี. ฉันเห็น พ่อ ฝนนั้นคืนยังรุ่งเพื่อฉันเท่านั้นไม่ตกเพื่อคนอื่น แต่ฉันจักบอกเหตุที่ฝนตกเพื่อแก่ท่านภายหลัง โปรดบอกความเป็นไปในเรือนเศรษฐีนั้นแก่ฉันก่อน.
บุรุษ. แม่ วันนี้ ในกลางคืน พายุได้พัดเอาเรือนล้มทับ คนที่อยู่ข้างในตายหมด วันนี้คนทั้งสามเหล่านั้นก็ถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน  แม่เอ๋ย ควันนั่นยังปรากฏอยู่.
นางได้ฟังดังนั้น ถึงความเป็นคนวิกลจริตยืนตะลึงอยู่ ร้องไห้รำพันบ่นเพ้อเซซวนไปว่า:-
“บุตร ๒ คน ตายเสียแล้ว สามีของเรา
ก็ตายเสียที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายก็ถูกเผา
บนเชิงตะกอนเดียวกัน.”
เที่ยวกระเซอะกระเซิงไป ไม่รู้สึกถึงผ้าที่นุ่งซึ่งได้หลุดลง คนทั้งหลายเห็นนางแล้ว เข้าใจว่หญิงบ้า จึงเอาหยากเยื่อ กอบฝุ่น โปรยลงบนศีรษะ ขว้างด้วยก้อนดิน.
พระศาสดาประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ ในพระเชตวันมหาวิหาร ได้ทอดพระเนตรเห็นนางผู้บำเพ็ญบารมีมาแสนกัลป์ สมบูรณ์ด้วยอภินิหารเดินมาอยู่.
นางได้ตั้งความปรารถนาไว้ในชาติก่อน
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ นางปฏาจารานั้น เห็นพระเถรีผู้ทรงวินิจฉัยรูปหนึ่ง อันพระปทุมุตตรศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ จึงทำคุณความดีแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า “แม้หม่อมฉันพึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินิจฉัยทั้งหลายในสำนักพระพุทธเจ้าเช่นกับด้วยพระองค์.” พระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงเล็งอนาคตตั้งญาณไป ก็ทรงทราบความปรารถนาจะสำเร็จจึงทรงพยากรณ์ว่า
“ในอนาคตกาลหญิงผู้นี้จักเป็นผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินิจฉัยทั้งหลาย มีนามว่าปฏาจาราในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า.”
พระศาสดา ทรงเห็นนางผู้มีความปรารถนาตั้งไว้แล้วอย่างนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร กำลังเดินมาแต่ที่ไหนเทียว ทรงดำริว่า
“เว้นเราเสีย ผู้อื่นชื่อว่าสามารถจะเป็นที่พึ่งของหญิงผู้นี้ได้ ไม่มี”
จึงได้ทรงบันดาลให้นางเดินบ่ายหน้ามาสู่วิหาร
พวกพุทธบริษัทเห็นนางแล้วจึงกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าให้หญิงบ้านี้มาที่นี้เลย.”
พระศาสดาตรัสว่า “พวกท่านจงหลีกไป อย่าห้ามเธอ”
ในเวลานางมาใกล้ จึงตรัสว่า “จงกลับได้สติเถิด น้องหญิง.”
นางกลับได้สติด้วยพุทธานุภาพในขณะนั้นเอง.
ในเวลานี้ นางกำหนดความที่ผ้านุ่งหลุดได้แล้ว ให้เกิดหิริโอตัปปะขึ้น จึงนั่งกระโหย่ง.
ลำดับนั้น บุรุษผู้หนึ่งจึงโยนผ้าห่มไปให้นาง.
นางนุ่งผ้านั้นแล้วเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แทบพระบาททั้งสองซึ่งมีพรรณะดังทองคำแล้วทูลว่า “ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า เพราะว่าเหยี่ยวเฉี่ยวบุตรคนหนึ่งของหม่อมฉันไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับตายเขาเผาเชิงตะกอนเดียวกัน.”

พระศาสดาทรงสดับคำของนาง จึงตรัสว่า
“อย่าคิดเลยปฏาจารา เธอมาอยู่สำนักของผู้สามารถจะเป็นที่พึ่งพำนักอาศัยของเธอได้แล้ว เหมือนอย่างว่า บัดนี้ บุตรคนหนึ่งของเธอถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีตายแล้วที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับฉันใด น้ำตาที่ไหลออกของเธอผู้ร้องไห้อยู่ในสงสารนี้ ในเวลาที่ปิยชนมีบุตรเป็นต้นตาย ยังมากกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
“น้ำในสมุทรทั้ง ๔ มีประมาณน้อย น้ำตาของ
คนผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก ไม่ใช่น้อย มาก
กว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น เหตุไร เธอจึงประมาทอยู่
เล่า? แม่น้อง.”
เมื่อพระศาสดาตรัสอนมตัคคปริยายสูตรอยู่อย่างนั้น ความโศกในสรีระของนาง ได้ถึงความเบาบางแล้ว.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบที่นางผู้มีความโศกเบาบางแล้ว ทรงเตือนอีก แล้วตรัสว่า
“ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าปิยชนมีบุตรเป็นต้น ไม่อาจเพื่อเป็นที่ต้านทาน เป็นที่พึ่ง หรือเป็นที่ป้องกันของผู้ไปสู่ปรโลกได้;เพราะฉะนั้น บุตรเป็นต้นเหล่านั้นถึงมีอยู่ ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีทีเดียว ส่วนบัณฑิตชำระศีลแล้ว ควรชำระทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพานของตนเท่านั้น”

เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
“บุตรทั้งหลาย ไม่มีเพื่อต้านทาน บิดาก็ไม่มี
ถึงพวกพ้องก็ไม่มี เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบงำ
แล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นั้นแล้ว สำรวมในศีล
พึงชำระทางไปนิพพานโดยเร็วทีเดียว.”

ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

นางปฏาจาราทูลขอบวช
ฝ่ายนางปฏาจารานั้นเป็นโสดาบันแล้ว ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. พระศาสดาทรงส่งนางไปยังสำนักของพวกภิกษุณีให้บรรพชาแล้ว. นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า “ปฏาจารา” เพราะนางกลับความประพฤติได้.
วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง.น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด.
ครั้งที่ ๒ น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลกว่านั้น.
ครั้งที่ ๓ น้ำที่เทลง ได้ไหลไปไกลกว่าแม้นั้น ด้วยประการฉะนี้. นางถือเอาน้ำนั้นนั่นแลเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง ๓ แล้ว คิดว่า
“สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งแรก
ตายเสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น
ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น.”

พระศาสดาประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป เป็นดังประทับยืนตรัสอยู่เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า
“ปฏาจารา ข้อนั้นอย่างนั้น ด้วยความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นความเกอดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
“ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น.”

นางครั้นบวชแล้ว ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต เรียนพุทธวจนะ. ท่านเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในวินัยปิฏก.
ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระปฏาจาราเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัย แล.

ผลงานของพระปฏาจาราเถรี
พระปฏาจาราเถรี ท่านมีเมตตาและได้อนุเคราะห์แก่สตรีหลายท่าน ภายหลังสตรีเหล่านั้น ได้มาบวชเป็นภิกษุณี และท่านได้สอนและเตือนสติแก่สตรี ด้วยท่านเป็นผู้ทรงพระวินัยและฉลาดในคาถาธรรม ทำให้สตรีหลายท่าน เช่น อุตตราเถรี จันทาเถรี ปัญจสตมัตตาเถรี เป็นต้น ฯลฯ ได้บรรลุพระอรหันต์และแนะนำสอนสตรี ๕๐๐ คน ให้เกิดความสังเวชใจจึงพากันบวชในสำนักของพระเถรี ครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่นานนักก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.

บุรพกรรมของท่านในอดีตชาติ
ดังได้สดับมา พระเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังพระธรรมเทศนา ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัย ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น.
 
ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์
 
ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็นพระธิดาพระองค์หนึ่งระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ คือ นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกขุนี(ภิกขุณี) นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา(ธรรมา) นางสุธัมมา(สุธรรมา) และนางสังฆทาสี ครบ ๗.  
พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาลชาติปัจจุบัน] คือพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และนางวิสาขา ครบ ๗. ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี สร้างบริเวณถวายภิกษุสงฆ์ บังเกิดในเทวโลกอีก เสวยสมบัติอยู่พุทธันดรหนึ่ง

ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในครอบครัวเศรษฐี กรุงสาวัตถี ดังกล่าวมาแล้ว
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #1621 เมื่อ: 12 มีนาคม 2554, 14:20:23 »

                        คณะกลับไปกินข้าวที่โรงแรม บ่ายสองออกจากโรงแรมไปสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาร ให้เหล่าเดรถีชม  คณะได้นั่งสวดมนต์ นั่งเจริญสติ วิปัสสนา  แล้วคณะเดินทางต่อไปยังเมืองพาราณาสี แม่น้ำคงคา





พระแท่นที่พระพุทะเจ้าทรงวางฝ่าพระบาท












"ยมกปาฏิหาริย์อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ"
         

          เมื่อครั้งที่พระปิณโฑละภารทวาชะทำปาฏิหาริย์สำแดงฤทธิ์ ให้เศรษฐีในพระนครราชคฤห์ผู้หนึ่งได้ประจักษ์ว่า มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว ครั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้ว พระบรมศาสดาทรงตำหนิและมีบัญญัติห้ามมิให้พระสาวกทำปาฏิหาริย์อีกต่อไป
          ครั้นพวกเดียรถีย์ได้ทราบข่าวพากันดีใจว่าเป็นโอกาสของเราแล้วจึงให้สาวกของตนออกประกาศว่า เราจะทำปาฏิหาริย์กะพระสมณโคดมเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว ร้อนพระทัยด้วยความเป็นห่วง รีบเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระวิหาร ทูลถามว่า
          "พระองค์ทรงบัญญัติ ห้ามพระสาวกทำปาฏิหาริย์เป็นความจริงหรือพระเจ้าค่ะ"
          "เป็นความจริง มหาบพิตร" พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง
          "ถ้าพวกเดียรถีย์จะทำปาฏหาริย์แล้วพระองค์จะทำอย่างไร"
          "ถ้าพวกเดียรถีย์ทำ ตถาคตก็จะทำด้วย"
          "ก็พระองค์ทรงบัญญัติห้ามแล้วมิใช่หรือ"
          "ถูกแล้ว มหาบพิตร ตถาคตห้ามพระสาวกต่างหาก หาได้ห้ามอาตมาไม่ เหมือนเจ้าของสวนผลไม้ห้ามเก็บผลไม้ ความจริงก็หาได้ห้ามเจ้าของสวนเก็บมิใช่หรือ มหาบพิตร"
          พระเจ้าพิมพิสารทูลถามต่อไปว่า "พระองค์จะทำที่ไหนและจะทำเมื่อใด"
          "ถวายพระพร อาตมาจะทำที่เมืองสาวัตถี ในวันเพ็ญเดือน ๘ นับแต่นี้ไปอีก ๔ เดือน"
          ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ที่พระนครราชคฤห์พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จดำเนินไปยังพระนครสาวัตถี พวกเดียรถีย์พากันกลั่นแกล้งโจษจันว่าพระสมณโคดมหนีไปแล้ว เราจะไม่ลดละจะติดตามไปทำปาฏิหาริย์ด้วย
          ครั้นย่างเข้าเดือน ๘ ใกล้เวลาทำปาฏิหาริย์ พวกเดียรถีย์ได้จัดสร้างมณฑปใหญ่ประดิษฐ์ด้วยไม้ตะเคียนงามวิจิตร ประกาศให้มหาชนทราบว่าตนจะทำปาฏิหาริย์ที่นี้
          ครั้นนั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา รับจะทำมณฑปถวายเพื่อทำปาฏิหาริย์ พระบรมศาสดาไม่ทรงรับ ตรัสว่า อาตมาจะไม่ใช้มณฑปทำปาฏิหาริย์ แต่จะอาศัยร่มไม้มะม่วงทำปาฏิหาริย์
          ครั้นพวกเดียรถีย์ทราบว่า พระบรมศาสดาจะทรงทำปาฏิหาริย์ที่ร่มไม้มะม่วง จึงจ่ายทรัพย์จ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงในที่สาธารณะทั้งในและนอกเมืองให้หมดเพื่อมิให้โอกาสแก่พระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหาริย์
          ครั้นถึงวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส คือเช้าแห่งวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จเข้าไปภายในพระนคร สาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ประจวบกับราชบุรุษผู้รักษาสวนหลวงคนหนึ่งเชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงทะวายมีมดแดงทำรังหุ้มอยู่กำลังสุก จึ้งได้สอยมะม่วงผลนั้นลงมา เมื่อทำความสะอาดดีแล้วก็จัดใส่ภาชนะนำไปจากสวนเพื่อถวายพระราชา พอดีเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกลก็มีความเลื่อมใส พลางดำริ มะม่วงผลนี้หากเราจะเอาไปถวายพระราชาก็คงจะได้รับพระราชทานรางวัลไม่เกิน ๑๕ กหาปนะ แต่ถ้าเราจะน้อมถวายพระพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นมหากุศลอำนวยอานิสงส์ผลให้ประโยชน์สุขแก่เราสิ้นกาลนาน เมื่อนายคัณฑะดำริเช่นนี้แล้ว ก็น้อมมะม่วงสุกผลนั้นเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า
          ครั้นพระบรมศาสดาทรงรับผลมะม่วงของนายคัณฑะแล้วประสงค์จะประทับนั่ง ณ ที่ตรงนั้น พระอานนท์เถระจัดอาสนะถวายประทับตามพุทธประสงค์ ครั้นประทับนั่งแล้ว ทรงหยิบผลมะม่วงในบาตรส่งให้พระอานนท์ทำปานะ พระอานนท์ก็จัดทำปานะมะม่วง คือน้ำผลมะม่วงคั้นถวายตามพระประสงค์ ครั้นพระบรมศาสดาเสวยแล้วก็ทรงส่งเมล็ดมะม่วงให้นายคัณฑะว่า "คัณฑะ! เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นทำเป็นหลุม ปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นี้เถิด " นายคัณฑะก็จัดปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นั้น
          พระพุทธเจ้าทรงล้างพระหัตถ์เหนือพื้นดินบนเมล็ดมะม่วงนั้นในทันใดนั้นก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น เมล็ดมะม่วงนั้นเกิดงอกออกต้นขึ้นทันที และในช่วงขณะที่นายคัณฑะพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลายมองดูอยู่ด้วยความพิศวง ต้นมะม่วงต้นน้อย ๆ นั้นก็เติบโตใหญ่ขึ้น ๆ ออกกิ่งใหญ่ ๆ ถึง ๕ กิ่งยื่นยาวออกไปถึง ๕๐ ศอก ทั้งล้วนตกดอกออกผล มีทั้งผลดิบผลสุก แลอร่ามไปทั้งต้น ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นพสุธา
          นายทัณฑะมีปีติเลื่อมใส ได้ประสบอัศจรรย์เฉพาะหน้าก็เก็บผลมะม่วงสุกที่หล่นมาถวายพระสงฆ์ทั้งหลายที่ติดตามมาให้ฉันจนอิ่มหนำสำราญทั่วกัน
          เมื่อพระบรมศาสดาทรงได้ไม้คัณฑามพฤกษ์อันสมบูรณ์ด้วยกิ่งใบสูงใหญ่งามด้วยปริมณฑล สมดังพระประสงค์เช่นนั้น ก็ทรงตั้งพระทัยจะทรงทำปาฏิหาริย์สืบไป ครั้นเวลาบ่ายแห่งวันเพ็ญอาสาฬมาสพระบรมศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฏีประทับยืนอยู่ที่มุข ท่ามกลางพุทธบริษัทซึ่งมาสโมสรกันเนืองแน่น โดยใคร่จะชมปาฏิหาริย์ จึงทรงนิมิตจงกรมแก้วอันกว้างใหญ่เหนือยอดไม้คัณฑามพฤกษ์ไพศาล งามตระการวิจิต ควรแก่ความเป็นพุทธอาสน์ที่ประทับสำหรับแสดงปากิหาริย์ พระบรมศาสดาทรงเสด็จลีลาศขึ้นประทับนั้งยังจงกรมแก้วมโหฬารทรงกระทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิด
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตร (ตา) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระกรรณ (หู,ใบหู) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากกรรณข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิก (จมูก) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่อพระนาสิกข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสา (บ่า,ไหล่) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ (มือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้าวขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากประปรัศว์ (ข้าง,สีข้าง) เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้ายสายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาท (เท้า) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ (นิ้วมือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมา (ขน) เส้นหนึ่ง สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง เป็นคู่ ๆ สลับกันทั่วทั้งพระกาย เมื่อท่อไฟพุ่งออกมาแล้วก็สำแดงเป็นสีสันต่าง ๆสลับกันรวม ๖ สี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หงสบาท (สีแดงปนเหลือง,สีแดงเรื่อหรือสีแสด) และประภัสสร (สีเลื่อมพราย เหมือนแสงอาทิตย์แรกขึ้น)
          เมื่อสีออกจากแสงไฟซึ่งพุ่งออกมากระทบสายน้ำ ก็ทำสายน้ำให้มีสีต่าง ๆ ไปตามสีไฟ สลับกันไปมางานน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทั้งท่อไฟสายน้ำที่พุ่งออกก็พุ่งออกไปไกล ทำให้ท้องฟ้าอากาศสว่างไสวมหาชนทั้งหลายมองเห็นทั่วทุกทิศ เป็นที่จำเริญจิตแก่ผู้ได้เห็นทั่วโลกธาตุ ต่อจากนั้นพระบรมศาสดาก็ทรงนิรมิตพระพุทธเจ้าขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง มี พระรูปพระโฉม เช่นเดียวกันประองค์ทุกประการและโปรดให้พระพุทธนิรมิตพระองค์นั้นแสดงพระอาการสลับกันไปกับพระองค์โดยตลอด คือ
          เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนิรมิตก็เสด็จประทับยืน เมื่อพระพุทธนิรมิตเสด็จจงกรม พระบรมศาสดาก็ประทับยืนเป็นคู่ ๑
เมื่อพระบรมศาสดาประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตก็สำเร็จสีหไสยา (นอนตะแคงข้างขวา) เมื่อพระพุทธนิรมิตเสร็จประทับนั่งพระบรมศาสดาก็สำเร็จสีหไสยา เป็นคู่ ๑
          เมื่อพระบรมศาสดาทรงตั้งปัญหาถาม พระพุทธนิรมิตก็ตรัสแก้เมื่อพระพุทธนิรมิตตั้งปัญหาถาม พระบรมศาสดาก็ตรัสแก้ เป็นคู่ ๑
          รวมพระอาการที่ทรงแสดงก็ดี อาการที่ทรงถามและทรงและทรงแก้ก็ดีได้ปรากฏแก่มหาชนที่มาประชุมกันอยู่ได้เห็นและได้ยินกันทั่วถึง เป็นเจริญใจเจริญความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะเป็นยิ่งนัก
          ในที่สุดแห่งยมกปาติหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัท เพราะได้เห็นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #1622 เมื่อ: 13 มีนาคม 2554, 11:36:11 »

...เข้ามาชมรูปแล้วนะคะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1623 เมื่อ: 13 มีนาคม 2554, 16:09:04 »

อ้างถึง
ข้อความของ KUSON เมื่อ 11 มีนาคม 2554, 14:43:53
เรื่องที่ 8คุณยายมาลี(ต่อ)
มาอินเดียตลอดเกือบ10วัน
ผมแทบไม่เห็นอุบัติเหตุรถชนกันเลย
ทั้งๆที่ถนนมีแค่สองเลน จะเบลกแรงๆเฉพาะเวลามีฝูงวัวเท่านั้น
สำหรับการเดินทางแต่ละวัน
บางวันพวกเราต้องใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ไม่น้อยกว่า7ชั่วโมง
หลังสวดมนต์ทำวัตรเย็นบนรถ
พอตะวันเริ่มโพล้เพล้ ทุกคนเริ่มอ่อนเพรียจากการเดินทาง
หลวงพ่อพระครูปลัดก็บรรยายจนเสียงแหบแห้ง ท่านจึงหยุดพักผ่อน
ผมจึงขอร้องให้ป้ามาลีแนะนำวิธีปรุงอาหารตามที่แกถนัด
ซึ่งได้ผลทุคนต่างสนอกสนใจสอบถามป้ามาลีกันไม่หยุดหย่อน
และป้ามาลีก็เต็มใจเล่าด้วยความภาคถูมิใจจนมืดค่ำ
แค่นั้นยังไม่พอป้ามาลียังเอาอาหารที่ซื้อไว้ส่วนตัวมาแจกพวกเราด้วย
พวกที่ถือศิลแปดพอได้ยินป้ามาลีเล่าเรื่องวิธีปรุงอาหารก็กลืนน้ำลายกันเอื๊อกๆ
แถมกลิ่นถั่วอบ และขนมอื่นๆที่ป้าแกแจกทำให้ยั่วน้ำลายหนักเข้าไปอีก
ครั้นพอรถจอดให้ทุกคนลงไปทำธุระส่วนตัว ป้ามาลีขยับตัวเดินนำเป็นคนแรก
พอเดินกลับมาขึ้นรถครบทุกคนเสียงไก๊ด์ชายหนุ่มอายุประมาณ30 โวยวาย
ผมอุตส่าห์ยืนบังหันหลังให้คุณยายทำธุระ.....ไกด์ทำท่ากระซิบ
แต่คุณยายฝากของที่ระลึกเปียกๆให้ผมมาเต็มรองเท้าเลยครับ....ไกด์หนุ่มหัวเราะชอบใจ
มันยืนไม่ระวังเอง แล้วมาโทษยายช่วยไม่ได้.....คุณยายกระซิบบอกพวกเราเช่นกัน

น่าสงสารจัง
ช่วยคนอื่นจนตัวเองลำบากอีก
ไม่มีรองเท้าก็แย่เลย
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1624 เมื่อ: 13 มีนาคม 2554, 16:13:52 »

สวัสดี ค่ะ พี่สิงห์  กุศล
  ตามเข้ามาอ่านค่ะ
รูปชัดเจนมากค่ะ
เนื้อเรื่องก็น่าสนใจ ทุกเรื่องค่ะ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 63 64 [65] 66 67 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><