“อ. อารมณ์”
• ไม่เครียด ไม่ขุ่นมัว ในขณะทำงาน หรือทำกิจวัตรประจำวัน
• ทำจิตใจให้ผ่องใส่อยู่เสมอ โดยยึดหลัก “พุทธธรรม” เช่น ละนิวรณ์ ๕
• เลือก “พุทธธรรม” นำไปสู่ความสำเร็จในการกระทำ มาปฏิบัติ
• สวดมนต์และปฏิบัติสมาธิ ก่อนนอนทุกคืน
• แนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบเคลื่อนไหวของ “หลวงพ่อเทียน”
• ข้อควรระวัง ก่อนปฏิบัติสมาธิ - วิปัสสนากรรมฐาน ควรศึกษา
• ขันธ์ ๕, นิวรณ์ ๕, อายาตนะ ๖, โพชฌงค์ ๗, และอริยะสัจ ๔
• เพื่อป้องกันไม่ให้จิต คิดไปในทาง “อกุศลธรรม” หรือ “จิตวิปลาส”
“พุทธธรรม”
ที่ทำให้อารมณ์ดี แจ่มใส ไม่ขุ่นมัว
และ
ประสบความสำเร็จในการกระทำ
ภัทเทรัตตสูตร สูตรว่าด้วยราตรีเดียวที่ดี
• พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสแสดงอธิบาย “เกี่ยวกับบุคคลผู้มีราตรีเดียวอันดี” โดยใจความคือ ไม่ให้ติดตามเรื่องล่วงมาแล้ว ไม่ให้หวังเฉพาะเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ให้เห็นแจ้งปัจจุบัน ให้รีบเร่งทำความเพียรเสียในวันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่ง เพราะจะผัดเพี้ยนต่อมฤตยูผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่ได้ คนที่มีความเพียรอย่างนี้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน เรียกว่า มีราตรีเดียวอันดี(เจริญ)
• การไม่ติดตามอดีต การไม่หวังเฉพาะอนาคต ตรัสอธิบายว่า ไม่ให้มีความยินดี เพลิดเพลินในอดีตและอนาคต นั้น
อย่ายึดติดกับ “ อายตนะ ๖ ”
1. รูป
2. เสียง
3. กลิ่น
4. รส
5. โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกายทั้งหลาย)
6. ธรรมารมณ์ (สิ่งทั้งหลายที่ใจรู้ ใจคิด)
ละนิวรณ์ ๕ ด้วย โพชฌงค์ ๗
เพื่อ
อารมณ์ดี ไม่ขุ่นมัว ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วิตกกังวล
นิวรณ์ ๕
นิวรณ์ อธิบายเป็นพุทธพจน์ มีความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลกรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตใจไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง”
“เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง”
“ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน”
นิวรณ์ ๕ ประกอบด้วย
1. กามฉันท์ ความอยากได้อยากเอา
2. พยาบาท ความขัดเคืองแค้นใจ
3. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม
4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ
5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
“ โพชฌงค์ ๗ ”
• มีพุทธพจน์จำกัดความหมายของโพชฌงค์ไว้สั้น ๆ ว่า “เพราะเป็นไปเพื่อโพธะ (ความตรัสรู้) ฉะนั้นจึงเรียกว่า โพชฌงค์”
• “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องปิดกั้น ไม่เป็นนิวรณ์ ไม่เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชา และวิมุตติ”
• “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ ส่งเสริมความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นข้างความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน”
“ โพชฌงค์ ๗ ” มีความหมายรายข้อ ดังนี้
• สติ ความระลึกได้ หมายถึง ความสามารถทวนระลึกนึกถึง หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้อง หรือต้องใช้ ต้องทำในเวลานั้น ในโพชฌงค์นี้ สติมีความหมายคลุมตั้งแต่การมีสติกำกับตัว ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังกำหนดพิจารณาเฉพาะหน้า จนถึงการหวนระลึกรวบรวมเอาธรรมที่ได้สดับเล่าเรียนแล้ว หรือสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องต้องใช้ต้องทำ มานำเสนอต่อปัญญาที่ตรวจตรองพิจารณา
• ธัมมวิจยะ หรือธรรมวิจัย ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาสอบสวนพิจารณาสิ่งที่สติกำหนดไว้ หรือธรรมที่สติระลึกรวมมานำเสนอนั้น ตามสภาวะ เช่น ไตร่ตรองให้เข้าใจความหมาย จับสาระของสิ่งที่พิจารณานั้นได้ ตรวจตราเลือกเฟ้นเอาธรรม หรือสิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ หรือสิ่งที่ใช้ได้เหมาะดีที่สุด ในกรณีนั้น ๆ หรือมองเห็นอาการที่สิ่งที่พิจารณานั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจตามสภาวะที่เป็นไตรลักษณ์ ตลอดจนปัญญาที่มองเห็นอริยสัจ
• วิริยะ ความเพียร หมายถึงความแกล้วกล้า เข้มแข็ง กระตือรือร้นในธรรมหรือสิ่งที่ปัญญาเฟ้นได้ อาจหาญในความดี มีกำลังใจ สู้กิจ บากบั่น รุดไปข้างหน้า ยกจิตไว้ได้ ไม่หดหู่ ถดถอย หรือท้อแท้
• ปิติ ความอิ่มใจ หมายถึงความเอิบอิ่ม ปลาบปลื้ม ปรีย์เปรม ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง แช่มชื่น ซาบซ่าน ฟูใจ
• ปัสสัทธิ ความสงบกายใจ หมายถึงความผ่อนคลายใจ สงบระงับ เรียบเย็น ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบาย
• สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น หมายถึงความมีอารมณ์หนึ่งเดียว จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด ทรงตัวสม่ำเสมอ เดินเรียบ อยู่กับกิจ ไม่วอกแวก ไม่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน
• อุเบกขา ความวางทีเฉยดู หมายถึงความมีใจเป็นกลาง สามารถวางทีเฉย นิ่งดูไป ในเมื่อจิตแน่วแน่อยู่กับงานแล้ว และสิ่งต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดีตามแนวทางที่จัดวางไว้ หรือที่มันควรจะเป็น ไม่สอดแส่ ไม่แทรกแซง
“ อิทธิบาท ๔ ”
ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ มี ๔ อย่างคือ
• ฉันทะ ความพอใจ ได้แก่ ความมีใจรักในสิ่งที่กระทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้น
• วิริยะ ความเพียร ได้แก่ ความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ก้าวไป ใจสู้ ไม่ย่อท้อ ไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคและความยากลำบาก
• จิตตะ ความคิดจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ ได้แก่ ความมีจิตผูกพัน จดจ่อ เฝ้าคิดเรื่องนั้น ใจอยู่กับงานนั้น ไม่ปล่อย ไม่ห่างไปไหน
• วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง ได้แก่ การใช้ปัญญาพิจารณา หมั่นใคร่ครวญตรวจตรา หาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อน เกินเลยบกพร่องหรือขัดข้องเป็นต้นในกิจที่ทำ รู้จักทดลองและคิดค้นหาทางแก้ไขปรับปรุง
“ พรหมวิหาร ๔ ”
ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำตัวของท่านผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ หรือ ผู้นำ
• เมตตา ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไมตรี อยากให้มนุษย์ สัตว์มีสุขทั่วหน้า
• กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
• มุทิตา ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุขและเจริญงอกงาม ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป
• อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตราชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้าย ตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบ หรือชัง
ข้อแนะนำ
ขณะทำงาน หรือทำกิจวัตรประจำวัน
ต้องมี
สติ และ เกิดความผ่อนคลาย