01 พฤศจิกายน 2567, 06:49:01
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ♥♥♥░สื░บ░ส░า░น░ตำ░น░ว░น░"กุ░ห░ล░า░บ░จุ░ฬ░า░ล░ง░ก░ร░ณ์"░"R░o░i░D░e░S░i░a░m"░♥♥♥©  (อ่าน 67741 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« เมื่อ: 04 มีนาคม 2555, 01:52:16 »

♥░♥░♥░สื░บ░ส░า░น░ตำ░น░ว░น░"กุ░ห░ล░า░บ░จุ░ฬ░า░ล░ง░ก░ร░ณ์"
░"R░o░i░D░e░S░i░a░m"░"K░i░n░g░O░f░S░i░a░m"░♥░♥░♥©







ขอขอบคุณพี่ตะวัน 15 ที่ได้นำข้อความจากอีเมล์ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" มาโพสท์ลงที่กะทู้ "เปลือยสิงคโปร์ Unseen Singapore" ของน้องแหลม ไว้บ้างแล้ว http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3069.25.html

กะทู้นี้ จะขอรวบรวมข้อมูลและภาพ  "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" "Roi De Siam" "King of Siam" "Chulalongkorn's Rose" เพื่อให้มีความสมบูรณ์ที่สุด เพื่อที่จะกระตุ้นให้หน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวข้อง ได้นำกุหลาบประวัติศาตร์ มาปลูกในสถานที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย




      บันทึกการเข้า

Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #1 เมื่อ: 04 มีนาคม 2555, 02:31:13 »

♥░♥░♥░สื░บ░ส░า░น░ตำ░น░ว░น░"กุ░ห░ล░า░บ░จุ░ฬ░า░ล░ง░ก░ร░ณ์"
░"R░o░i░D░e░S░i░a░m"░"K░i░n░g░O░f░S░i░a░m"░♥░♥░♥©




กุหลาบจุฬาลงกรณ์ คือ ดอกกุหลาบพันธุ์หนึ่ง ไม่มีหนามที่ลำต้น มีขนาดดอกที่ใหญ่มาก สีชมพู และมีกลิ่นหอมจัด เกิดการการเพาะพันธุ์ของชาวยุโรปผู้หนึ่ง และชาวยุโรปผู้นั้นได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อกุหลาบงามพันธุ์ที่เขาผสมขึ้นใหม่ว่า “King of Siam” ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่ทรงโปรดของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และทรงถวายนามกุหลาบนั้นว่า "กุหลาบจุฬาลงกรณ์"



ขนาดของกุหลาบ เมื่อเทียบกับพระพักตร์ "หม่อมเจ้าหญิง พูนพิศมัย ดิศกุล" จะเห็นว่ามีขนาดใหญ่มาก

"พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา" เสด็จเยี่ยมชม กุหลาบ "จุฬาลงกรณ์" ของพระราชชายาฯ


"พระราชชายา เจ้าดารารัศมี" กับ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์"

หลังจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้เสด็จนิวัติกลับมาประทับอยู่ ณ นครเชียงใหม่ เป็นการถาวร ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗
 
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงโปรดกุหลาบมาก ทรงเป็น สมาชิกกิตติมศักดิ์ ของ ราชสมาคมกุหลาบแห่งประเทศอังกฤษ หรือ The Royal National Rose Society (RNSS) และทรงได้รับการถวายพันธุ์กุหลาบต่างๆ ทุกปี ซึ่งทรงโปรดฯ ให้ปลูก ณ พระตำหนักม่อนจ๊อกป๊อก ดอยสุเทพ และ คุ้มเจดีย์กิ่ว ริมแม่น้ำปิง
 
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงพบกุหลาบขนาดใหญ่พันธุ์หนึ่งจากกุหลาบที่ทรงได้รับการถวายมา เป็นกุหลาบซึ่งมีสีชมพูระเรื่อ ไม่มีหนาม ส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา จึงได้พระราชทานนามกุหลาบพันธ์นั้นว่า "จุฬาลงกรณ์" เพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสวามีในพระองค์
 
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงโปรดให้สร้างแปลงเพาะพันธุ์กุหลาบ "จุฬาลงกรณ์" ณ พระตำหนักม่อนจ๊อกป๊อก ดอยสุเทพ ซึ่งมีอากาศเย็นทั้งปี และทรงนำมาปลูก ณ คุ้มเจดีย์กิ่ว ริมแม่น้ำปิง ด้วย เมื่อ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักดาราภิรมย์ ในช่วงปลายพระชนม์ชีพ ก็ทรงโปรดให้ปลูกกุหลาบ "จุฬาลงกรณ์" โดยรอบพระตำหนักและทรงตัดดอกถวายสักการะ พระราชสวามี เป็นประจำ
 
ต่อมาภายหลัง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำกุหลาบ "จุฬาลงกรณ์" มาเพาะพันธุ์และทรงโปรดให้ปลูกประดับโดยรอบ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

ข้อมูลทางวิชาการ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย)
กุหลาบสมัยเก่า (Old Garden Roses)
 ชนิด - ไฮบริดเพอร์เพทชวล (Hybrid Perpetual)
 จำนวนกลีบ - ประมาณ ๔๕ กลีบ
 ขนาดดอก - ๑๒-๑๕ ซม.
 ลักษณะพิเศษ - หอมจัด ไม่มีหนาม ดอกใหญ่มาก เจริญเติบโตเร็ว
 ลักษณะด้อย - อ่อนแอต่อโรคใบจุดสีดำ โรคราสีเทาที่ดอก และแคงเกอร์ที่กิ่ง
 ประวัติความเป็นมา
 
กุหลาบที่ปลูกเลี้ยงกันแพร่หลายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะในประเทศเราหรือในต่างประเทศ จะเป็นกุหลาบที่จัดอยู่ในกลุ่ม " กุหลาบสมัยใหม่ " (Modern Roses) ซึ่งหมายถึง กุหลาบที่ผสมพันธุ์ออกสู่ตลาดตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๖๗ (พ.ศ. ๒๔๑๐) และหลังจากนั้นมาจนถึงปัจจุบัน กุหลาบที่มีอยู่ก่อนปี ค.ศ.๑๘๖๗ จัดเข้าเป็น "กุหลาบสมัยเก่า" (Old Garden Roses) กุหลาบสมัยเก่าที่เคยปลูกกันในเมืองไทยและยังหลงเหลือมาจนถึงทุกวันนี้มีอยู่เพียงสองสามพันธุ์คือ กุหลาบมอญสีชมพูและสีแดง (กุหลาบดามัสก์ - Damask)และอีกพันธุ์หนึ่งคือ กุหลาบไฮบริด เพอร์เพทชวล (Hybrid Perpetual) ที่ไม่รู้ชื่อดั้งเดิม นอกจากชื่อที่รู้จักกันในบ้านเราคือ กุหลาบ "จุฬาลงกรณ์"
 
ที่มาของชื่อกุหลาบต้นนี้มีกล่าวไว้ในหนังสือ พระประวัติพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ทำบุญ ๑๐๐ วัน "เจ้าแสงดาว ณ เชียงใหม่" เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ว่า "ทางด้านไม้ดอกนั้น ได้ทรงปลูกไม้ดอกไม้ใบทุกชนิด โดยเฉพาะในเรื่องของกุหลาบแล้ว พระองค์ทรงเป็น สมาชิกสมาคมกุหลาบแห่งประเทศอังกฤษ ทางสมาคมได้ส่งกุหลาบพันธุ์ใหม่ๆ มาถวายเป็นประจำทุกปี พระองค์ทรงนำเอากุหลาบพันธุ์ต่างประเทศไปปลูกไว้ที่ตำหนักบนดอยสุเทพ (พระราชชายา ฯได้ถวายเป็นสมบัติของพระธาตุดอยสุเทพแล้ว) มากมายหลายพันธุ์ด้วยกัน กุหลาบพันธุ์ที่พระองค์โปรดที่สุดนั้น ได้ทรงตั้งชื่อเพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "จุฬาลงกรณ์"


กุหลาบ “King of Siam” และ กุหลาบ “จุฬาลงกรณ์” จะเป็นกุหลาบพันธุ์เดียวกันหรือไม่ น.อ.คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ ได้ให้ความเห็นไว้ดังนี้
 
ประเด็นที่ว่า ชาวต่างประเทศได้ถวายพระนามว่า "King of Siam" นั้น ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันว่า คือพันธุ์เดียวกันกับ ที่ "พระราชชายาฯ" ทรงปลูกและถวายพระนามว่า "จุฬาลงกรณ์" อย่าลืมว่า กุหลาบสายพันธุ์นี้ ต้องปลูกในสภาพอากาศค่อนข้างเย็น จึงเป็นสาเหตุให้ พระราชชายาฯ ทรงสร้างแปลงเพาะพันธุ์ บนพระตำหนักบนดอยสุเทพ
 
หากพิจารณาว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่ "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง" ทรงนำพันธุ์กลับมาจากการเสด็จประพาสยุโรปและทรงพระราชทาน "พระราชชายาฯ" ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะในห้วงดังกล่าว พระราชชายาฯ มิได้เสด็จนิวัตินครเชียงใหม่ ซึ่งถ้าเช่นนั้น ก็ต้องปรากฏหลักฐานการปลูกกุหลาบ "จุฬาลงกรณ์" ใน "พระราชวังสวนดุสิต" หรือ "พระบรมมหาราชวัง" หรือสถานที่ใดในพระนครกรุงเทพฯ ซึ่งไม่มี แต่ปรากฏหลักฐานยืนยันว่า มีการปลูกกุหลาบ สายพันธุ์ "Hybrid Perpetual" ที่พระตำหนักของ "พระราชชายาฯ" ที่นครเชียงใหม่ ๒ พระตำหนัก โดยเฉพาะ ณ พระตำหนักบนดอยสุเทพ ที่ทรงโปรดให้สร้างแปลงเพาะพันธุ์ ซึ่งสภาพอากาศเหมาะสมต่อสายพันธุ์ดังกล่าว
 
อย่าลืมว่า "พระราชชายาฯ" ได้เสด็จประทับเป็นการถาวร ณ นครเชียงใหม่ ภายหลัง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง" ได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว (พ.ศ. ๒๔๕๗) และขณะที่ประทับนครเชียงใหม่นี้เอง ที่ได้ทรงเริ่มสนพระทัยด้านการเกษตรอย่างจริงจัง ดังนั้น กุหลาบ "King of Siam" จึงไม่น่าใช่พันธุ์เดียวกับ กุหลาบ "จุฬาลงกรณ์" และที่สำคัญไม่มีใครเคยเห็น กุหลาบ "King of Siam" (แบบรูปธรรม) ในเมืองไทยเลย นอกจากได้ยินชื่อดังกล่าว (แบบนามธรรม) ในพระราชนิพนธ์เรื่อง "ไกลบ้าน" เท่านั้น แต่ ในวงการผู้รักกุหลาบต่างรู้จักกุหลาบสายพันธุ์ "Hybrid Perpetual" ในเมืองไทยดีว่า คือ กุหลาบที่ "พระราชชายาฯ" ทรงถวายพระนามว่า "จุฬาลงกรณ์" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาจเป็นไปได้ว่า เนื่องจากบางท่านอาจเห็นว่าเป็นพระนามของ "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง" จึงอาจเป็นกุหลาบสายพันธุ์เดียวกับกุหลาบ "King of Siam" ก็เป็นได้ แต่ในกรณีนี้ ภาษาอังกฤษของกุหลาบ "จุฬาลงกรณ์" ควรใช้ "King Chulalongkorn" ในลักษณะเดียวกับ กุหลาบ "ควีนสิริกิติ์" ที่ใช้ว่า "Queen Sirikit" มากกว่า

แหล่งข้อมูล: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C

      บันทึกการเข้า

Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #2 เมื่อ: 04 มีนาคม 2555, 02:55:24 »

♥░♥░♥░สื░บ░ส░า░น░ตำ░น░ว░น░"กุ░ห░ล░า░บ░จุ░ฬ░า░ล░ง░ก░ร░ณ์"
░"R░o░i░D░e░S░i░a░m"░"K░i░n░g░O░f░S░i░a░m"░♥░♥░♥©











 พระตำหนักดาราภิรมย์ สร้างขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงย้ายกลับมาประทับที่เชียงใหม่หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าดารารัศมีทรงใช้พระตำหนักหลังนี้ปฏิบัติพระกรณียกิจอันเป็นคุณูปการทั้งทางด้านเกษตร และศิลปะวัฒนธรรม อาทิ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมล้านนาให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวเหนือ

ทรงสร้างสวนทดลองการเกษตรชื่อ “สวนเจ้าสบาย” เนื่องจากทรงสนพระทัยในการเกษตรและทรงหวังที่จะช่วยการกสิกรรมของภาคเหนือ ทรงทดลองปลูกดอกกุหลาบพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทรงได้จากสมาคมกุหลาบแห่งอังกฤษที่ทรงเป็นสมาชิกและพันธุ์ที่โปรดที่สุดเป็นกุหลาบดอกใหญ่สีชมพู กลิ่นหอมเย็น จึงทรงตั้งชื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แต่พระบรมราชสวามีว่า “จุฬาลงกรณ์” และก่อนสินพระชนม์ เจ้าดารารัศมีได้ทรงทำพินัยกรรมประทานที่ดินนี้เป็นมรดกแก่ทายาท ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ซื้อที่ดินต่อจากทายาท โดยมีการมอบโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้องในเวลาต่อมา

เจ้าดารารัศมีเป็นเจ้าจอมที่เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมากองค์หนึ่ง เพราะนอกจากเจ้าดารารัศมีมีพระอัธยาศัยอันงดงามแล้ว ยังทรงเป็นผู้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าพระบรมราชวงศ์จักรีกับดินแดนล้านนา ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางการเมืองแปรเปลี่ยนไปในทางที่ดียังประโยชน์แก่อาณาจักรสยามเป็นอย่างยิ่ง

    พระตำหนักดาราภิรมย์ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดิน ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติเป็นผู้สืบทอดและพิทักษ์รักษา ด้วยตระหนักในภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้เอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเห็นสมควรที่จะต้องบูรณะพระตำหนักดาราภิรมย์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์งดงามใกล้เคียงกับสภาพเดิมเมื่อกาลก่อน เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆระหว่างบรรพชนในอดีต กับอนุชนรุ่นหลังเพื่อให้ได้ทราบถึงพระปรีชาสามารถ และพระกรุณาธิคุณของพระราชชาบาเจ้าดารารัศมี ขัตติยนาผู้ทรงอุทิศพระองค์ตลอดพระชนม์ชีพ เพื่อความวัฒนาสถาพรแห่งดินแดนล้านนา นอกจากนี้พระตำหนักดาราภิรมย์ยังเป็นพระตำหนักที่ประทับสุดท้ายที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงรักและผูกพันอย่างยิ่ง

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นว่า พระตำหนักดาราภิรมย์อยู่ในสภาพทรุดโทรม แต่สภาพอาคารยังมีความมั่นคงแข็งแรง มีรูปแบบอาคารที่ชัดเจน อาจใช้เป็นกรณีศึกษา อาคารที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกในประเทศไทย การบูรณะใช้แนวทางอนุรักษ์และเตรียมการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 ด้วยการรักษาส่วนประกอบของอาคารและรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาฯ เพื่อจัดตั้งแสดงและตกแต่งห้องต่างๆให้อยู่ในสภาพใกล้เคียงกับอดีตมากที่สุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกลุ่มเจ้านายฝ่ายเหนือ พ่อค้า และประชาชนชาวเชียงใหม่ ที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคและเสาหาสิ่งของเครื่องใช้เพื่อจัดตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์

    ห้องต่างๆ ในพระตำหนักดาราภิรมย์
    ชั้นบน
   1.โถงทางเดิน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระปฐมวงศ์ พระประวัติ พระตำหนักที่ประทับในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีพระตำหนักดาราภิรมย์
   2.ห้องรับแขก จัดแสดงของถวายอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเครื่องเรือนร่วมสมัย
   3.ห้องบรรทม จัดแสดงของถวายอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเครื่องเรือนร่วมสมัย
   4.ห้องพักผ่อนพระอิริยาบถ จัดแสดงจานชาม เครื่องเสวย ของใช้ส่วนพระองค์ และเครื่องดนตรี
   5.ห้องจัดแสดงพระกรณียกิจ ด้านการศาสนา ด้านการเกษตร และด้านศิลปะศาสตร์
   6.ห้องจัดแสดงชุดเครื่องทรง ผ้าทอที่พระราชชายาฯทรงออกแบบลวดลายและส่งเสริมการทอ ชุดการแสดงที่พระราชชายาฯได้ทรงฟื้นฟูและทรงดัดแปลงศิลปะภาคกลางให้เข้ากับศิลปะภาคเหนือ
   7.ห้องสรง
  ชั้นล่าง
   จัดแสดงเครื่องมือเกษตร ที่ทรงใช้ในการทดลองการเกษตรแผนใหม่ ในสวนเจ้าสบาย นอกจากนั้นยังมีเครื่องทอผ้า ซึ่งใช้ทอผ้าสำหรับพระราชชายาฯโดยเฉพาะ

พระประวัติพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
   เจ้าดารารัศมีประสูติ เมื่อวันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 ณ คุ้มหลวงกลางนครเชียงใหม่ เป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงได้รับการศึกษาจากพระชนก-ชนนี ในเรื่องอักษรไทยเหนือและใต้เช่นเดียวกับกุลบุตรกุลธิดาในสมัยนั้น เมื่อเจ้าดารารัศมีทรงเจริญพระชันษาได้ 13 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าอินทวิชยานนท์จัดพิธีโสกันต์พร้อมกับพระราชทานเครื่องโสกันต์ระดับเจ้าฟ้าให้เจ้าดารารัศมีทรงใช้ในพิธีอีกด้วย เมื่อเจ้าดารารัศมีได้ตามเสด็จพระบิดาซึ่งเสด็จมาร่วมงานพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระนามสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าดารารัศมีถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายในในฐานะเจ้าจอม เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 เจ้าดารารัศมีมีพระราชธิดาพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสีแต่ทรงเจริญพระชันษาเพียง 3 ปีเศษก็ประชวรสิ้นพระชนม์ เมื่อพระเจ้าอินทวิชยานนท์พระบิดาถึงแก่พิราลัย เจ้าดารารัศมีจึงทรงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จขึ้นไปเยี่ยมนครเชียงใหม่ เนื่องจากได้เสด็จมาประทับที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาถึง 22 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตอีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ จัดงานพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยยศเจ้าดารารัศมีจากเจ้าจอมมารดาขึ้นเป็นพระราชชายาเจ้าดารารัศมี แต่หลังจากที่พระราชชายาฯเสด็จกลับเชียงใหม่ได้เพียง 10 เดือนก็ต้องทรงประสบความเศร้าโศกอันยิ่งใหญ่ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเถลิงถวัลราชสมบัติสืบต่อมาพระราชชายาฯยังคงประทับ ณ พระตำหนักสวนฝรั่งกังไส พระราชวังดุสิต จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2457 จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จกลับนครเชียงใหม่ พระราชชายาฯทรงดำรงพระชนม์อย่างสงบสุข ณ พระตำหนักดาราภิรมย์อยู่หลายปีจนสิ้นพระชนม์ด้วยโรคปัปผาสะพิการ (โรคปอด) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ณ คุ้มรินแก้ว รวมสิริพระชันษาได้ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดงานพระศพเป็นงานพิธีหลวง พระอัฐิส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่พระกู่ วัดสวนดอกจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยพระองค์เอง อีกส่วนหนึ่งอัญเชิญไปบรรจุไว้ ณ สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

   วัน – เวลา เปิดพิพิธภัณฑ์
   วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 17.00 น. (วันจันทร์หยุดทำการ)
   อัตราเข้าชมพิพิธภัณฑ์
   ผู้ใหญ่ 20 บาท
   เด็ก 10 บาท
   พระสงฆ์/นักเรียนในเครื่องแบบฟรี
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (ในบริเวณค่ายดารารัศมี) โทร. 053 299 175
(คัดลอกจากเอกสารพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์)

อ้างอิงที่มา: http://www.oceansmile.com/N/Chianmai/Darapirom.htm

หมายเหตุ:  ชาวซีมะโด่ง ที่อยู่ทาง จ. เชียงใหม่ หรือทางเหนือ กรุณาเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์  และสำรวจดูว่า มีดอกกุหลาบจุฬาลงกรณ์ ปลูกอยู่ที่นั้นหรือไม่?

ส่วนที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ น่าที่จะมี "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" ปลูกไว้

วิธีสังเกตุ กุหลาบจุฬาลงกรณ์  ก็คือ จำนวนกลีบ - ประมาณ ๔๕ กลีบ ขนาดดอก - ๑๒-๑๕ ซม. ไม่มีหนามที่ลำต้น มีขนาดดอกที่ใหญ่มาก สีชมพู และมีกลิ่นหอมจัด

พวกเราจะทำเช่นใด ที่จะมีกุหลายสายพันธุ์นี้ มาปลูกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะรอบๆ อนุสาวรีย์ 2 รัชกาล หน้าบริเวณหอประชุมจุฬาฯ เข้าใจว่า มีเพียงดอกเฟื้องฟ้าสีชมพู ที่ปลูกรอบๆบริเวณนั้น

      บันทึกการเข้า

Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #3 เมื่อ: 04 มีนาคม 2555, 04:30:27 »

♥░♥░♥░สื░บ░ส░า░น░ตำ░น░ว░น░"กุ░ห░ล░า░บ░จุ░ฬ░า░ล░ง░ก░ร░ณ์"
░"R░o░i░D░e░S░i░a░m"░"K░i░n░g░O░f░S░i░a░m"░♥░♥░♥©


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=fAMkmSATy-Q" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=fAMkmSATy-Q</a>

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=12daBvKADMM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=12daBvKADMM</a>

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=__1tPeUMKko" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=__1tPeUMKko</a>
      บันทึกการเข้า

ทราย 16
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,838

« ตอบ #4 เมื่อ: 04 มีนาคม 2555, 07:28:43 »

เพื่อนวณิชย์
เรื่องราวกุหลาบจุฬาลงกรณ์เป็นเรื่องมงคล
แต่ template ที่แปดเปื้อนด้วย 'traitor to the motherland'
หาเป็นมงคลไม่ ...  
 เตือน เตือน
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #5 เมื่อ: 04 มีนาคม 2555, 15:11:34 »

ผลการประกวดภาพถ่าย "พระตำหนักดาราภิรมย์ สิริสมจุฬาฯสถาน"
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


















ที่มา:  http://jamjureeartgallery.blogspot.com/2011/11/blog-post.html
      บันทึกการเข้า

wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #6 เมื่อ: 04 มีนาคม 2555, 16:16:09 »

อ้างถึง
ข้อความของ ทราย 16 เมื่อ 04 มีนาคม 2555, 07:28:43
เพื่อนวณิชย์
เรื่องราวกุหลาบจุฬาลงกรณ์เป็นเรื่องมงคล
แต่ template ที่แปดเปื้อนด้วย 'traitor to the motherland'
หาเป็นมงคลไม่ ... 
 เตือน เตือน

ในเวบเสียดไม่กล้าคุยนา..เพื่อน..น่าาากัววววอ่ะะะะ.
      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #7 เมื่อ: 04 มีนาคม 2555, 16:19:18 »

♥░♥░♥░สื░บ░ส░า░น░ตำ░น░ว░น░"กุ░ห░ล░า░บ░จุ░ฬ░า░ล░ง░ก░ร░ณ์"
░"R░o░i░D░e░S░i░a░m"░"K░i░n░g░O░f░S░i░a░m"░♥░♥░♥©


ภาพ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" จากแหล่งที่มาต่างๆ

ที่มา: http://www.fotounited.net/cm/cm.html

ที่มา: http://www.nanagarden.com/กุหลาบจุฬาลงกรณ์-121074-4.html
ที่อยู่ร้าน/สวน: 43 ซอย 2 ถ.ท่านางลอย ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง
โทรศัพท์:087-7180427  มือถือ:087-7180427
ติดต่อที่:ปฏิพัทธ์ อุดมสมุทรหิรัญ


ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=juthadara&month=21-01-2011&group=13&gblog=6


ที่มา: http://www.qsbg.org/database/webnews/NewsDetail.asp?News_ID=777


ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=186991




ที่มา: http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=2935.0



ที่มา : http://www.suanboard.net/view.php?p=view&kid=29185&in=1


ที่มา: http://suanluangrama9.or.th/2011/07/%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%9a%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b8%ac%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c/

ที่มา: http://www.osk103.com/cgi-bin/contents/agora.cgi?cart_id=690126.3096*KF52_0&p_id=00151&xm=on&ppinc=search-details



ที่มา: http://www.dent.chula.ac.th/ForFon/DentCuOnline.html


ที่มา: http://www.hedlomnews.com/%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%8A%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%8C.html


ที่มา: http://maejj.blogspot.com/2007_02_01_archive.html



ที่มา: http://lengsh.multiply.com/photos/album/191/191?&album=191&view:replies=threaded#



ที่มา: http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maejonet&topic=21&page=32




ที่มา: http://th.netlog.com/songkranyamkaew/photo/photoid=701361&surr=0#photos



ที่มา:  http://www.siamadenium.com/Other%20Plants/Aromatic%20plants/


ที่มา: http://www.fwdder.com/topic/67360
      บันทึกการเข้า

Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #8 เมื่อ: 04 มีนาคม 2555, 21:43:49 »


สวัสดียามดึกครับ.... พี่วณิชย์..พี่เสียด..พี่ทราย และพี่น้องทุกท่าน

ได้ชมภาพ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" จุใจเลยครับ...

อยากไปชมต้นในภาพสุดท้ายด้วยตาจริงๆ.
      บันทึกการเข้า
wannee
Global Moderator
Cmadong พันธุ์แท้
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: จุฬาฯรุ่นประวัติศาสตร์ 2516
คณะ: ทันตแพทยศาสตร์
กระทู้: 4,806

« ตอบ #9 เมื่อ: 05 มีนาคม 2555, 19:30:22 »


สะ สะ หวัด หวัด ดี ดีค่ะ แหลม
ดอก ดอกไม้ สวยยยย
      บันทึกการเข้า

"เสียด" ภาษาจีนฮากกา แปลว่า หิมะ
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #10 เมื่อ: 06 มีนาคม 2555, 00:12:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ wannee เมื่อ 05 มีนาคม 2555, 19:30:22

สะ สะ หวัด หวัด ดี ดีค่ะ แหลม
ดอก ดอกไม้ สวยยยย

ทำไมเสียงตะกุกตะกักอย่างนั้นละครับ.. พี่เสียด

ha... ha...
      บันทึกการเข้า
ทราย 16
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,838

« ตอบ #11 เมื่อ: 06 มีนาคม 2555, 11:12:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 04 มีนาคม 2555, 21:43:49
สวัสดียามดึกครับ.... พี่วณิชย์..พี่เสียด..พี่ทราย และพี่น้องทุกท่าน
ได้ชมภาพ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" จุใจเลยครับ...
อยากไปชมต้นในภาพสุดท้ายด้วยตาจริงๆ.
อยากมีสักต้นนึง ไว้ที่บ้านค่ะน้องแหลม
สวยจริงๆ ขอบคุณเพื่อนวณิชย์ที่นำมากระตุกต่อม!
      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #12 เมื่อ: 06 มีนาคม 2555, 11:26:08 »

อ้างถึง
ข้อความของ ทราย 16 เมื่อ 06 มีนาคม 2555, 11:12:28
อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 04 มีนาคม 2555, 21:43:49
สวัสดียามดึกครับ.... พี่วณิชย์..พี่เสียด..พี่ทราย และพี่น้องทุกท่าน
ได้ชมภาพ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" จุใจเลยครับ...
อยากไปชมต้นในภาพสุดท้ายด้วยตาจริงๆ.
อยากมีสักต้นนึง ไว้ที่บ้านค่ะน้องแหลม
สวยจริงๆ ขอบคุณเพื่อนวณิชย์ที่นำมากระตุกต่อม!
ก็คงจะต้องศึกษา สักนิด เมื่อ นำลงมาปลูกในที่ราบตํ่า อากาศร้อน ชื้น เกรงว่าจะให้ดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร และอาจกลายพันธุ์ได้ เพราะในอดีตที่ผ่านมาคงจะมี คนที่คิดเหมือนๆเรา บ้างแล้ว ในที่สุดไม่ Work เลยต้องกลับไม่ สู่แหล่งอากาศที่เขาชอบ
 ก็เป็นได้ ฝากผู้ที่อยู่ในวงการหรือผู้ที่สนใจเรื่องไม้ดอกจริงๆ ช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ด้วย ......ครับ.
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #13 เมื่อ: 06 มีนาคม 2555, 17:24:07 »

อ้างถึง
ข้อความของ Pete15 เมื่อ 06 มีนาคม 2555, 11:26:08
อ้างถึง
ข้อความของ ทราย 16 เมื่อ 06 มีนาคม 2555, 11:12:28
อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 04 มีนาคม 2555, 21:43:49
สวัสดียามดึกครับ.... พี่วณิชย์..พี่เสียด..พี่ทราย และพี่น้องทุกท่าน
ได้ชมภาพ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" จุใจเลยครับ...
อยากไปชมต้นในภาพสุดท้ายด้วยตาจริงๆ.
อยากมีสักต้นนึง ไว้ที่บ้านค่ะน้องแหลม
สวยจริงๆ ขอบคุณเพื่อนวณิชย์ที่นำมากระตุกต่อม!
ก็คงจะต้องศึกษา สักนิด เมื่อ นำลงมาปลูกในที่ราบตํ่า อากาศร้อน ชื้น เกรงว่าจะให้ดอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร และอาจกลายพันธุ์ได้ เพราะในอดีตที่ผ่านมาคงจะมี คนที่คิดเหมือนๆเรา บ้างแล้ว ในที่สุดไม่ Work เลยต้องกลับไม่ สู่แหล่งอากาศที่เขาชอบ
 ก็เป็นได้ ฝากผู้ที่อยู่ในวงการหรือผู้ที่สนใจเรื่องไม้ดอกจริงๆ ช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ด้วย ......ครับ.





สวัสดีครับ พี่ปื้ด เพื่อนทราย เพื่อนหิมะ และน้องแหลม

ขอบคุณสำหรับความเห็นต่างๆ สองสัปดาห์ก่อนที่ร้านโพล่าโพล่า ได้สนทนากับน้องหนุน 21 และน้องแหลม ว่า มีเพื่อนชื่อ เสี่ยตี๋ อยู่ที่ลำปาง  น่าที่จะให้เขาจัดซื้อแล้ว ส่งมาจากลำปางได้  ผู้จำหน่าย: ร้าน/สวน: 43 ซอย 2 ถ.ท่านางลอย ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปางลำปาง โทรศัพท์:087-7180427  มือถือ:087-7180427 ติดต่อที่:ปฏิพัทธ์ อุดมสมุทรหิรัญ

เอามาทดลองปลูกที่หอจุฬาฯ ก่อนอื่น  แล้วปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องกุหลาบ เชื่อว่า คงจะสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องอากาศร้อนในกรุงเทพมหานครได้  ด้วยการต่อตากับกุหลาบพื้นเมือง หรือกุหลาบที่ทนอากาศร้อนได้  หรือนำพันธุ์กุหลาบ มาดัดแปลงแบบ GMO (genetically modified organism) หรือ GEO (genetically engineered organism)

จุฬาฯของเรา ก็มี Ph.D. ก็เยอะ เพื่อนทรายของเรา ก็ใช่ ให้หยุดเรื่อง Edible insects project ไว้ก่อน หันมาทำ GMO หรือ GEO  กุหลาบประวัติศาสตร์ กันดีกว่า

อีกประการหนึ่ง ที่ตำหนักดาราภิรมย์ ไม่ทราบว่า มี "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" ปลูกไว้มากเท่าใด  ใครที่อยู่ทางเชียงใหม่ กรุณาแวะไปดูและถ่ายภาพมาด้วย ถ้าหาก มีจำนวนไม่าก น่าที่จะกระตุ้น ให้ทางจุฬาฯ ส่งเสริมการปลูกกุหลาบสายพันธุ์ประวัติศาสตร์ ให้คงอยู่ตลอดไป เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระราชชายา เจ้าดารารัสมี

อนึ่ง พื้นที่ทำสวนดอกไม้ของจุฬาฯ  จำนวนมาก ปลูกแต่ต้นพลับพลึงขาว Crinum Lily,Cape Lily  เป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลก็ง่าย ไม่ค่อยมีศัตรูพืชเท่าไร  มีคุณค่าทางแพทย์แผนไทย  แต่ไม่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลยแม้แต่น้อย








      บันทึกการเข้า

too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 06 มีนาคม 2555, 17:33:44 »


...สวัสดีค่ะ...น้องวณิชย์และสมาชิกค่ะ...

...พี่ตู่ได้รับพีเอ็มเรื่องกุหลาบแล้วค่ะ...ขอบคุณมาก...

...ทางชมรมซีมะโด่งเคยจัดทัวร์ไปเยือนตำหนักดาราภิรมย์มาครั้งหนึ่งแล้วค่ะ...

...เป็นครั้งเดียวกับที่ไปเที่ยวเมืองโบราณเวียงกุมกาม...

...เท่าที่พี่ตู่สังเกตุ...รู้สึกว่าจะมีกุหลาบจุฬาลงกรณ์ปลูกอยู่ไม่เยอะนะคะ...

...แต่จะมีกี่ต้น...พี่ตู่จำไม่ได้ค่ะ...และรู้สึกว่าจะไม่ค่อยมีดอกด้วย...

...เพราะพวกเราไม่ได้สนใจถ่ายรูปกันมาเลยค่ะ...

...แต่ปัจจุบันนี้ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรบ้างค่ะ...

...เพราะทัวร์ครั้งนั้นก็ประมาณ 5 ปีได้แล้วค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #15 เมื่อ: 07 มีนาคม 2555, 07:41:24 »

ขอบคุณครับ พี่ตู่ พี่ปื้ด

ที่เวปไซท์ที่นี้  http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=2935.0

นายก๋วยจั๊บ ผู้โพสท์บอกว่า "กุหลาบจุฬาลงกรณ์ ดอกหอมมากๆครับ ฝากคุณเก่งส่งมาจากเชียงใหม่ เอามาปลูกที่กรุงเทพ พอปรับตัวได้พักใหญ่ๆ ก็ออกดอกมาแล้วครับ
ปล. ถ่ายตอนมืดแล้วครับ แสงไม่มีแถมฝนเพิ่งตกไปอีก ว่าจะรอถ่ายพรุ่งนี้แต่ก็กลัวดอกเค้าจะโรยราไปก่อนครับ"






ผู้เชี่ยวชาญกุหลาบ ท่านหนึ่งที่เป็นสมาชิกสมาคมนิสิตเก่าที่แคลิฟอร์เนีย บอกว่า เท่าที่อ่านกะทู้นี้ดู อาจจะมีกุหลาบกว่า 2 สายพันธุ์ คือ "Roi De Siam" ของฝรั่งที่ทูลถวาย ร. 5  สายพันธุ์ และ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" ที่ พระราชชายา เจ้าดารารัสมี ได้มาจากประเทศอังกฤษ  และอาจจะเป็นสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีสีชมพู มีกลิ่นหอม ดอกใหญ่ มีจำนวนกลีบมาก ต่างจาก 2 สายพันธุ์แรก  น่าที่จะศึกษาเจาะลึกลงอีกครับ  

สมาคมนิสิตเก่าชาวหอฯ น่าที่จะสนับสนุนการทำวิจัย  "Roi De Siam" และหรือ  "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" เพื่อนำมาปลุกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่พระตำหนักดาราภิรมย์ สิริสมจุฬาฯสถาน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระราชชายา เจ้าดารารัสมี

กุหลาบ 2 สายพันธุ์นี้ ที่กำลังจะถูกลืมเลือน ก็จะกลับมา เป็นสัญญลักษณ์เพิ่มเติม ให้กับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เชื่อว่า นิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า คณาจารย์  ก็ใคร่อยากที่จะเห็นกุหลาบ 2 สายพันธุ์นี้ เบ่งบาน ส่งกลิ่นหอม มีชมพู (ที่หวานแหว๋ว) สดชื่นตระตาการ ไปทั่วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ที่พระตำหนักดาราภิรมย์ สิริสมจุฬาฯสถาน

จริงมั้ยฯ พี่ป๋อง เพื่อนราเมศร์ น้องปลาทู น้องแหลม น้องตี๋ น้องหนุน เพื่อนทราย เพื่อนหิมะ พี่ปื้ด พี่ตู่
      บันทึกการเข้า

ti2521
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,987

« ตอบ #16 เมื่อ: 07 มีนาคม 2555, 08:15:08 »

.....สวัสดีครับ พี่วณิชย์ ไปที่สวนมาล่ะครับ มีอยู่ ๗ ต้นครับ ต้องสั่งเอาครับ

     กุหลาบแต่ละต้นจะต่อตากับต้นกุหลาบป่าเพื่อความแข็งแรงครับ

     ดอกหอมลึกนิ่มชื่นใจ ขนาดดอกแล้วแต่ความสมบูรณ์ของต้นครับ.....



      บันทึกการเข้า

เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ
สำหรับผม
อย่างไรก็ได้
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #17 เมื่อ: 08 มีนาคม 2555, 03:42:36 »

สวัสดีครับ น้องตี๋ 21
น้องหนุน 21 ได้บอกว่า ได้โทรคุยกับน้องตี๋ เมื่อครั้งทานเลี้ยงกันที่ร้านโพล่าโพล่า เดือน กพ. ที่ผ่านมา
ขอบคุณครับ ที่กรุณาไปเช็คเรื่อง "กุหลาบจุฬาลงกรณ์"อย่างรวดเร็ว ถ้ามีโอกาส ลองคุยกับเจ้าของสวน ว่าประวัติความเป็นมาของกุหลาบพันธุ์นี้ เป็นมาอย่างไร  ได้มาจากที่ไหน?

เท่าที่ดูจากภาพ ดอกมีสีชมพู งดงามมากครับ ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า สายพันธุ์เป็นเช่นไร

เท่าที่อ่านดู  จากหลายๆเวปไซท์ เข้าใจว่า สายพันธุ์ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" มาจากประเทศอังกฤษ เพราะ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงโปรดกุหลาบมาก ทรงเป็น สมาชิกกิตติมศักดิ์ ของ ราชสมาคมกุหลาบแห่งประเทศอังกฤษ หรือ The Royal National Rose Society (RNSS) และทรงได้รับการถวายพันธุ์กุหลาบต่างๆ ทุกปี ซึ่งทรงโปรดฯ ให้ปลูก ณ พระตำหนักม่อนจ๊อกป๊อก ดอยสุเทพ และ คุ้มเจดีย์กิ่ว ริมแม่น้ำปิง

พระราชชายา ได้เสด็จกลับมาประทับที่เชียงใหม่ หลังจากที่พระราชสวามี พระบาทสมเด็จสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี 2457 กุหลาบที่พัฒนาใหม่ หลังปี 2410 (คศ. 1867)   จึงจัดเป็นกุหลาบสมัยใหม่ (Modern Roses)

ขอบคุณมากครับน้องตี่ อีกสักครั้ง สำหรับความรวดเร็ว ลองซื้อมา 3-4 ต้น ทดลองปลูกที่บ้านที่ลำปางดู (แล้วลองนับจำนวนกลีบดอก ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ) พวกเราชาวหอซีมะโด่ง มาช่วยกันสืบสาน ประวัติศาสตร์ ของ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" และ กุหลาบ "Roi De Siam" ลัวเดอสยาม  "King of Siam" ว่าจะเป็นเช่นไร


      บันทึกการเข้า

Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #18 เมื่อ: 08 มีนาคม 2555, 13:59:40 »

 สวยมาก ดอกใหญ่สะใจดี หอมนุ่ม ถ้ามีโอกาส ก็จะเล่น ด้วย ตอนพี่ปิ๊ดเล็กๆ ที่บ้านเคย ปลูก กุหลาย กับ มะลิ ไว้เก็บดอกขาย
  แต่ได้เลิกไปนานมากแล้ว.......คงไม่ยากที่จะหวนกลับไปอีก... พี่ปิ๊ดขอสนับสนุนเต็มที่ สำหรับสายพันธุ์   " King of Siam"   
  มันเป็นเหมือน หน้าที่ ที่จะต้องรักษา สายพันธุ์ ไว้ให้ยาวนานที่สุด สำหรับชาวจุฬาฯ                                                                                   
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #19 เมื่อ: 08 มีนาคม 2555, 14:26:04 »


สวัสดียามบ่ายครับ.... พี่วณิชย์..พี่ตู่..พี่ปี๊ด..พี่เสียด..พี่ทราย..พี่ตี๋ และพี่น้องทุกท่าน

ด้วยความอนุเคราะห์ของพี่ตี๋... ผมคงมีโอกาสอนุรักษ์ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" 1 ต้น

ขอบคุณครับ..
      บันทึกการเข้า
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #20 เมื่อ: 08 มีนาคม 2555, 16:28:44 »

สวัสดีครับ พี่ปื้ด พี่ตู่ เพื่อนทราย เพื่อนหิมะ น้องแหลม น้องตี่ และพี่น้องซีมะโด่ง

ไปค้นคว้าเรื่องกุหลาบ แต่เตลิดไปอ่านเรื่องเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ไปอ่านวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่ฝรั่งทำไว้ (เพียง 292 หน้า ก็ได้ Ph.D. แล้ว) เรื่อง พระราชชายา เจ้าดารารัสมี ไปไกลโน่นเลย พวกด๊อกคนไทย (หมายเหตุ ฝรั่งมักเรียกคนจบเอกสั้นๆ ว่า Doc) ที่เรียนจบประวัติศาสตร์พวกนี้ กับฝรั่งมา ได้ทุนจากมหาลัยฝรั่ง ความคิดก็เลยเตลิดเปิดเปิง คิดแบบฝรั่ง เลยคิดจะแก้ไข มาตรา ๑๑๒ กัน  แต่ไม่เคยหันไปมองดูความเลวร้ายของฝรั่งตาน้ำข้าว ที่พยายามยึดโลก ยึดทรัพยากรทั้งหลายไว้เป็นเจ้าของมาโดยตลอด แม้กระทั่งในปัจจุบัน

เพราะด๊อกพวกนี้ไม่เคยอ่านประวัติศาสตร์ คนสเปน-โปรตุเกส ที่ฆ่าคนพื้นเมือง ยึดทวีปอเมริกาเหนือ-กลาง ยันทวีปอเมริกาใต้ ไม่อ่านประวัติศาสตร์ ของคนขาว ที่ยึดครองและฆ่า ชาวอินเดียแดง ชาวเม็กซิโก ชาวอะบอริจินส์ ชาวเมารี ชาวผิวดำที่อัฟริกา ไปกี่ล้านล้านคน ยุคล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส ในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย สงครามฝิ่นในจีน การยึดครองอินเดียฯลฯ    

คนโหดร้ายของคนตาสีน้ำข้าว ถูกบังตา โดยด๊อกพวกนี้ได้รับทุนการศึกษาที่ส่งให้เรียนจน จบโทจบเอก ประวัติศาสตร์ของประเทศตนเอง ให้เกลียดประเทศตนเอง  แล้วได้งานสอนหนังสือในมหาลัยของฝรั่ง เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชียอาคเนย์ แล้วก็คิดว่า เท่ห์สุดๆ  ปล่อยให้พวกด๊อกโง่ๆพวกนี้ แห้งตายไปเอง

เป็นเพราะ พระปรีชาสามารถของพระปิยะมหาราช ประเทศไทยเรา จึงไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศนักล่าอาณานิคม เยี่ยง อังกฤษและฝรั่งเศส

กลับมาที่เรื่องสืบสานตำนานกุหลาบดีกว่า ครับ

เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2549 ไปรษณีย์ไทยมามาดเท่ เจาะใจคนรุ่นใหม่ด้วยชุดคอลเลคชั่นเก๋สุด ๆ แบบฉุดไม่อยู่ พร้อมแสตมป์ดอกกุหลาบ"จุฬาลงกรณ์” หวานแหวว  โปรดดูภาพที่แนบมา

      บันทึกการเข้า

ทราย 16
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,838

« ตอบ #21 เมื่อ: 08 มีนาคม 2555, 16:39:37 »

เพื่อนวณิชย์
ชื่นชมเพื่อนที่หาข้อมูลมาแบ่งปันกัน
ขอแบบนี้อย่างต่อเนื่องน่ะจ๊ะ
อย่าว่าแต่ด๊อกทางประวัติศาสตร์เลย
ด๊อกทางสาขาอาหารที่ไม่รักวัฒนธรรมอาหารไทย
ก้อ ... เหมียนนนนกันล่ะ
      บันทึกการเข้า
Leam
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 23,776

« ตอบ #22 เมื่อ: 08 มีนาคม 2555, 16:57:59 »


...5 ...5 ...5

คนความรู้น้อย ด้อยการศึกษา อย่างผม.... รอดตัว
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 08 มีนาคม 2555, 19:48:02 »

อ้างถึง
ข้อความของ Leam เมื่อ 08 มีนาคม 2555, 14:26:04

สวัสดียามบ่ายครับ.... พี่วณิชย์..พี่ตู่..พี่ปี๊ด..พี่เสียด..พี่ทราย..พี่ตี๋ และพี่น้องทุกท่าน

ด้วยความอนุเคราะห์ของพี่ตี๋... ผมคงมีโอกาสอนุรักษ์ "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" 1 ต้น

ขอบคุณครับ..


...สวัสดีค่ะ...น้องวณิชย์...น้องแหลม...และสมาชิกทุกท่าน...

...น้องแหลมโชคดีค่ะ...ได้มา 1 ต้น...

...อีกหน่อยตอนกิ่ง...อาจเพิ่มเป็นหลายต้นได้ค่ะ...

...ถ้าหากเจอพันธุ์แถวๆนี้...ก็จะซื้อมาปลูกบ้างค่ะ...

...ปกติพี่ตู่ก็ชอบปลูกกุหลาบ...แต่โดนเพลี้ยและหนอนกินจนตายทุกทีค่ะ...

...เลยเลี้ยงไม่เคยรอด...

...และแถวๆพัทยา...อากาศร้อนมากค่ะ...ไม่เคยเห็นใครเลี้ยงกุหลาบรอดเลย...

...แต่คนส่วนมากก็ชอบซื้อมาชื่นชมสัก 2 เดือนก็ถือว่าคุ้มแล้วค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Intania๑๖
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: ๒๕๑๖
คณะ: เวสสุกรรม
กระทู้: 1,071

« ตอบ #24 เมื่อ: 09 มีนาคม 2555, 16:55:43 »

สวัสดีครับ พี่ๆน้องๆ ชาวซีมะโด่ง

ก่อนที่จะไปไกลกว่านี้ เรามาทำความรู้จักกับกุหลาบซะก่อน มีน้องแหลม พี่ปื้ด พี่ตู่ ฯ ชักจะอยากจะปลูก "กุหลาบจุฬาลงกรณ์" และ  กุหลาบ "Roi De Siam" ขึ้นมาตะหงิดๆ   กุหลาบจะได้ไม่ตาย มีดอกผล ออกมาให้เชยชม มีกำลังใจจะขยายพันธุ์ต่อไป ยังไงๆ มีเหลือ ก็เอามาเผยแพร่พันธุ์ที่หอซีมะโด่ง เพื่อนำร่องไปก่อน


กุหลาบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa hybrids ชื่อสามัญคือ กุหลาบ หรือ rose อยู่ในวงศ์: Rosaceae มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นมีในยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ และตะวันตกของอัฟริกา

คำว่ากุหลาบนั้นเป็นคำศัพท์มาจากภาษาฮินดี (गुलाब อ่านว่า กุ-ลาพ หรือคนไทยเราเรียกว่า คุ-ลาพ แล้วตอนหลังก็เป็นกุหลาบ) ในภาษาเปอร์เซีย แปลว่าสีแดง


กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย (Aalsmeer) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น




ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ)




การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิง
ปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น
 
ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น

สภาพที่เหมาะสมในการปลูก



พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย pH ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว

การให้น้ำ และปุ๋ยกุหลาบ

การให้น้ำ
 
ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
 
การให้ปุ๋ยก่อนปลูก
 
ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
 1.ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
 2.ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้
 
ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
 
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
 
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร
 
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
 
การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร
 
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ
 1.ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1 : 0.58 : 0.83
 2.ระยะให้ดอก สัดส่วน 1 : 0.5 : 0.78
 3.ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1: 0.8 : 0.9
 
การตัดแต่งกิ่งกุหลาบ
 
การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูกเมื่อตากุหลาบเริ่มแตก ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย) ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี
 
การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำ
 
การตัดแต่งแบบ ตัดสูงและต่ำ (สูงและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี


โรคกุหลาบ
 
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา


 โรคราน้ำค้าง (Downey mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด


 โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa ลักษณะการทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน


 โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae) เป็นโรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง


 โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก


 โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์


 โรคกิ่งแห้งตาย (die back) เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง

แมลงและไร ศัตรูกุหลาบ



 1.ไรแดง (Spider mite)


 2.เพลี้ยไฟ (Thrips)



 3.หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)


 4.หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)


 5.ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)


 6.เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)


 7.เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A
      บันทึกการเข้า

  หน้า: [1] 2 3  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><