01 พฤศจิกายน 2567, 06:13:36
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านเข้าถึงง่ายเป็นตัวชี้วัดสุขภาพดีถ้วนหน้า ตัวที่ 3  (อ่าน 32445 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2552, 11:25:39 »




"ยกบริการปฐมภูมิออกนอกโรงพยาบาล จุดคานงัด

การพัฒนาบริการปฐมภูมิในประเทศไทย"
ผู้เขียน คือ

นายแพทย์ยงยุทธ พงษ์สุภาพ

สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ

บริการปฐมภูมิใน ร.พ.คือ บริการอะไร คือ บริการ

1.ตรวจคนไข้นอก (OPD)

2.งานส่งเสริมสุขภาพ

3.งานสุขาภิบาล และ ป้องกันโรค

4.งานฟื้นฟูสุขภาพ

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

งานแต่ละงาน เป็นดังนี้

1.ตรวจคนไข้นอก (OPD) ได้แก่ คนไข้ป่วยที่เดินเข้ามา

พบแพทย์ ที่ ร.พ.

พบว่า 90% ของคนป่วย หรือ ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องมา รักษา ที่ ร.พ.เพียงแต่จัดให้มี

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ไปออกตรวจ

ใกล้บ้านที่ สถานีอนามัย หรือ ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล รพสต.

ก็ให้การวินิจฉัย และ ให้การรักษาได้ แพทย์ไปเอง หรือ ไปทางเครือข่ายสาธารณสุข

Virtual Private Network : VPN http://www.vcharkarn.com/varticle/17748

มีส่วนน้อย น้อยกว่า10%ที่ต้องมาตรวจ กับ แพทย์เฉพาะทาง

อ้างอิงมาจาก สถิติการวินิจฉัยโรค พบว่า

เพียงซักประวัติการเจ็บป่วย ที่ถูกวิธี อย่างเดียวเท่านั้น

จะรู้ได้ว่าคนไข้ป่วยเป็นอะไรได้ ถึง 80% และ

เมื่อตรวจร่างกายค้นหาสิ่งที่จะตรวจพบในโรคที่นึกถึง

จากการซักประวัติ จะรู้ว่าเป็นอะไร อีก 10 %

นั่นคือ เพียงซักประวัติ ร่วมกับ ตรวจร่างกาย หรือ

เรียกว่า การวินิจฉัยข้างเตียง (Bedside Diagnosis)

สามารถรู้ว่า คนไข้ป่วยเป็นอะไรถึง 90%

ซึ่งจะรักษาได้   มีส่วนน้อยเท่านั้น ที่ต้องนำสิ่งส่ง

ตรวจมาทำแล็ป ที่ ร.พ.หรือ ให้มานอน ร.พ.อำเภอนั้น

เพื่อดูแลต่อเนื่อง หรือ ส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทางที่

ร.พ.ระดับ 2 หรือ 3 ที่ เหมาะสมต่อไป
 

ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ผมเสนอวิธีการวินิจฉัย และ ให้การรักษาพยาบาล เพื่อ

ไว้สอนนักเรียนพยาบาลที่มาฝึกพยาบาลเวชปฏิบัติ ที่

ร.พ.อำเภอ ที่ผมทำงานอยู่ เพื่อไม่ต้องแจกเอกสาร ที่ กระทู้ข้างล่าง

ตอบกระทู้ที่ 6 เรืือง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เหมาะสมเป็นแพทย์ด่่านแรก

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html

ปัจจุบัน ระบบสาธารณสุขของประเทศ จัดให้ ร.พ.อำเภอ

มีแพทย์เฉพาะทาง 4 แผนก คือ สูติ ศัลย์ อายุรกรรม และ

กุมารเวชกรรม สาขาละ 1 คน เพื่อให้มีแพทย์เฉพาะทาง

ผลเสียที่เกิดขึ้น คือ ทำให้ ร.พ.อำเภอ มีแพทย์ที่มีความสามารถไม่เท่ากัน มาอยู่รวมกัน

ทำให้แพทย์แต่ละคนรักษาคนไข้ได้ไม่เท่ากัน จะชำนาญเฉพาะสาขาที่เรียนมา

แพทย์จึง เครียด ลาออกปีละ 800-1,000คน  

ในเวบบ์

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=12-2006&date=15&group=9&gblog=1

ดังนั้นขอเสนอ ให้ ร.พ.อำเภอ(ร.พ.ด่านแรก)มีเฉพาะ

แพทย์ทั่วไปเป็นแพทย์ประจำครอบครัวมีความสามารถเท่ากัน

คนไข้ถ้าเกินความสามารถจะได้รับการส่งต่อ ร.พ.ที่เหมาะสม

ทันที ไม่ต้องเสียเวลามานอนที่มีแพทย์รักษาได้คนเดียว

เป็นการวางคนให้ตรงกับงาน

Put Right Man To The Right Job

แพทย์จบใหม่เรียนผ่านมาทุกแผนก ผ่านการสอบ

รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม จาก แพทยสภา แล้ว

เป็นแพทย์ทั่วไป สามารถดูแลคนไข้ได้เกือบทั้งหมดได้

ถ้าปรับปรุงระบบสาธารณสุขใหม่ ให้เป็นรูปที่ถูกต้อง

ให้ ร.พ.อำเภอ มีเฉพาะแพทย์ทั่วไป แล้วให้แพทย์

เฉพาะทางที่อยู่ ร.พ.อำเภอ ๆ ละ 1 คนกลับไปอยู่ใน

แผนกที่เรียนมาที่ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์

ทำให้ได้แพทย์เฉพาะทาง เพิ่มขึ้นทันที

2.งานส่งเสริมสุขภาพ เช่น ตรวจครรภ์ ตรวจเด็กดี ให้

ความรู้ เรื่องสุขภาพ

3.งานสุขาภิบาล และ ป้องกันโรค เช่น

ทำวัคซีน ให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาล และ ป้องกันโรค

4.งานฟื้นฟูสุขภาพ ให้ทำหัตถบำบัด กายภาพบำบัด

ฝึกอาชีพ ให้ความรู้เรื่อง ฟื้นฟูสุขภาพ

งานบริการทั้ง 4 ข้อข้างต้น นี้เรียก งานบริการปฐมภูมิ

ทีมสุขภาพ ของ ร.พ.และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ศูนย์แพทย์

ใกล้บ้านสามารถให้บริการได้


OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

ผล ทำให้ ร.พ.จะมีเฉพาะคนไข้ที่จำเป็นต้องมา คือ

คนไข้อุบัติเหตุ , ฉุกเฉิน และ คนไข้ที่ได้รับการส่งต่อ

มาจากศูนย์แพทย์ชุมชนที่แพทย์ออกตรวจ เพื่อตรวจ

แล็ป เอ็กซเรย์ หรือ ให้มานอน รักษาตัว ใน ร.พ.เท่านั้น

หมายเหตุ ถ้า มีแพทย์ออกตรวจที่ใกล้บ้าน แล้ว

ประชาชน มา ร.พ.โดยไม่จำเป็น จะได้รับการรักษาปกติ

และ แจ้งให้ทราบว่า มี แพทย์ จาก ร.พ.ไปบริการตรวจ

ให้ใกล้บ้าน แล้ว 2 ครั้ง

ถ้ามาอีกคราวหน้า ถ้าไม่จำเป็น รอแพทย์ได้

จะต้องเสียค่ารักษาเอง   เหนื่อย

ทำให้ ร.พ.ได้ทำงานที่จำเป็นต้องมาร.พ.เท่านั้น ทำให้งาน

ลดลง เพียงจัดแพทย์อยู่เวร ร.พ.เพียงคนเดียว ช่วงเช้า

เพื่อรับอุบัติเหตุ และ ฉุกเฉิน ขณะ ที่แพทย์ ท่านอื่นๆ

ออกไปตรวจที่ ศูนย์แพทย์ชุมชน นอก ร.พ.ช่วงเช้า

ช่วงบ่ายกลับมาดูคนไข้ใน ร.พ.ในพื้นที่ ที่มานอนป่วย

 และ รับปรึกษาคนไข้ ทางโทรฯมือถือ ที่พยาบาลเวชปฏิบัติ

ที่อยู่ประจำ ศูนย์แพทย์ รักษาไม่ได้  เหนื่อย

ซึ่งเมื่อประชาชน รับรู้วิธีการทำงานก็จะมาตามเวลา

การยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ.ยังมีประโยชน์อีก 3 ด้าน คือ

1.ผลต่อการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เมื่อรักษา

เมื่อเริ่มป่วย รักษาง่าย ค่ารักษาถูกกว่ารักษาช้า

2.ประสิทธิภาพของการบริการที่ให้ผลลัพธ์

ด้านสุขภาพดีกว่า คือ ลดอัตราตาย และ พิการได้

3.เพิ่มการเข้าถึงบริการให้กับคนยากจน คนด้อยโอกาส

ผู้พิการ ผู้ป่วยโรครื้อรังที่ไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้

 เป็นการช่วย

สร้างความเป็นธรรมในสังคม

เจ้าของกระทู้ขอเพิ่มเติม อีกว่า มีประโยชน์

1.ให้แพทย์ได้ทำงานตรงกับความสามารถ แพทย์ทั่วไป

อยู่ ด่านแรก แพทย์เฉพาะทางอยู่ในแผนกนั้นในด่าน 2 , 3

2.แพทย์ที่ลาออกจากงานหนัก เพราะไม่จัดเป็นระบบ

จะกลับเข้ามาทำงาน ร.พ.อีก ตามด่านที่ต้องการ

3.แพทย์ด่านแรก สามารถเป็นแพทย์เฉพาะทางได้

ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จะให้สอบอนุมัติบัตร

ตามเกณฑ์ อบรมกับราชวิทยาลัยเองตามเกณฑ์ ทุกปี

เมื่อทำงานครบ 5 ปีสามารถสอบอนุมัติบัตรเวชศาสตร์

ครอบครัวได้ มีศักดิ์ และ สิทธิ์ เหมือน แพทย์เฉพาะทาง

ด้านอื่น ๆ เช่นกัน

เป็นการจูงใจ ทำให้มีแพทย์ต้องการมาทำงาน ร.พ.อำเภอ

เพิ่มขึ้นเป็นด่านแรก แพทย์จบใหม่ปีละ 2,500 คน พร้อม

ที่จะทำงานด่านแรก แทนแพทย์เฉพาะทางได้ทันที ถ้า

ขอย้ายเข้าแผนกเฉพาะทาง ที่ด่าน 2 หรือ ด่าน 3


ดังนั้น ถ้าที่เสนอเป็นจริงแพทย์ ร.พ.อำเภอจะทำงาน 2 ที่ คือ

1.ที่ ร.พ.ดูคนไข้ในพื้นที่ ที่ป่วยไม่มาก ให้มานอนรักษา

ได้ ถ้าเกินความสามารถจึงส่งต่อด่านสอง หรือ ด่านสาม

ก่อนออกตรวจนอก ร.พ.

2.ที่ ศูนย์แพทย์ชุมชน เพื่อให้บริการงานปฐมภูมิ ที่ยกออก

นอก ร.พ.ไปให้บริการใกล้บ้าน ให้ประชาชนเข้าถึงบริการ

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ปัจจุบัน ทุกสถานีอนามัย หรือ ศูนย์แพทย์ชุมชน

มีคอมพิวเตอร์ใช้ในการบันทึก การรักษา สามารถกดดู

ประวัติเก่า สามารถคัดลอกยาเก่า และ ช่วยงานพิมพ์ใบ

สั่งยา ใบรับรองแพทย์ ฯลฯ ช่วยให้การทำงานตรวจ

ที่ สถานที่นอก ร.พ.ได้รับความสะดวกมาก ผมใช้เวลา

ตรวจคนไข้ประมาณ 1-5 นาทีแล้วแต่ความซับซ้อนของ

โรค รับยาเดิมอาการปรกติ 1 นาที เสร็จ เป็นต้น

OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

ปัจจุบัน ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้อนุมัติเบี้ยเลี้ยง

ให้แพทย์ ที่ทำงานที่ ร.พ.อำเภอ ได้เบี้ยเลี้ยงเพิ่มอีก

ตั้งแต่ ธ.ค. 2551 ผมทำงานมา 28 ปี ได้เงินเบี้ยเลี้ยง

ทำงาน ร.พ.อำเภอมาตลอด ได้เงิน มาจำนวนมากพอ

ชดเชยรายได้คลินิกที่ลดลง จากคนไข้ไม่มาหาคลินิก

แต่เข้าถึงบริการฟรี ที่มีคุณภาพโดยแพทย์ ร.พ.และ

ทีมสุขภาพ ออกตรวจให้ที่ศูนย์แพทย์ ข้างต้น ทำให้

ในอนาคต ก็คงจะปิดคลินิกไปในที่สุด เมื่อประชาชน

ได้เข้าถึงบริการใกล้บ้าน   ดูเพิ่มเติม

หนังสือ"ยกบริการปฐมภูมิออกนอกโรงพยาบาล จุดคานงัด

การพัฒนาบริการปฐมภูมิในประเทศไทย"


ที่เวบ

http://www.hcrp.or.th/th/cms/detail.php?id=43

OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

ทำไมต้องยกบริการปฐมภูมิ ออกนอก ร.พ.

เนื่องจากในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นั้นมีมาตราเกี่ยวกับ

สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

มาตรา ๕๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการ

ทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และ

ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการ

สาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐ

ซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่อ

อันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

และทันต่อเหตุการณ์

ตามเวบ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

http://www.ryt9.com/s/lwai/336299/

ooooooooooooooooooooooooooooooooooooooo

ตัวอย่างการยกบริการปฐมภูมินำไปปฏิบัติจริง (นำร่อง)

ผม เจ้าของบล็อก เองได้ทำนำร่อง

ตั้งแต่ 6 พฤษภาคม 2551 สถานีอนามัย ต.เขาหินซ้อน

ได้รับการประเมิน และ รับรองเป็น

ศูนย์แพทย์ชุมชน Tract A

และ วันที่ 1 กรกฏาคม 2552 ได้รับการยกฐานะเป็น

ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล

ผมเป็นแพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

 ออกตรวจวันอังคาร พุธ พฤหัส

ผู้อำนวยการ ร.พ.พนมสารคาม ออกตรวจ จันทร์ และ ศุกร์

เพื่อช่วยพัฒนา ศูนย์แพทย์ชุมชน ให้ก้าวหน้า

เหมือน ร.พ.อำเภอพนมสารคาม ที่พัฒนาจนได้

เป็น ร.พ.คุณภาพ และ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า

แพทย์ ที่ทำงาน ร.พ.อำเภอ ต้องทำงาน 2 ที่ คือ

1.ที่ ร.พ.อำเภอ ตรวจคนไข้ใน เฉพาะผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดชอบ

ที่มาเป็นผู้ป่วยใน ก่อนออกไปตรวจคนไข้นอก นอก ร.พ.อำเภอ

2.ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ที่รับผิดชอบ คนไข้นอก

จะเป็นโรคง่าย ๆ เรียนจบแพทย์ 6 ปี ก็สามารถ

ดูแลสุขภาพประชาชนได้เป็นส่วนใหญ่ มีส่วนน้อย

น้อยกว่า 5 - 10% เกินความสามารถก็ส่งต่อไปรักษา

กับแพทย์ที่เหมาะสมได้ เหมือนประเทศอังกฤษ และ

ฟินแลนด์ ที่ทุกคนต้องมีแพทย์ประจำตัว

ถ้าเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

ได้ฟรี แพทย์ผู้รักษาสามารถสอบถามประวัติ

จากแพทย์ประจำตัวได้

ดังนั้น การทำงานเช้า ผม จึงต้องตรวจคนไข้ในพื้นที่

รับผิดชอบที่มานอนรักษาใน ร.พ.ก่อนออกตรวจที่ ร.พ.ตำบล

ประมาณ 9.15 น.ก็ขับรถ ร.พ. รถเก๋ง Volvoไปออกตรวจที่

ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเขาหินซ้อน ระยะทาง 20 กม.

ประมาณ 9.30 น ก็เริ่มตรวจคนไข้ได้

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ทั้ง ร.พ.และ ศูนย์ฯ ใช้ Computer ในการพิมพ์ประวัติ

สั่งรักษา แต่คนละโปรแกรมกัน แต่สามารถเรียนรู้

ได้ไม่ยาก ในการพิมพ์ ประวัติ , ตรวจร่างกาย , สั่งยา ฯลฯ

สามารถ Copy ยาเก่า ทำให้การทำงานรวดเร็ว ง่ายมาก

ใช้เวลาตรวจคนไข้ลดลง จากที่จะต้องเขียนใบสั่งยา หรือ

อ่านลายมือประวัติเก่ายาก เป็นกดคีย์คอมพ์

ดู วันที่ ที่มาตรวจ ประวัติเก่า ก็จะขึ้นมา สามารถ

Remed หรือ Copy ให้ใช้ยาเดิมได้ สามารถลบ หรือ เพิ่มยา

ได้ทันที ตรวจคนไข้เฉลี่ย ประมาณ 1-3 นาที/คน

ใน 1 ชม.ตรวจ ได้ประมาณ 20-60 คน

แล้วแต่ความซับซ้อนของการป่วยไข้ ทำงานสบายมาก

คุยเป็นกันเองกับคนไข้ไม่เครียดทั้ง 2 ฝ่าย มีเวลาว่าง

พัฒนา ร.พ.ตำบล หรือ เข้าหาความรู้ทางอินเตอร์เนต

ไม่ต้องดูแลคนไข้หนักด้วยตนเอง เกินความสามารถ

ปฐมพยาบาล แล้ว เรียก หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669

จาก ร.พ.มารับได้ไม่เกิน 20-30 นาทีก็มาถึง สบาย ๆ

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ  

ยิ่งเวลาผ่านไปคนไข้ใน และ คนไข้นอกที่ต้องมา ร.พ.

ในเขตรับผิดชอบ ต.เขาหินซ้อนเริ่มลดลง เพราะ

ประชาชนเมื่อป่วยเล็กน้อยก็เข้าถึงบริการที่มี

คุณภาพใกล้บ้านมีแพทย์ออกตรวจ

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

นอกจากนี้ถ้าประชาชน ร่วมปฏิบัติต้ว ให้มีสุขภาพดี ตาม

1. กิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพ

2. กิจกรรมสุขาภิบาล ป้องกันโรค

3. กิจกรรมรักษาพยาบาล เมื่อเริ่มป่วยมารักษากับ

แพทย์ประจำครอบครัว ที่ออกตรวจให้ ใกล้บ้าน

4. กิจกรรมฟื้นฟู สุขภาพ

ทั้ง 4 กิจกรรมนี้ จะลดคนไข้ต้องมา ร.พ.ได้

ตามเวบบ์      

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,591.0.html

oooooooooooooooooooooooooooooooooooooo

สรุป ประโยชน์ที่ได้รับจากการยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ. คือ

1.แพทย์สามารถเลือกจะเป็นแพทย์สาขาใดได้

อยากเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวทำงาน 2 ที่  

จบแพทย์ 6 ปีผ่านการสอบได้รับใบประกอบวิชาชีพ

เวชกรรม แล้วก็เลือกทำงาน ร.พ.อำเภอ

อยากเป็นแพทย์เฉพาะทาง หลังทำงานใช้ทุนที่ ร.พ.อำเภอ

แล้ว ก็สามารถหาทุนเรียนจาก ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์

2.ประชาชน ได้ประโยชน์ไม่ต้องเสียเวลา

เสียค่าใช้จ่าย ในการเดินทางมาโรงพยาบาล

กลายเป็น รอแพทย์ และ ทีมสุขภาพจาก

ร.พ.อำเภอ มาให้บริการทุกเช้า ที่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล รพสต.ใกล้บ้าน

ถ้าป่วยเกินความสามารถจะได้ ใบส่งตัวไปรักษาในที่ ที่เหมาะสม โดยใช้สิทธิ

รักษาฟรีได้ เมื่ออยู่ในหลักเกณฑ์

ส่วนในกรณีฉุกเฉิน สามารถรักษาพยาบาลสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ฟรีเช่นกัน

3.ถ้าไม่มีแพทย์เฉพาะทางที่ ร.พ.อำเภอ ประชาชนเมื่อป่วยเกินความสามารถ จะได้รับ

การส่งต่อเร็วขึ้นไม่ต้องรอรักษากับแพทย์เฉพาะทางที่มีเพียงคนเดียว ซึ่งไม่แน่ว่า

จะตามปรึกษาได้ตลอดเวลา

4.ลดความพิการ หรือ เสียชีวิตคนป่วยได้ เนื่องจากเข้าถึงการรักษาใกล้บ้านได้ทันทีเมื่อเริ่มป่วย

5.ค่าใช้จ่ายในการรักษา ต่อ คนไข้ 1 คน จะลดลง เนื่องจากเมื่อเริ่มป่วย สามารถเข้า

รับบริการกับแพทย์ประจำครอบครัวใกล้บ้านได้ทันที

"ยกบริการปฐมภูมิใน ร.พ.ไปให้บริการใกล้บ้าน

ที่ศูนย์แพทย์ชุมชน(สถานีอนามัยเดิม)เพื่อเป็นด่านแรก"

จะเกิดเหมือนประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ได้


พวกเราต้องช่วยกันหลาย ๆ คน นำบทความนี้ เสนอ



พณฯ ท่านจุลินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร.ม.ต.สาธารณสุข และ



ท่านอาจารย์นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ทราบเพื่อพิจารณา


 win win win
  
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2552, 14:44:42 »



สถานีอนามัยที่จะเป็น ศูนย์แพทย์ชุมชน จนเป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลในที่สุด

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ผมรับราชการเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลระดับ อำเภอ

ที่ ทำงานปัจจุบันแห่งนี้ มา ตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปี 2554 นี้

เป็นปีที่ 30  มีเหตุการณ์ที่สำคัญมากเกิดขึ้น

กับวงการสาธารณสุข 2 เหตุการณ์ คือ

เหตุการณ์สำคัญ ที่ 1 คือ การสาธารณสุขมูลฐาน

ในปี พ.ศ.2529 หรือ ปี ค.ศ.1986 มีการประชุม

องค์การอนามัยโลก : WHO

เรื่อง สาธารณสุขมูลฐาน ที่เมือง Ottawa

ประเทศ Canada ได้ข้อสรุป

“ Ottawa Charter ”

ให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อทำให้สุขภาพดี

เรียกว่า

 “การสาธารณสุขมูลฐาน” หรือ

“ Primary Health Care : PHC


โดยให้แต่ละประเทศไปดำเนินการให้สำเร็จ

ประเทศไทยกำหนดตัวชี้วัดความก้าวหน้า

ของงานสาธารณสุขมูลฐาน 4 ข้อ ดังนี้ คือ

1.การที่ทุกคนได้มีสิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)

ที่จำเป็นต่อชีวิต ตามเกณฑ์ทุกคนถ้วนหน้า

ซึ่งแต่ละกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการ

2.การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี เช่น

2.1 -ประชาชนในหมู่บ้านอาสาสมัคร มาเป็น

"อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน"(อสม.)

เพื่อทำหน้าที่ช่วยงานสาธารณสุขด้วยการเข้ารับ

การอบรมความ รู้จาก ร.พ.หรือ สถานีอนามัย

เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ ตามอุดมการณ์ของ อสม.

คือ

"แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงาน

สาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี"

2.2 -การที่ประชาชนยินดีเข้าร่วมชมรมสร้างสุขภาพ

ประจำหมู่บ้าน ซึ่งมี อสม.แต่ละหมู่บ้าน เป็นแกนนำ

โดย มี ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ภายในอำเภอนั้น

เป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ที่ ต้องการ

2.3 -ประชาชนร่วมปฏิบัติตัว เพื่อให้มีสุขภาพดี

ตามสุขบัญญัติ 10 ประการ ของ กรมอนามัย

2.4 -การที่ประชาชนเห็นความสำคัญของการ

ปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพดี

ถ้าเป็นไปได้ ด้วยการช่วยกัน เสนอ สมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎร(สส.)ให้ออก

กฏหมายให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัวให้มีสุขภาพดี

ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาด้วยบางส่วน เช่น 20%

ของค่ารักษา เพื่อเป็นการเพิ่มเงินให้กับการรักษา

และ ยังเป็นการเตือนให้ผู้ไม่ดูแลสุขภาพ

จะได้ฉุกคิดไม่อยากจ่ายร่วมค่ารักษาต้อง

เปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง และ ป่วยน้อยลง

เงินที่เพิ่มขึ้นนี้ สามารถนำมาตรวจร่างกายให้

ประชาชน ฟรี ได้ปีละครั้ง


ตามแนวทาง การป้องกัน ดีกว่า การรักษา

ในประเทศอเมริกามี กฏระเบียบ ให้ผู้ไม่ปฏิบัติตัว

เพื่อการมีสุขภาพดี เช่น สูบบุหรี่ อ้วน ฯลฯ

ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย



ตามที่ นายกแพทยสภา ศ.น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา

ไปเห็นมาที่เวบ.....

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11

3.การเข้าถึงสถานบริการได้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย

โดยถ้วนหน้า

-ประเทศเราได้มีสถานีอนามัยอยู่ทุกตำบล ใกล้บ้าน

ใกล้ใจ ประชาชนทุกแห่งแล้ว

ถ้าพัฒนาเป็นสถานพยาบาลด่านแรกที่มีแพทย์

ออกตรวจเพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพ จนได้รับมาตรฐานเป็น

ร.พ.เสริมสร้างสุขภาพตำบล

มีแพทย์ประจำรับผิดชอบ ให้บริการประจำช่วงเช้า

ทุกวันราชการ ช่วงบ่ายกลับมาดูผู้ป่วยใน ที่ ร.พ.

และ รับปรึกษาจาก ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล ทางโทรศัพท์มือถือ

ในเวลา ส่วน นอกเวลา ปรึกษาแพทย์เวร ร.พ. หรือ

เรียก รถฉุกเฉิน 1669 มารับไปรักษาในที่ที่เหมาะสม

4.การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ทุกระดับ

ปัจจุบัน มีสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ ทำหน้าที่นี้

ได้แก่

4.1 ระดับสถานีอนามัย เรียกว่า

“สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานีอนามัย”

: Health Center Accreditation:HCA


4.2 ระดับโรงพยาบาล เรียกว่า

”สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล”

: Hospital Accreditation : HA


ดังนั้น สถานพยาบาลทุกระดับ ต้องผ่านขบวน

การพัฒนาและรับรองคุณภาพ ให้ผ่านเกณฑ์

จนได้ใบประกาศรับรอง ให้ผู้ใช้บริการมั่นใจ

ในคุณภาพการบริการ

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

เหตการณ์สำคัญ ที่ 2 คือ

ในปี พ.ศ. 2543 หรือ ปี ค.ศ.2000

องค์การอนามัยโลก ได้ตั้งคำขวัญ วันอนามัยโลก ว่า

Health For All By The Year 2000 หรือ

สุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543


ขณะนี้ ปี 2009 (พ.ศ.2552)แล้วแต่ตัวชี้วัด

สาธารณสุขมูลฐาน ที่ต้องการให้ประชาชนทุกคน

มีสุขภาพดีถ้วนหน้า ในปี ค.ศ.2000 ยังทำไม่สำเร็จ คือ

ตัวชี้วัดสาธารณสุขมูลฐาน ตัวที่ 3 ประชาชนเข้าถึง

บริการสุขภาพได้สะดวกใกล้บ้าน และ

ตัวชี้วัดสาธารณสุขมูลฐาน ตัวที่ 4

สถานพยาบาลที่ให้บริการใกล้บ้านนั้นมีคุณภาพด้วย

โดยมีแพทย์ประจำครอบครัว และ ทีมสุขภาพจาก

ร.พ.อำเภอ ไปให้บริการ ยังทำไม่สำเร็จ

ผู้ใช้บริการยังคงต้องมาแออัดรอคอยการใช้

บริการที่โรงพยาบาลห่างจากบ้านกันเกือบ

ทุกแห่งในประเทศ


เคยมีสมัยหนึ่งที่ประเทศเราได้มุ่งเน้นพัฒนา

คุณภาพสถานีอนามัย โดยให้มีแพทย์ออกตรวจ

นอกโรงพยาบาลที่สถานีอนามัย เรียกว่า

“โครงการจัดแพทย์ออกตรวจนอกโรงพยาบาล

เพื่อพัฒนาสถานีอนามัย : Extended OPD”


แต่น่าเสียดายมาถูกทางแล้วแต่หยุดทำต่อ

ไม่ทราบเพราะสาเหตุใด

เจ้าของบทความมองว่า ถ้าผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข

ลงทุนด้านสาธารณสุขมูลฐาน พัฒนาตัวชี้วัด ให้ครบทั้ง

ตัวชี้วัด ตัวที่ 3 และ ตัวที่ 4 ลงทุนน้อย แต่ผลตอบแทน

คุ้มค่า เหมือนในประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์



ตามที่ ท่านอดีต เลขาธิการแพทยสภา สว.ศ.น.พ.พินิจ กุละวณิชย์ ไปดูงานมา

ตามเวบไซด์ข้างล่าง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4

การพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลใกล้บ้าน ที่

ประชาชนเข้ารับบริการกับแพทย์ประจำครอบครัว

ได้สะดวก เข้าถึงง่าย ที่

“ศูนย์แพทย์ชุมชน”

จะทำให้ประชาชนแต่ละพื้นที่ในอำเภอ แทนที่

จะมุ่งหน้ามาตรวจที่โรงพยาบาล พบแพทย์

เปลี่ยนแพทย์ไปตามคิวแพทย์แต่ละวัน ก็จะไปรับ

บัตรคิวที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน เพื่อรอแพทย์

ประจำครอบครัวคนเดิมประจำ มาออกตรวจรักษาให้

ถ้ายังไม่ถึงเวลาตรวจก็ไปทำงานบ้านก่อนได้

เมื่อคาดว่าใกล้ถึงคิวตรวจจึงเดิน หรือ ขี่จักรยาน

มาตรวจได้ ไม่เสียเวลามานั่งรอตรวจเกือบทั้งวัน

เหมือนแต่ก่อนต้องมา ร.พ.เสียเวลาทั้งวัน

 เหนื่อย เหนื่อย เหนื่อย

เมื่อปี 2550 พญ.บุญเชียร ปานเสถียรกุล

อดีต คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ซึ่งปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว

ขอยกบทความของท่านมาอ้างอิง ด้วยความเคารพ และ

อาลัยท่านอย่างยิ่ง กล่าวว่า

ขณะนี้ ประเทศไทยยังถือว่าขาดแพทย์อีกมาก

ปัจจุบันมีแพทย์ในอัตราส่วน

แพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,600 คน ตามเวบบ์ข้างล่าง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=08-2007&date=18&group=1&gblog=15

ความคิดของผมเจ้าของบล็อก ขอเรียนเสนอต่อ

บทความของท่านอาจารย์ พญ.บุญเชียร มาด้วย

ความเคารพว่า

ถ้าเรามีแพทย์ถึง 1 คนต่อประชากร 1,600 คน แล้วยัง

ขาดแคลน นั้น

ผมมองว่า ที่ดูว่าขาดนั้น เพราะ มี

การกระจายตัวของแพทย์ไม่ถูกต้อง ทำให้

ดูเหมือนว่า ขาดแพทย์ใน ร.พ.ต่าง ๆ ทั้ง ด่านแรก(ร.พ.อำเภอ)

ด่านสอง(ร.พ.จังหวัด) และ ด่านสาม(ร.พ.ศูนย์) และ

การกระจายไม่ถูกต้องนี้ก็ซ้ำเติม

ทำให้แพทย์ทำงานแล้วเครียดจึงลาออก เพราะ ทำงานไม่ตรง

กับสายงานที่เรียน


ประเทศเรามีแพทย์จบใหม่ปีละประมาณ 2,500 คน เป็นแพทย์ทั่วไปรักษาได้ทุกโรค

ควรให้มาแทนที่แพทย์เฉพาะทางที่จัดให้มาอยู่ ร.พ.อำเภอ ๆ ละ 1 คน

คือ สูติ ศัลย์ อายุรกรรม และ กุมาร มีคนไข้น้อยไม่สามารถตั้งแผนกตรวจเฉพาะทางได้

ต้องตรวจทุกคนที่มา ร.พ.อำเภอ แพทย์ทุกคน จึงเครียด ทำงานไม่ตรงสาขาที่เรียนมา

ควรแลกแพทย์จบใหม่ 2,500 คนมาแทนแพทย์เฉพาะทางนี้

ทำให้ แผนกต่าง ๆ ได้แพทย์เพิ่มขึ้นทันทีไม่ต้องรอส่งแพทย์ไปเรียนต่ออีก 3 ปี

ซึ่งทำให้แพทย์จบใหม่ไม่ยอมมา ร.พ.อำเภอ อยากเรียนต่อ

 จึงขอเสริม ให้รีบดำเนินการ จัดให้เป็นรูปเครือข่ายที่ถูกต้อง เพื่อ

"ยกบริการปฐมภูมิออกนอกโรงพยาบาล จุดคานงัด

การพัฒนาบริการปฐมภูมิในประเทศไทย"


ด้วยเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์สนับสนุนข้างต้น

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

    

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
สมชาย17
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,300

« ตอบ #2 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2552, 14:11:03 »

ผมได้อ่านบทความของหมอสำเริง แล้วชื่นชมมาก(และเป็น เพื่อนกัน จึงรู้จักภูมิหลังกันดี)
ประเทศเรา มีหมอ ที่อุทิศตนแบบ หมอสำเริงอยู่พอสมควร แต่รวมตัวกันไม่ได้
ต่างคนต่างเสียสละ ทำการรักษา ชาวบ้านตามอุดมการของตนเอง
แต่ไม่สามารถ ผลักดัน ให้กระทรวงสาธารณสุข เห็นดีเห็นงาม so sad
กับแนวคิดและวิธีการปฎิบัติ ของหมอทึมีอุดมการ แบบนี้ได้ ซึ่งได้พิสูจน์
ด้วยการกระทำแล้วได้ผลเป็นอย่างดี  แต่ก็ยังผลักดันไม่ได้

ถ้าผมพบกัน ชาวหอจุฬา หรือบุคคลอื่น ที่รู้จัก รมต.วิทยา
ผมจะ พิมพ์บทความของหมอสำเริง ฝากไปให้ รมต.วิทยา นำไปอ่าน
แลพิจารณา เพื่อกำหนดเป็น นโยบายของกระทรวง ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์

ผมเชียร์ หมอสำเริงด้วยคน ปิ๊งๆ


      บันทึกการเข้า
Jiab16
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,267

เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 02 มิถุนายน 2552, 09:42:15 »

ขอร่วมชื่นชมน้องหมอสำเริง 17 ด้วยอีกคนค่ะ ... ที่หมอขอความช่วยเหลือจากพี่เจี๊ยบผ่านทางพี่เหยง 16 มา  พี่เจี๊ยบกำลังดำเนินการให้อย่างเต็มสตรีมอยู่นะคะ  ขณะนี้ได้ข้อมูล update ล่าสุดของที่ปรึกษา รมต. สธ. ที่เป็น RCU 16 มาแล้ว  กำลังรอให้ท่านติดต่อกลับมา ... โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #4 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2552, 14:27:47 »



นพ.ยงยุทธ พงษ์สุภาพ ผู้เขียน เรื่อง ยกบริการปฐมภูมิออกนอก ร.พ.และ Dr. Ernst  Tenambergen

จากเวบ

http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://gotoknow.org/file/lwipoo/DSCN2916.JPG&imgrefurl=http://gotoknow.org/blog/lwipoo/48942&usg=__z6ZbV6XzbeChFv8s2Q5FHP8DYfQ=&h=1200&w=1600&sz=398&hl=th&start=1&um=1&tbnid=ZXKlM7WBWdQtFM:&tbnh=113&tbnw=150&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%2598%2B%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A9%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%26hl%3Dth%26sa%3DN%26um%3D1

...........................................................................


นำกระทู้นี้ไปให้ห้อง

"พูดคุยประสาพี่น้อง"

เพื่อพวกเราจะได้เข้ามาดู และ แสดงความคิดเห็นกัน

เชิญพวกเราตามไปดูได้ ที่


http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3301.0.html

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2552, 15:12:42 »

...เข้ามาศึกษาค่ะ...
...ตามความเห็นของพี่...คิดว่าปัญหามันอยู่ที่บ้านเรามันมีแพทย์ไม่พอค่ะ...
...อย่าง ร.พ.แถวบ้านพี่เค้าก็ไม่สามารถจัดแพทย์ออกไปตรวจที่หน่วยปฐมภูมิ(พีซียู)ได้ทุกวัน...จึงจัดไปอาทิตย์ละ 2 วัน...
...ก็ยังดีกว่าไม่จัดไปเลย...
...เดี๋ยววันหลังมาคุยใหม่ค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #6 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2552, 19:36:02 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 21 มิถุนายน 2552, 15:12:42
...เข้ามาศึกษาค่ะ...
...ตามความเห็นของพี่...คิดว่าปัญหามันอยู่ที่บ้านเรามันมีแพทย์ไม่พอค่ะ...
...อย่าง ร.พ.แถวบ้านพี่เค้าก็ไม่สามารถจัดแพทย์ออกไปตรวจที่หน่วยปฐมภูมิ(พีซียู)ได้ทุกวัน...จึงจัดไปอาทิตย์ละ 2 วัน...
...ก็ยังดีกว่าไม่จัดไปเลย...
...เดี๋ยววันหลังมาคุยใหม่ค่ะ...

ตอนนี้ที่ดูว่าแพทย์ไม่พอ เพราะ แพทย์ลาออกจากการที่ไม่จัดเป็นระบบ

ให้แพทย์เลือกอนาคต ว่าอยากเป็นแพทย์ด่านแรก หรือ แพทย์เฉพาะทาง

จึง ลาออกปีละ 800-1000 คนต่อปี  

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=12-2006&date=15&group=9&gblog=1

ที่ลาออกอาจ เนื่องจากการที่ ร.พ.อำเภอ จัดให้มีแพทย์เฉพาะทาง

สูติ ศํลย์ อายุรกรรม และ กุมารแพทย์ มาอยู่สาขาละหนึ่งคน

ทำให้แพทย์แต่ละคนมีความสามารถไม่เท่ากัน

ต้องมาทำงานตรวจคนไข้ ที่ไม่ถนัดตามที่เรียนมา เพราะ

คนไข้ที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทางมีไม่มากพอที่จะแยกแผนกตรวจได้ ต้องช่วย

ตรวจคนไข้ทั่วไปทุกคนที่มา ร.พ.อำเภอ ซึ่งส่วนใหญ่มากกว่า 90%

ป่วยเป็นโรคที่เพียงพบ แพทย์ทั่วไป เรียน 6 ปี ก็สามารถรักษาได้


แต่เพราะไม่จัดเป็นระบบ ทำให้แพทย์ทุกคนเครียดทำงานไม่ตรง

กับที่เรียนมา คนไข้ก็เครียดเมื่อป่วยต้องพบแพทย์เฉพาะทาง

จะส่งทันทีไปพบแพทย์เฉพาะทางในแผนกนั้นที่ ร.พ.จังหวัด

ก็ไม่ได้เพราะมีแพทย์เฉพาะทางอยู่ 1 คนต้องให้รักษาก่อน

เกินความสามารถจึงส่งได้ เมื่อจะส่งต่อมักเป็นหนักแล้ว

เมื่อเกิดความพิการ หรือ เสียชีวิต จึงทำให้มีข่าวฟ้องร้อง

แพทย์ และ ร.พ.ให้เห็นกันตามหน้าหนังสือพิมพ์ บ่อย ๆ

 เหนื่อย เหนื่อย เหนื่อย

ประเทศเรามีแพทย์จบใหม่ ปีละ 1500 คน

ถ้าจัดเป็นระบบให้ชัดเจน ใครอยากทำงานด่านแรก ที่ ร.พ.อำเภอ ต้อง

ทำงาน 2 สถานที่ คือ

1.ที่ ร.พ.อำเภอ ตรวจคนไข้ที่ต้องนอนรักษาใน ร.พ.

ที่เป็นคนไข้ในพื้นที่ รับผิดชอบ ที่ป่วยต้องนอน ร.พ.แต่ป่วยไม่มากถึงต้องส่ง

พบแพทย์เฉพาะทางที่ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์  

2.ที่สถานีอนามัย ที่จะได้รับการยกเป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล

ออกให้บริการตรวจคนไข้นอก ร.พ.ในพื้นที่ รับผิดชอบ เฉพาะช่วงเช้า

หมดคนไข้แล้วกลับไปดูคนไข้ที่นอนใน ร.พ.อำเภอ ที่่รับผิดชอบ

เป็นแพทย์ประจำครอบครัว เป็น แพทย์ทั่วไป จบ ปริญญา พ.บ.6 ปี

ไม่ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง อยู่ทำงาน ร.พ.อำเภอ

เมื่อทำงานครบ 5 ปี สามารถสอบอนุมัติบัตรเป็นแพทย์เฉพาะทาง

สาขาเวชศาสตร์ครอบครัวได้

มีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น และ

การทำงาน ร.พ.อำเภอ

ยังได้เบี้ยเลี้ยงเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งมากพอสมควรไม่ต้อง

เปิดร้านทำคลินิก เพิ่มให้ทุกปี

ทั้ง 2 แห่ง มีโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ช่วยงานตรวจรักษา

ทำให้ตรวจคนไข้ได้เร็วมาก

ผมตรวจคนไข้รับยาเดิมไม่มีอาการผิดปรกติ ใช้เวลาไม่ถึง นาที

ก็ส่งรับยาได้แล้ว และ ยังช่วยทำงาน ด้านเอกสาร ส่งรายงาน

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ ระหว่าง สถานบริการได้

งานสบายตรวจคนไข้เริ่มป่วย รับยาเดิม มีส่วนน้อย

เกินความสามารถ ก็ส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทางได้ทันที

ถ้าปรับระบบ ให้ถูกต้อง ไม่มีแพทย์เฉพาะทางที่ ร.พ.อำเภอ

ให้แพทย์เฉพาะทางที่อยู่ ร.พ.อำเภอ สาขา ละ คนเดียว

กลับไปอยู่แผนกเฉพาะทาง ใน ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์

จะเป็นการ  ใช้คน ให้ตรง กับงาน

และ ทำให้ ร.พ.จังหวัด หรือ ร.พ.ศูนย์ได้แพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้นทันที

 win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
babybell
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2553, 10:44:21 »

 gek   ก็ดีครับ
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #8 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2553, 12:44:56 »


"รพ.รามาฯเปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองแห่งแรกลดความแออัดภายใน"
ข่่าวเก่าเมื่อ เดือน กันยายน ปี 2550 ผ่านมา 3 ปีแล้ว ศูนย์ฯ ก็ยังไม่แพร่หลาย  gek
ทำอย่างไรกันดี ถ้าผู้ใช้บริการไม่ไปใช้บริการ และ ไม่เรียกร้องให้เกิดขึ้น

                                  

                                    ร.พ.รามาธิบดี  
                                 ..........................

                            

         สภาพคนไข้มาใช้บริการที่ ร.พ.รามาฯอย่างแออัด
               .........................................................

         รพ.รามาธิบดีขานรับโครงการลดความแออัด  เปิดศูนย์สุขภาพชุมชนในเมืองแห่งแรก เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์มากขึ้น  เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษาแพทย์-พยาบาล หวังให้การดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน  

                        

         นพ.ณรงค์ฤทธิ์ มัศยาอานนท์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันสุขภาพและประกันสังคมโรงพยาบาลรามาธิบดี หัวหน้าโครงการศูนย์สุขภาพชุมชนซอยสวนเงิน กล่าวภายหลังการเปิดศูนย์สุขภาพชุมชนซอยสวนเงิน เขตราชเทวี ว่า

         การดำเนินการจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนซอยสวนเงินเกิดจากแนวคิดและนโยบายของ รพ.รามาฯ ที่ต้องการให้โรงพยาบาลมีส่วนในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง สำหรับจุดเด่นของศูนย์สุขภาพชุมชนฯ แห่งนี้คือ  

         การนำอาจารย์พยาบาลที่มีความรู้ความสามารถมาดูแล ด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน แทนการให้แพทย์มาประจำ นอกจากนี้  

ศูนย์สุขภาพชุมชนยังทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพในเชิงรุกโดย

         ช่วงเช้ารับตรวจรักษาโรคทั่วไป และ

         ช่วงบ่ายจะเป็นการออกตรวจเยี่ยมชุมชม เพื่อพบปะพูดคุยกับคนในชุมชนว่า ในพื้นที่กำลังประสบปัญหาสุขภาพด้านใดบ้าง ส่วนในรายที่ต้องรับยาเป็นประจำ พยาบาลประจำศูนย์สุขภาพฯ จะมีการพูดคุยกับแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้มารับยาที่ศูนย์สุขภาพฯ ได้โดยไม่ต้องไปถึงโรงพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการหนักจะมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล  

         นพ.ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชนซอยสวนเงิน ส่วนมากเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ  
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคข้อเสื่อม โรคอ้วน  

         ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินชีวิตที่ส่วนมากมีอาชีพร้อยมาลัย และนิยมบริโภคน้ำอัดลม ขาดการออกกำลังกาย ขณะเดียวกัน ประชาชนที่มีบัตรหลักประกันสุขภาพที่ขึ้นกับโรงพยาบาลรามาฯ จะมีจำนวนน้อยมากไม่ถึงครึ่งหนึ่งของคนในชุมชนที่มีทั้งหมด 8 ชุมชน หรือประมาณ 1,300 คน เนื่องจากผู้คนที่มาอาศัยในชุมชนมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยเป็นประจำ  

         สำหรับข้อดีของการมีศูนย์สุขภาพชุมชน คือ  

1. ประชาชนไม่ต้องเดินทางไกลมารักษาถึงโรงพยาบาล  

2. นักศึกษาพยาบาลทั้งระดับปริญญาตรี-โท มีโอกาสได้ศึกษาดูงานอย่างใกล้ชิด เข้าถึงชุมชน  

3. ลดการเจ็บป่วยของชุมชน เนื่องจากมีการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น  

            ทั้งนี้ ภายใน 1 ปีจะมีการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์สุขภาพชุมชนฯ โดยมีศูนย์สุขภาพชุมชนซอยสวนเงินเป็นโครงการนำร่อง และคาดว่าจะมีการดำเนินงานที่ชุมชนเพชรบุรี 7 ต่อไปในอนาคต  

                          

            ด้าน นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า  
ขณะนี้ สปสช.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดทำโครงการพัฒนาโรงพบาบาล  

“บริการประทับใจ ไร้ความแออัด พัฒนาเครือข่าย”  

           เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ใช้งบประมาณ สปสช. จากงบลงทุนเพื่อพัฒนาบริการปฐมภูมิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติวงเงิน 150 ล้านบาท นำร่อง 13 จังหวัด  

           ในส่วนของ กทม. รพ.รามาฯ เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างการมีส่วนร่วมให้โรงพยายาบดูแลสุขภาพของชุมชนใกล้เคียง เป็นแนวทางการส่งเสริมป้องกันโรค และยังได้ในส่วนของการลดความแออัดในโรงพยาบาลด้วย  

นำมาจาก http://www.dtam.moph.go.th/alternative/news/newsblockdetail.php?newsid=2120

หมายเหตุ:ดูการดูแลรูปเครือข่าย เพิ่มเติมที่

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2006&date=30&group=1&gblog=3
                                                                      
นำ "รพ.รามาฯเปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองแห่งแรกลดความแออัดภายใน" ที่โพสต์ไว้ที่

 http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=09-2007&date=02&group=1&gblog=16

                                                                              win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
donaldjeo12
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2553, 13:24:27 »

โครง สร้างพื้นฐานด้านสุขภาพเสนอตัวเลขหลักสำคัญสำหรับการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสุขภาพจากการทบทวนวรรณกรรมในมือข้างหนึ่งและในกระบวนการของการหักภายใน ที่อื่นๆ หลักการกล่าวมีดังนี้ระบบสุขภาพแบบบูรณาการการวางแผนการประหยัด ชั้นในระบบสุขภาพนั้นจำเพาะของชั้น; ความสม่ำเสมอของโครงสร้างชั้น'; แพคเกจต่ำสุดของกิจกรรม; ความรับผิดชอบต่อประเทศและ / หรือชัดเจนและ ความรับผิดชอบต่อ เนื่องสำหรับประชากรทั้งกำหนด; พื้นฐานประชากรจำเป็นและเพียงพอแยกบางส่วนของฐานการบริหารและการสาธารณสุข การวางแผนและในที่สุดกฎสำหรับการแบ่งทางภูมิศาสตร์และบูรณาการขององค์กร nongovernmental นิยามของสองกลยุทธ์หลักด้านสุขภาพและระบบสุขภาพอำเภอเป็น revisited ยัง
      บันทึกการเข้า
yuridebura
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2553, 18:46:39 »

sounds good to me.......
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #11 เมื่อ: 12 กันยายน 2553, 17:26:39 »


วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 13:08:27 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1284271724&grpid=03&catid=00

                สธ.เผยผลสำรวจเด็กไทย มีปัญหาตัวเตี้ยกว่าครึ่งล้านคน
                        ป่วยบ่อย ไอคิวหด และอารมณ์ก้าวร้าวขึ้น


                          
      
           นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมี
นโยบายเร่งพัฒนาคุณภาพเด็กไทย ให้เด็กไทยมีคุณสมบัติได้ตามนโยบายรัฐบาลคือ

          “เก่ง ดี มีสุข” และแข็งแรง เริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และส่งเสริมพัฒนาการให้สมวัย ได้มอบหมายให้สถาบันสุขภาพเด็กฯ ร่วมกับราชวิทยาลัยฯ องค์กรที่ทำงานด้านการดูแลเด็ก ทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเด็กไทย รวมทั้งให้นักวิชาการด้านพัฒนาการเด็ก ออกมาชี้นำสังคม กระตุ้นผู้ปกครอง ครู ให้ความสำคัญพัฒนาการเด็ก เนื่องจากเด็กไทยขณะนี้มีสภาพน่าเป็นห่วงหลายๆเรื่อง  
      
         นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า ผลสำรวจสุขภาพอนามัยของเด็กโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ล่าสุดเมื่อ พ.ศ.2551-2552 โดยสำรวจเด็ก 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มปฐมวัยอายุ 1-5 ปี จำนวน 3,029  คนและ

กลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี จำนวน 5,999 คน จาก 20 จังหวัด

         พบว่าครอบครัวไทยขณะนี้มี

เด็กเฉลี่ยครอบครัวละ 2 คน

ผู้เลี้ยงดู

เป็นแม่ร้อยละ 63

รองลงมาเป็นปู่ย่าตายายร้อยละ 25 และ

พ่อร้อยละ 7

ผู้เลี้ยงดู

ร้อยละ 50 จบประถมศึกษา  และ

เด็กอายุ 3 -5 ปี ร้อยละ76 อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล
 

                          win win win

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

           นอกจากนี้ ท่านปลัดกระทรวงฯ ยังได้เร่งพัฒนาให้ ยก บริการปฐมภูมิออกมาทำได้ที่

           สถานีอนามัยทุกแห่งในประเทศ 2 พันกว่าแห่ง ให้มีแพทย์ จาก โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพอำเภอ รพสอ.รับผิดชอบ ทางเครือข่ายเทคโนโลยี่สารสนเทศ หรือ ไอซีที

                       

          เครือข่ายเสมือน หรือ Virtual Private Network : VPN ทางสาธารณสุข มีแพทย์ รับผิดชอบประจำสถานีอนามัย ซึ่งเมื่อมีแพทย์มารับผิดชอบตรวจให้ทาง VPN ไม่ต้องใช้แพทย์เพิ่มแต่ใช้แพทย์ร่วมกันกับ รพสอ.นั่งที่ รพสอ. คนไข้นั่งอยู่ รพสต.มีพยาบาลเวชปฏิบัติ ทำหน้าที่เชื่อมต่อให้แพทย์กับคนไข้ติดต่อเสมือนจริงได้ จึงจะมีคุณภาพ รักษาโดยแพทย์ ได้ยกฐานะเป็น

                              

           โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล รพสต.จะเป็นกำลังสำคัญในการยกบริการปฐมภูมิออกนอก รพสอ.เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่าย ใกล้บ้าน และ มีคุณภาพ รักษาโดยแพทย์

                        

         ทำให้ตัวชี้วัด การสาธารณสุขมูลฐาน Primary Health Care : PHC
                     ของ สุขภาพดีถ้วนหน้า ตาม Ottawa Charter


            http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html  

         ทำได้สำเร็จครบ 4 ตัวชี้วัด ประกาศเป็น

         ประเทศสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ไม่เกินปี 2555

         ซึ่ง รพสต.นี้เป็นกำลังสำคัญในการ แก้ปัญหาเด็กตัวเล็ก ไอคิว ต่ำได้โดยอาศัยความร่วมมือจาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.ที่มีทุกหมู่บ้านแล้ว และ ได้พัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานจะเป็นกำลังสำคัญ  

               win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #12 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2553, 21:47:37 »


          วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 14:03:10 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
          http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1284275008&grpid=03&catid=00

                  "มาร์ค"ดัน 3 จีเกิดเร็วที่สุด ปัดให้ กสช.ฟ้องศาลปกครอง

                              

          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ

         "การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโอกาสที่เท่าเทียมกันโดย 3.9 จี"

                        

         ในงานมหกรรมเทคโนโลยีสื่อสาร 3.9 จี จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า

         ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ทั้งด้านอาชีพการงาน การยกระดับคุณภาพชีวิต รวมถึงการพัฒนาภาพรวมของเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีความเร็วสูงใน 4 ด้านคือ

1. ด้านเศรษฐกิจ มั่นใจว่าไทยมีศักยภาพในการขยายธุรกิจ โดยนำการพาณิชย์ในเชิงอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ โดยเฉพาะการสร้างความปลอดภัยและการป้องกันการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

2. ด้านบริการภาครัฐ เทคโนโลยีจะช่วยเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ และช่วยลดต้นทุน แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ

3. ด้านสุขภาพและการสาธารณสุข จะเห็นได้ชัดเจนจากการจัดตั้งโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล ซึ่งสามารถใช้การสื่อสารเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลอำเภอ หรือจังหวัดได้ และ

4. ด้านการศึกษา เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบ

                      เหอๆๆ เหอๆๆ เหอๆๆ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><