29 มีนาคม 2567, 19:55:21
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: * I N V E S T M E N T *  (อ่าน 151974 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Max
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,435

« ตอบ #100 เมื่อ: 18 กันยายน 2551, 12:18:18 »

ช่วงนี้ถ้ามีสตางค์ เป็นเงิน โคต เย็น ไม่คิดจะใช้เลย

ก็ลองเก็บหุ้นพื้นฐานดีๆ ไว้ก็ดีนะครับ

อยากให้ลองนึกถึงตอนที่มีวิกฤต ต้มยำกุ้ง ดูนะครับ ตลาดมันแย่ขนาดไหน แล้วตอนนั้น คือเป็นวิกฤตที่บ้านเมืองเรา

แต่ตอนนี้เป็นที่ US  ตอนนั้นใครที่กลั้นใจซื้อพวก ปตท ไว้ จะมีตังค์เพิ่มขนาดไหน

ซื้อถัว  ทยอยซื้อ ก็ดีครับ ถ้ากลัวมัน เหวี่ยงมาก จากการเล่นหุ้นรายตัว ก็เอาพวก กองทุน SET50 ก็ดีครับ

จะได้ลดการเหวี่ยงน้อยลงไปครับ  Cool
บันทึกการเข้า
Mr.EggMan
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,826

« ตอบ #101 เมื่อ: 18 กันยายน 2551, 14:45:58 »

 Shocked

น่าช้อนที่ซู๊ดดดดดดด

ว่าแต่คิดยังไงกับ SCC อ่ะ
รูดดิ่งเหวเลย

ดูจากพื้นฐานองค์กรแล้วก็น่าจะไหว
แต่ไม่แน่ใจเรื่องพื้นฐานธุรกิจ

บันทึกการเข้า

jakkreepan@hotmail.com
Love is in the A...I...R......H
Max
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,435

« ตอบ #102 เมื่อ: 18 กันยายน 2551, 15:08:12 »

อ้างถึง
ข้อความของ Mr.EggMan เมื่อ 18 กันยายน 2551, 14:45:58
Shocked

น่าช้อนที่ซู๊ดดดดดดด

ว่าแต่คิดยังไงกับ SCC อ่ะ
รูดดิ่งเหวเลย

ดูจากพื้นฐานองค์กรแล้วก็น่าจะไหว
แต่ไม่แน่ใจเรื่องพื้นฐานธุรกิจ



ลองดูบทวิเคราะห์ของพวกโบรก ก็ได้ตาไข่ ว่ามูลค่าแท้จริงมันกี่บาทต่อหุ้นน่ะ

ส่วนมากวิธีการวิเคราะห์มันก็จะใช้ คล้ายๆ กันแต่ละโบรกล่ะ

แต่ต้องถือยาวๆๆๆ  นะ เก็งกำไรช่วงนี้แย่เลย
บันทึกการเข้า
ชาร์ป
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,119

« ตอบ #103 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2551, 00:08:07 »

 
อ้างถึง   
ทัศนะวิจารณ์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
    6 ตุลาคม พ.ศ. 2551 00:28:00
    ปัญหาระบบการเงินของโลก

http://www.bangkokbiznews.com/2008/10/06/news_300270.php

    :

    ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

    กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : ผมต้องขออภัยท่านผู้อ่านบทความที่ตีพิมพ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งผมกล่าวถึงรูปที่ใช้อธิบายหลักการของการที่รัฐบาลสหรัฐจะใช้เงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ เข้าไปซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินเพื่อพยุงมิให้ราคาสินทรัพย์ ตกต่ำมากจนเกินไป แต่ปรากฏว่าในบทความมิได้ลงรูปที่กล่าวถึง ซึ่งต่อมากรุงเทพธุรกิจได้นำรูปดังกล่าวลงในเว็บให้แต่ก็ยังเป็นรูปที่มี ขนาดเล็กมองเห็นได้ยาก แต่ก็หวังอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะเข้าใจในหลักการแล้ว เพราะในช่วงที่ผ่านมามีการวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ร่างกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐบาลสหรัฐเข้าไปซื้อหลักทรัพย์ที่อิงกับสินเชื่อ ภาคอสังหาริมทรัพย์ (mortgage related securities) คาดว่าจะได้รับการอนุมัติจากสภาล่างในวันที่ 3 ตุลาคม และประธานาธิบดีน่าจะลงนามออกมาเป็นกฎหมายอย่างรีบด่วน

    คำถามต่อมาคือกฎหมายดังกล่าวจะนำ เสถียรภาพกลับมาให้กับระบบการเงินของสหรัฐและของโลกได้โดยเร็วหรือไม่? คำตอบคือสถานการณ์ได้พัฒนาไปในทางลบอย่างรวดเร็วจนกระทั่งกฎหมายดังกล่าว เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ได้ จะสังเกตได้ว่าในช่วง 10 วันที่รัฐบาลสหรัฐเร่งจัดทำกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาอย่างเร่งรีบนั้นได้เกิด สถานการณ์ที่ไม่เคยคาดฝันมาหลายเหตุการณ์ ได้แก่

    1. การให้สินเชื่อฉุกเฉินกับเอไอจีและการเร่งรีบอนุมัติให้มอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมนแซคส์ แปลงสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ ทำให้วาณิชธนกิจสหรัฐซึ่งเคยมีอยู่ 5 บริษัทและเป็นผู้นำด้านวาณิชธนกิจทั่วโลกต้องสูญพันธุ์ลงไปในทันที

    2. การเร่งถอนเงินออกจากธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐทำให้สถาบันประกันเงินฝากของรัฐ (เอฟดีไอซี) ต้องเข้ายึดกิจการของธนาคารวอชิงตัน มิวชัว และนำธุรกิจไปขายต่อให้กับธนาคารเจ.พี.มอร์แกน และต่อมาต้องเข้าไปยึดธนาคารวาโชเวียและขายธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้กับซิตี้ แบงก์ โดยวอชิงตัน มิวชัว และวาโชเวียมีสินทรัพย์มูลค่ารวมกันเกือบ 7 แสนล้านดอลลาร์ แต่ถูกขายออกไปคิดเป็นมูลค่าเพียงแห่งละ 2 พันล้านดอลลาร์เท่านั้น

    3. ที่ยุโรปเกิดการลามของปัญหาสภาพคล่องและการขาดความมั่นใจ ทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องเข้าไปยึดกิจการของบริษัทปล่อยสินเชื่ออสังหาริม ทรัพย์ที่ใหญ่เป็นที่ 3 ของอังกฤษคือ แบรดฟอร์ด แอนด์ บิงค์ลีย์ และต่อมารัฐบาลประเทศเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์กก็ได้ร่วมกันเพิ่มทุนฉุกเฉินให้กับธนาคารฟอร์ติส เป็นมูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยการเข้าไปเพิ่มทุนให้กับธนาคารเด็คเซียโดยรัฐบาลเบลเยียมอีก 9,200 ล้านดอลลาร์

    4. ธนาคารกลางสหรัฐขยายวงเงินให้กู้ซื้อคืนดอลลาร์กับธนาคารกลางของประเทศหลักๆ ทั่วโลกเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดเงินโลกมากถึง 620,000 ล้านดอลลาร์ แต่ดอกเบี้ยระยะสั้นก็ยังอยู่ที่ระดับสูง สะท้อนว่าระบบการเงินก็ยังอยู่ในสภาวะขาดแคลนสภาพคล่อง ในขณะที่ประเทศไอร์แลนด์เป็นประเทศแรกในวิกฤติการเงินครั้งนี้ที่ประกาศค้ำ ประกันเงินฝากและพันธบัตรทั้งระบบเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นในระบบการเงินของ ประเทศ

    กล่าวได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กันภายในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์นั้น เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครนึกฝันมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นได้แม้แต่เหตุการณ์เดียว แต่ทุกๆ เหตุการณ์กลับมาเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ที่สำคัญคือปัญหายังไม่ได้ลดความรุนแรงลงเลยและการขาดแคลนสภาพคล่องพื้นฐาน ในตลาดเงินกำลังทำให้ธุรกรรมต่างๆ ที่เป็นหัวใจของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น สินเชื่อ บัตรเครดิต สินเชื่อรถยนต์และสภาพคล่องของธุรกิจทั่วไปได้เข้าสู่สภาวะชะงักงัน ทำให้นายวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชั้นนำของสหรัฐเปรียบเทียบว่าขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐนั้นเสมือนกับเข้า สู่สภาวะหัวใจล้มเหลวและร่างกายได้ล้มลงไปนอนที่พื้นแล้ว

    หลายคนพูดกันจนติดปากว่าปัญหาที่เกิด ขึ้นเป็นปัญหาซับไพร์ม แต่หากพิจารณาด้วยเหตุผลแล้วก็จะเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะรุนแรงถึงขนาดที่ ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจยุโรปต้องชะงักงัน ซับไพร์มคือสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่ ประวัติการคืนหนี้ไม่ดีและไม่มีรายได้เป็นหลักแหล่ง ซึ่งมูลค่าการปล่อยกู้ซับไพร์มนั้นมีเพียง 850,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วน 7% ของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด หากสินเชื่อดังกล่าวเสียหาย 70% ก็ยังไม่ถึง 5% ของสินเชื่อทั้งหมด

    ปัญหาหลักของสถาบันการเงินสหรัฐคือ การปล่อยกู้มากเพราะมั่นใจว่าราคาสินทรัพย์ไม่ลดลงและเพราะมั่นใจว่าสามารถ ประเมินและควบคุมความเสี่ยงได้อย่างรัดกุม ดังเห็นได้จากตาราง

    จะเห็นได้ว่าสถาบันการเงินที่มีปัญหา จนต้องล้มละลายลง (เลแมน) หรือต้องไปควบรวมกับสถาบันการเงินที่มั่นคงทางการเงิน (เมอร์ริล ลินช์ควบรวมกับแบงก์ ออฟ อเมริกา) หรือต้องขอแปลงตัวเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกิจที่มั่นคง (มอร์แกน สแตนเลย์และโกลด์แมน แซคส์) นั้นล้วนแต่ทำธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเพราะทำธุรกิจขนาดใหญ่มีสินทรัพย์ หลายแสนล้านถึงกว่าหนึ่งล้านล้าน ซึ่งวาณิชธนกิจทั้ง 4 แห่งข้างต้นมีสินทรัพย์ (Assets) รวมกันมากกว่าสินทรัพย์ของธนาคารกลางสหรัฐถึง 3 เท่าตัว การที่ต้องมีสินทรัพย์เป็นจำนวนมากก็เพราะการแข่งขันสูง ทำให้ได้ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ไม่ถึง 1% (ยกเว้นโกลด์แมน แซคส์) และเมื่อได้ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ต่ำแต่ต้องการอัตรากำไรสูง (ROE เกิน 20%) ก็ต้องใช้ทุนน้อยๆ คือการกว้านซื้อสินทรัพย์ 100 ดอลลาร์นั้นใช้เงินทุนของตัวเองเพียง 3-4 ดอลลาร์ ดังนั้นเมื่อราคาสินทรัพย์ปรับลดลงไป 10-15% ก็ทำความเสียหายเกินกว่าทุนที่มีอยู่

    ในกรณีของธนาคารพาณิชย์นั้นมีความ เสี่ยงน้อยกว่าเพราะมีทุนต่อหนี้สินสูงกว่าประมาณ 1 เท่าตัวของวาณิชธนกิจ (คือซื้อทรัพย์สิน 10 ดอลลาร์โดยใช้เงินตัวเอง 1 ดอลลาร์) ยกเว้นกรณีของซิตี้กรุ๊ปที่มีทุนน้อยกว่าธนาคารอื่น บางคนอาจสังเกตเห็นว่าผมรวมข้อมูลของเอไอจีเอาไว้ด้วยและดูเสมือนว่าเอไอจี มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ทำไมจึงได้มีปัญหาต้องขอกู้เงินจากธนาคารกลางของสหรัฐถึง 85,000 ล้านดอลลาร์ คำตอบคือเอไอจีได้เข้าไปค้ำประกันพันธบัตรประเภทต่างๆ เป็นมูลค่ากว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ โดยการขายอนุพันธ์ที่เรียกว่า Credit default swap หรือซีดีเอส ซึ่งเอไอจีจะรับรู้ความเสียหายก็ต่อเมื่อผู้ออกพันธบัตรมีปัญหา ทำให้ผู้ซื้อพันธบัตรมีสิทธิที่จะเรียกร้องความเสียหายจากเอไอจีได้ การซื้อ-ขายซีดีเอสนั้นทำกันอย่างแพร่หลายและประเมินว่ามีมูลค่าตามหน้าตั๋ว สูงถึง 60 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนชี้ว่าการที่สถาบันการเงินไม่สามารถรักษาสัญญาค้ำ ประกันพันธบัตรกำลังจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้

    ในสัปดาห์หน้าคงจะต้องประเมินกันว่า กฎหมายพยุงสินทรัพย์ของรัฐบาลสหรัฐจะแก้ปัญหาวิกฤติทางการเงินของสหรัฐได้ มากน้อยเพียงใด ผมไม่ค่อยจะเชื่อว่าความพยายามเข้าไปซื้อสินทรัพย์จะช่วยแก้ปัญหาได้มากนัก เพราะปัญหาลามไปถึงผู้ซื้อพันธบัตร (เจ้าหนี้)และความกลัวว่าสถาบันการเงินมีทุนไม่เพียงพอ สำหรับนักบัญชี ก็สามารถนึกภาพได้ว่ารัฐบาลสหรัฐพยายามแก้ปัญหาด้านซ้ายของงบดุล (สินทรัพย์) แต่ปัญหาหลักในขณะนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านขวาของงบดุล (เจ้าหนี้และส่วนของทุน) ครับ


[/size][/size][/size]
บันทึกการเข้า
Max
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,435

« ตอบ #104 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2551, 09:58:31 »

อยากให้ PTT มันต่ำกว่า 150 บาทอ่ะ

ช่วงนี้ดูตัวนี้อยู่ตัวเดียว
บันทึกการเข้า
Mr.EggMan
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,826

« ตอบ #105 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2551, 14:02:57 »

เอางั้นเลยเหรอ

 Kiss

ไม่สน THAI เหรอ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสายการบินแห่งชาติในราคารถเมล์ปรับอากาศ
บันทึกการเข้า

jakkreepan@hotmail.com
Love is in the A...I...R......H
Max
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,435

« ตอบ #106 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2551, 17:30:42 »

ขาดทุนไม่เอาอ่ะ

ปตท. หุ้นในดวงใจ

เพื่อนไข่ ถ้ามีเงินเย็นๆ แบบไม่เดือดเนื้อร้อนตัว

อันไหนน่าสนก็ทยอยๆ เก็บก็ได้  ไม่เสียหลาย มีขึ้นก็ต้องมีลง อ่ะ

บันทึกการเข้า
Max
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,435

« ตอบ #107 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2551, 13:00:28 »

เห็นตลาดล่วงอย่างนี้

ตั้งเป้าใหม่ PTT ต่ำกว่า 90 บาท แล้วจะสอย
บันทึกการเข้า
Max
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,435

« ตอบ #108 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2551, 18:13:40 »

ช่วงนี้มี ข่าว ให้ออกจากงานกันเยอะ  smoke

แค่ในเมืองไทย เพื่อนผมคนนึง ให้ออกจากงานสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้แล้ว

ทำงานในแวดวงมือถือ ซึ่งค่ายนี้กะไม่ทำตลาดในเมืองไทยเลยครับ

เลยลอยแพ พนักงานเลย



เพื่อนอีกคนทำงานบริษัทฝรั่ง ด้านการลงทุน มี อีเมลล์กำหนด วันพ้นจากงานบริษัทให้เรียบร้อย



เมื่อวานซื้อหนังสือมาอ่าน มีเมืองนึงใน เมกา  ปิด ร้านที่มีสาขา 150 สาขาทั่วรัฐ

ลอยแพพนักงาน

อันนี้แค่สินเชื่อเรื่องบ้านที่อยู่อาศัย นะครับ

ถ้าคนตกงานกันเยอะ มันจะลามไปที่สินเชื่อรถยนต์  และบัตรเครดิต ครับ


บันทึกการเข้า
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #109 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2551, 20:25:05 »

เรื่องจริงจากคนที่กลับจากเมกา..wall mart เงียบ ร้านค้าเงียบ..โรงพยาบาลเงียบ..คนไม่มีเงินรักษา..คนตกงานเลยมีปัญหา เลื่อนผ่าตัดไปก่อน..

เรื่องจริงนะเนี่ยะ..มันแย่ขนาดคนเลื่อนการรักษาตัวเองไปน่ะ..สุดๆล่ะครับ
บันทึกการเข้า
หลิม 81
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,840

« ตอบ #110 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2551, 17:32:06 »

เมืองไทยก็โดนไม่ใช่น้อยคับ

Nikon ลอยแพ DHL เก็บบัตรพนักงาน โรงงานทยอยปิด GM สมัครใจให้ลาออก ISZUZU ลดการผลิต Mitshubishi ก็ด้วย...

เอากันเข้าไป...ซวยกันหมด แต่อย่าลึมขับรถมีน้ำใจต่อกันน๊ะครับ บ้านเมืองจะได้ไม่เครียด
บันทึกการเข้า

@ ปีนี้ปีของผม @
Max
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,435

« ตอบ #111 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2551, 19:05:37 »

ในวิกฤต มันต้องมีโอกาส

ต้องหากันต่อไป

บันทึกการเข้า
Apirat T.
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,357

« ตอบ #112 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2551, 07:39:44 »

ขนาด Citi Group ก็ยังเอนเลยครับ
แต่รัฐบาลมะกันก็โดดเข้าไปอุ้ม

ใจจริงๆ แล้ว ลองคิดดูแบบ เห็นแก่ตัวนิดนึง
ไม่อยากให้อุ้มเลยอ่ะครับ
ก็พี่แกเล่นลงทุนไปในที่ที่มันเสี่ยงๆ เพื่อหาผลประโยชน์เข้าบริษัท กันเยอะๆ หวังฟันกำไรกันเต็มที่
ไอ้พวกนักลงทุนก็คิดว่าตัวเองเจ๋งกันเสียเต็มประดา
พอจะล่ม ก็มีคนมาอุ้ม อีกหน่อยมันจะเข็ดกันไหม๊
พอฟื้น เดี๋ยวจะกลับไปทำซ้ำรอยเดิมอีก
อยากถามนิดนึง ถ้ามันเกิดได้กำไรขึ้นมา มันจะเอามาแบ่งพวกเราไหม๊เนี่ย

ตาแคม
บันทึกการเข้า
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #113 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2551, 18:13:49 »

จริงๆก็อยากให้ล้างหน้าไพ่เหมือนกันนะ..มนุษย์เราจะได้สำนึกหนักๆ..ดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วยล่ะ..โลกจะยั่งยืน

ดูปู่เย็นซิ..แค่นี้ไม่ตายหรอก..คนเราอดตายมีน้อย..
บันทึกการเข้า
Mr.EggMan
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,826

« ตอบ #114 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2551, 20:49:32 »

การโลภและการเก็งกำไรแบบสุดโต่ง ครับ พากันเจ๊งไปหมด

แต่เท่าที่ดูผลประกอบการ ไตรมาสสาม
พวกกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะ อาหารกระป่องเนี่ย
กำไรดี สวนทางเศรษฐกิจเลยนะครับ

หนักสุดก็ กลุ่มปิโตรครับ เห็นราคาแล้วสยองครับ
แถมกำไรรูดสุดๆ จะหวังปันผลก็อดแดก

RMF, LTF ใครแอบมาดูคงจะตกใจเล็กน้อย
ว่าเงินช้านไปไหน เงินไปเที่ยว เดี๋ยวเดียวก็กลับ




เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง
 


บันทึกการเข้า

jakkreepan@hotmail.com
Love is in the A...I...R......H
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #115 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2551, 20:55:28 »

ที่รู้ๆ...รมต.เศรษฐกิจใหม่ในคณะของ Obama..
ไปจิ๊ก(ซิวตัว)มาจากผู้อำนวยการ Wallstreetนั่นแหละ
Director of Dow Jones??

p.nn
บันทึกการเข้า


Khun28
Full Member
**


ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2528
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 784

« ตอบ #116 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2551, 16:23:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2551, 20:55:28
ที่รู้ๆ...รมต.เศรษฐกิจใหม่ในคณะของ Obama..
ไปจิ๊ก(ซิวตัว)มาจากผู้อำนวยการ Wallstreetนั่นแหละ
Director of Dow Jones??

p.nn

ส่วนคนที่คาดว่าจะเป็นรัฐมนตรีคลังคน ใหม่ คือ Timothy Geithner ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานธนาคารกลางแห่งนิวยอร์ก (คนที่เก้า) และน่าจะยังฟังหรือพูดภาษาไทย ได้บางคำด้วยซ้ำ

เพราะเขาเรียนหนังสือระดับมัธยม ที่โรงเรียนนานาชาติกรุงเทพฯ หรือ International School of Bangkok

เหตุเพราะคุณพ่อของทิม นั้น ชื่อ Peter Geithner เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนของมูลนิธิฟอร์ด ประจำประเทศไทย และภูมิภาคนี้อยู่หลายปี จึงพาลูกชายคนนี้มาอยู่เมืองไทย และให้เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ จนเข้ามหาวิทยาลัยจึงไปเรียนต่อที่สหรัฐ

คุณปีเตอร์ เป็นคนทำงานด้านการส่งเสริมการศึกษาและสังคมสำหรับประเทศไทยอย่างมุ่งมั่น และมีเพื่อนฝูงกว้างขวางในวงการต่างๆ และทุกวันนี้ ก็ยังเดินทางไปมาหาสู่ผู้คนในแวดวงการศึกษา และกิจกรรมช่วยเหลือสังคมในประเทศไทยเป็นระยะๆ

ส่วนลูกชายทิมนั้น เมื่อจบมัธยมจากกรุงเทพฯ ก็ไปเข้า Dartmouth College จบปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ และเชี่ยวชาญด้านเอเชียศึกษา จากนั้นก็ไปทำปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins อันโด่งดังโดยก็ยังสนใจเอเชียตะวันออกศึกษาเป็นพิเศษอย่างต่อเนื่อง

คนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีคลังใน รัฐบาลโอบามา คนนี้เรียนทั้งภาษาจีน และญี่ปุ่น และได้ใช้ชีวิตการเรียนหนังสือ และทำงานอยู่หลายประเทศ อาทิเช่น แอฟริกาตะวันออก อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และประเทศไทย

ช่วงที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งของประเทศไทยนั้น ทิมเป็นผู้ช่วยของรัฐมนตรีคลัง ที่ชื่อ Larry Summers ภายใต้ประธานาธิบดีบิล คลินตัน

บันทึกความทรงจำของคลินตัน ยังกล่าวถึง วิกฤติเศรษฐกิจของไทยขณะนั้นโดยเขายอมรับว่ารัฐบาลมะกัน ตอบสนองคำเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยขณะนั้นช้าไป จนทำให้เกิดความรู้สึกทางลบจากคนไทยไม่น้อย

ข่าวล่าสุดบอกว่า Larry Summers จะเป็นหัวหน้าสภาเศรษฐกิจในทำเนียบขาว ทำงานใกล้ชิดกับประธานาธิบดีโอบามา เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ เพื่อประสานกับรัฐมนตรีคลังอีกด้านหนึ่ง

วันนี้ โอบามา กับทิม ไกน์เนอร์ คงต้องแสดงความเข้าใจเอเชียมากกว่ารัฐบาลก่อนๆ ของอเมริกา โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องเกี่ยวกับการทำความเข้าใจกับปัญหาของเอเชียที่เกี่ยว ข้องกับสหรัฐ ในแง่ของความร่วมมือและการทำมาค้าขายกันและกัน

พอข่าวรั่วออกมาว่าโอบามา จะตั้งไกน์เนอร์ เป็นรัฐมนตรีคลัง เพื่อตั้งรับวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์อย่างจริงจัง ตลาดหุ้นสหรัฐก็ขานรับทางบวกทันที เพราะเขาได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐมนตรีคลังเฮนรี พอลสัน คนปัจจุบันในการแก้ปัญหาวิกฤติสถาบันการเงิน และฟื้นฟูเศรษฐกิจพอสมควร

ว่ากันว่า ไกน์เนอร์ (ปีนี้อายุ 47) มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเจรจากับ Lehman Brothers ก่อนที่ธนาคารนวธนกิจแห่งนี้ เข้าสู่ภาวะล้มละลาย

 อีกทั้งยังเป็นคนหาทางเข้าไปอุ้มบริษัทประกันยักษ์อย่าง AIG และธนาคารนวธนกิจ JP Morgan ให้รอดจากการที่ต้องเจ๊งไปอีกด้วย

ดูเหมือนว่าฝีไม้ลายมือของทิม ไกน์เนอร์ ในด้านการบริหารวิกฤติทางด้านการเงินจะเป็นที่ยอมรับของวงการนี้ในระดับหนึ่ง

และหวังว่าประสบการณ์ของการเคย เติบโตที่อินโดฯ ของโอบามา และที่เมืองไทยของทิม ไกน์เนอร์ จะทำให้รัฐบาลใหม่ที่วอชิงตัน มีความเห็นอกเห็นใจเอเชียมากกว่าที่ผ่านมา

(เกาะติดความเห็นต่อสถานการณ์ร้อนๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้ที่ www.suthichaiyoon.com  ตลอด 24 ชั่วโมง)
บันทึกการเข้า
ชาร์ป
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,119

« ตอบ #117 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2551, 02:53:49 »

 ปิ๊งๆ

ดูเหมือนส่า Obama จะเป็น new hope ของทั้งโลกแล้วล่ะครับเนี่ย ...

อเมริกา ก็ยัง เป็นอเมริำกา ... เหมือนเป็นจุดศูนย์กลางของระบบการเงินโลก ...

...

ไม่แน่ ว่า อเมริกา จะเริ่มนำแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ ... เพราะ รมต. เศรษฐกิจ ก็เรียนมัธยมที่เมืองไทย

ทุนนิยมเสรี ไปไม่รอด เพราะ เจอปัญหาความโลภ  เอะอะ ก็กำไร มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ...

ต้องเบรคด้วย ความพอเพียงแล้ว ....
บันทึกการเข้า
Mr.EggMan
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,826

« ตอบ #118 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2551, 18:01:12 »

 smoke

จิงๆ ที่ตัวระบบเอง ไม่ได้ผิดอะไรมากมาย แต่ว่ากฎกติกามันหย่อนยาน สบช่องให้เกิดการเก็งกำไร มากจนไร้สติ
ความโลภของมนุษย์เนี่ย น่ากลังจิงๆ ทำลายได้ทุกอย่าง ไม่เว้นกระทั่งตัวเอง

ป.ล. ปีหน้ามี Gold future ให้เล่นแล้ว ไม่ต้องไม่ง้อร้านทองก็ได้

บันทึกการเข้า

jakkreepan@hotmail.com
Love is in the A...I...R......H
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #119 เมื่อ: 28 พฤศจิกายน 2551, 18:18:25 »

ระวังน้า...ซื้อทองไม่ได้ทอง..ได้กระดาษแทน
บันทึกการเข้า
Mr.EggMan
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,826

« ตอบ #120 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2551, 03:42:51 »

 บรึ๋ยยย

เค้าว่า ช่วงนี้แบงค์พันปลอมระบาด
ระวังกันหน่อยเน้อ พี่น้อง
บันทึกการเข้า

jakkreepan@hotmail.com
Love is in the A...I...R......H
Apirat T.
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,357

« ตอบ #121 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2551, 12:54:04 »

อ้างถึง
ข้อความของ ppornson เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2551, 18:18:25
ระวังน้า...ซื้อทองไม่ได้ทอง..ได้กระดาษแทน

มันก็เหมือนกับช่วงจตุคามบูมแหละ อิอิ
บันทึกการเข้า
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #122 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2551, 17:25:57 »

อ๊ะ..ไอ้นี่..กวนตรีนนน
บันทึกการเข้า
Mr.EggMan
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,826

« ตอบ #123 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2551, 18:18:49 »

 sorry

บริษัทในตลาดหุ้นเจอเศรษฐกิจโลกวูบ ไตรมาส 3 กำไรหดไม่ถึงแสนล้าน
บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ รายงานว่า 463 บริษัทในตลาดหุ้น ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญตัวหนึ่งของเศรษฐกิจและเสียภาษีนิติบุคคลสูงสุดเริ่มอ่อนแรงลง โดยมีกำไรสุทธิเพียง 97,053 ล้านบาท หรือเฉลี่ยลดลง 1.6% แต่หากไม่รวมธุรกิจการเงินจะมีกำไรสุทธิเพียง 67,377 ล้านบาท หรือลดลงถึง 38.2% จากไตรมาส 2
บล.ทิสโก้ ระบุว่า กำไรที่ลดลงส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มพลังงานปิโตรเคมี ขณะที่ภาพรวมอัตรากำไรขั้นต้นแย่ลง อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และความสามารถในการชำระดอกเบี้ยก็ลดลงเพราะหนี้สินเพิ่มขึ้น โดยคาดว่ากำไรปีหน้าจะโตติดลบ
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า 9 เดือนปีนี้ บริษัทในตลาดหุ้นมีกำไรสุทธิรวม 394,172 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% จากงวดเดียว กันของปีก่อน และมียอดขาย5,753,163 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% ไตรมาส 3 ยอดขายเพิ่มขึ้น 34% เป็น 2,006,448 ล้านบาท
บันทึกการเข้า

jakkreepan@hotmail.com
Love is in the A...I...R......H
ชาร์ป
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,119

« ตอบ #124 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2551, 19:28:28 »

เอ้าสำหรับสาวโสด ...

 
อ้างถึง   

http://www.bangkokbiznews.com/2008/12/14/news_318866.php

จัดพอร์ตให้สาวโสดปลอดหนี้

มีเงินฝากออมทรัพย์อยู่ 5 แสนบาท ฝากประจำอยู่ 1.5 ล้านบาท อยู่ในสหกรณ์ที่บริษัทประมาณ 1.4 แสนบาท อยู่ในกองทุนตราสารหนี้ประมาณ 3 แสนบาท อยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประมาณ 4 แสนกว่าบาท ซื้อทองคำเก็บไว้ประมาณ 5 บาท

กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : และซื้อสลากออมสินไว้ประมาณ 2 แสนบาท ส่งประกันปีละเกือบ 1 แสนบาท  คุณพีระพรอายุ 43 ปี  ไม่มีภาระใดๆ เพราะเป็นสาวโสดอยู่กับพ่อแม่  มีภาระเพียงอย่างเดียวคือดูแลพ่อแม่ ถือว่าเงินที่กระจายออมอยู่ทุกวันนี้ เหมาะสมมั้ยคะ ช่วยวิจารณ์และแนะนำหน่อย ถ้าไม่ดีควรปรับอย่างไร

ความเห็น บลจ.บัวหลวง

ก่อน อื่นต้องขอชมคุณพีระพรนะครับว่าเป็นคนหนึ่งที่ออมเงินได้ดีทีเดียว   และจากคำถามที่ว่าเงินที่กระจายออมทุกวันนี้ เหมาะสมหรือไม่  คำถามนี้เหมือนเป็นคำถามง่ายๆ  แต่คำตอบนั้นไม่ง่ายครับ   

เพราะว่าการจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะ สมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  แต่ละคนมีการกำหนดเป้าหมายทางการเงินไว้แตกต่างกัน   มีความต้องการผลตอบแทนเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินต่างกัน  มีกระแสเงินสดรับ - จ่าย ตลอดจนระยะเวลาในการลงทุนไม่เท่ากัน และสิ่งสำคัญคือความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน 

จากข้อมูลของคุณพีระพรที่ให้มา ทราบเพียง อายุ 43 ปี โสด ไม่มีภาระหนี้สิน  และมีภาระต้องดูแลคุณพ่อแม่  เพื่อให้การจัดสรรเงินออมสามารถดูแลตัวเอง และคุณพ่อแม่ภายหลังเกษียณได้  ผมขอแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนโดยยึดอายุเป็นเกณฑ์ อย่างคร่าวๆ  ตามนี้ครับ

สำหรับคนที่มีอายุอยู่ระหว่าง 40-50 ปี  รวมถึงคุณพีระพรนั้นสัดส่วนการจัดสรรเงินลงทุนสำหรับคนที่มีอายุช่วงนี้คือ การลงทุนในตราสารหนี้ประมาณ 50%-60 % และตราสารทุนประมาณ 40%- 50%  ซึ่งผมขออธิบาย  เพิ่มเติม ดังนี้

1. การลงทุนในตราสารหนี้ ต่างๆ   ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น  ตราสารหนี้ระยะกลาง ตราสารหนี้ระยะยาว หรือเงินฝาก ถือว่าเป็นตราสารที่มีระดับความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น มีความมั่นคงสูง มีการจ่าย ดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ  ผู้ลงทุนมีโอกาสสูญเสียเงินต้นน้อย  แต่ขณะเดียวกันผลตอบแทนที่ได้รับก็จะอยู่ ระดับต่ำด้วยเช่นกัน  เช่น พันธบัตรรัฐบาล  หุ้นกู้ภาคเอกชน 

ทั้งนี้เงินของคุณพีระพรเกือบ 90 % มีการกระจุกตัวอยู่ที่ตราสารหนี้  จึงกล่าวได้ว่าเป็นการจัดพอร์ตแบบคุ้มครองเงินต้นไม่ให้สูญหาย แต่อาจต้องพิจารณาว่าสัดส่วนในตราสารหนี้สูงเกินไปหรือไม่ เพราะสัดส่วนของตราสารหนี้ที่มากเช่นนี้ย่อมทำให้พอร์ตการลงทุนโดยรวมให้ผล ตอบแทนที่ต่ำและอาจไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงทุน

2. การลงทุนในตราสารทุน หรือหุ้นให้ผลตอบแทนสูงแต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน โดยทั่วไปสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจะแปรผันตรงข้ามกับอายุของผู้ลงทุน หมายความว่ายิ่งอายุมากขึ้นสัดส่วนการลงทุนในหุ้นควรที่จะ    ลดน้อยลง  อย่างไรก็ตามการลงทุนในหุ้นเป็นการเพิ่มโอกาสให้ได้รับอัตราผลตอบแทนที่สูง ขึ้น 

จากการจัดพอร์ตการลงทุนที่ใช้อายุเป็น หลักดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น   ผมขอแนะนำเพิ่มเติมให้ศึกษาถึงการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อ ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนที่กำหนดไว้   ทำให้เสียภาษีน้อยลง  คือ

Oการทำประกันชีวิต  ซึ่งคุณพีระพรได้มีการลงทุนอยู่แล้ว 

Oกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF)

Oกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF) 

สุดท้ายการลงทุนที่ดีไม่ควรทุ่มลงทุน ตราสารหนี้ หรือตราสารทุนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรที่จะกระจายสัดส่วนการลงทุนทั้ง 2 แบบให้สอดคล้องกับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตัวเราได้เพื่อเป็นการ เพิ่มอัตราผลตอบแทนการลงทุนให้สูงขึ้น และสามารถเอาชนะอัตราเงินเฟ้อได้  ซึ่งคุณพีระพรมีระยะเวลาในการลงทุนจนถึงเกษียณอีกเป็นสิบปี  ควรที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นได้อีกครับ 

ทั้งหมดนี้เป็นการให้คำแนะนำแบบ คร่าวๆ ซึ่งสิ่งสำคัญที่คุณพีระพรจะต้องมีและขาดไม่ได้คือการมี  คุณ “วินัย” ทางการเงินอย่างเคร่งครัด  มีการกำหนดแผนการเงิน  และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ตลอดจนมีการทบทวนแผนการเงินอย่างน้อยปีละครั้งให้สอดคล้องกับความผันผวนทาง เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วครับ

 "บทความนี้เป็นคำแนะนำตามหลักการลง ทุนทั่วไปและอ้างอิงตามข้อมูลเท่าที่ได้รับเท่านั้น ผลตอบแทนจากการลงทุนในสัดส่วนดังกล่าวอาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง และผู้ลงทุนควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินโดยละเอียดอีกครั้ง ก่อนการลงทุนจริง"

นรวีร์ วงศ์สมมาตร : บลจ.บัวหลวง

บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><